การบริหารงานการผลิตช่างฝีมือพลเรือนในความช่วยเหลือขององค์การ สปอ.
Publisher
Issued Date
1966
Issued Date (B.E.)
2509
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
112 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
บัวพรม ธีรกัลยาณพันธุ์ (1966). การบริหารงานการผลิตช่างฝีมือพลเรือนในความช่วยเหลือขององค์การ สปอ.. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1016.
Title
การบริหารงานการผลิตช่างฝีมือพลเรือนในความช่วยเหลือขององค์การ สปอ.
Alternative Title(s)
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ความมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์เพื่อศึกษาให้ทราบถึงลักษณะและข้อเท็จจริงของการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจขององค์การ ส.ป.อ. ในการผลิตช่างฝีมือพลเรือนในประเทศไทยว่ามีอยู่อย่างไร มีหน่วยงานใดบ้างที่ทำหน้าที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องในโครงการ ตลอดจนดำเนินงานฝึกสอนช่างฝีมือว่าเป็นไปในลักษณะใดเหมาะสมหรือไม่เพียงใด และพยายามศึกษาให้ทราบที่มาของปัญหาในการบริหารของโครงการหรือหาทางแก้ไข ตลอดจนประเมินผลงานของโครงการช่างฝีมือที่ดำเนินมาว่าสำเร็จตามวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด
จากผลการศึกษาปรากฏว่าการบริหารงานการผลิตช่างฝีมือพลเรือนยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร มีข้อบกพร่องและประสบอุปสรรคหลายประการ ซึ่งอุปสรรคต่าง ๆ ได้แก่.-
1. ปัญหาการจัดหน่วยงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานนี้มีหลายหน่วย ทั้งที่เป็นหน่วยงานของกรมอาชีวศึกษา และหน่วยงานภายนอก หน่วยงานที่ควรปรับปรุงได้แก่หน่วยงานภายในกรมอาชีวศึกษาซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับเงินทุนสมทบ คือ กองวิทยาลัยเทคนิค ผู้เขียนเห็นว่าควรให้กองโรงเรียนช่างมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจะทำให้งานรวดเร็วขึ้น และควรจะทำแผนผังของหน่วยงานทั้งหมด
2. ปัญหาเกี่ยวกับตัวบุคคล เช่น ผู้บริหารโรงเรียนมีความรอบรู้และความสามารถในเรื่องการบริหารไม่พอ ควรจัดให้มีการฝึกอบรม นอกจากนี้ยังขาดครูผู้มีความสามารถในการสอน ครูขาดทัศนคติที่ดีในการทำงานไม่รู้จักปรับปรุงตนเอง หรือบรรจุครูไม่ตรงกับความต้องการของโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ที่กรมอาชีวศึกษาแต่งตั้งมักจะเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อายุมากไม่ค่อยมีความรู้ทางช่างอย่างแท้จริง.
3. ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องจักรในการฝึกงานขาดแคลน และเมื่อชำรุดก็หาที่ซ่อมยาก ค่าไฟฟ้าแพงและในการฝึกอบรมนอกสถานที่นั้นไม่ได้รับความร่วมมือจากวงการอุตสาหกรรมและธุรกิจ ควรจะได้หาทางติดต่ออย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การควบคุมทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องอุปกรณ์ควรให้รัดกุม
4. ปัญหาเรื่องการเงินต่ำกว่างบประมาณมาก เพราะขาดการควบคุมการใช้จ่ายเงินอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ก็มีปัญหาอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ปัญหาหลักสูตร การคัดเลือกนักเรียน การแนะแนว วิธีการสอน การวัดผลการศึกษา และปัญหาการประสานงาน ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ผู้เขียนได้แนะวิธีการแก้ไขไว้ในบทสุดท้าย.
จากผลการศึกษาปรากฏว่าการบริหารงานการผลิตช่างฝีมือพลเรือนยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร มีข้อบกพร่องและประสบอุปสรรคหลายประการ ซึ่งอุปสรรคต่าง ๆ ได้แก่.-
1. ปัญหาการจัดหน่วยงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานนี้มีหลายหน่วย ทั้งที่เป็นหน่วยงานของกรมอาชีวศึกษา และหน่วยงานภายนอก หน่วยงานที่ควรปรับปรุงได้แก่หน่วยงานภายในกรมอาชีวศึกษาซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับเงินทุนสมทบ คือ กองวิทยาลัยเทคนิค ผู้เขียนเห็นว่าควรให้กองโรงเรียนช่างมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจะทำให้งานรวดเร็วขึ้น และควรจะทำแผนผังของหน่วยงานทั้งหมด
2. ปัญหาเกี่ยวกับตัวบุคคล เช่น ผู้บริหารโรงเรียนมีความรอบรู้และความสามารถในเรื่องการบริหารไม่พอ ควรจัดให้มีการฝึกอบรม นอกจากนี้ยังขาดครูผู้มีความสามารถในการสอน ครูขาดทัศนคติที่ดีในการทำงานไม่รู้จักปรับปรุงตนเอง หรือบรรจุครูไม่ตรงกับความต้องการของโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ที่กรมอาชีวศึกษาแต่งตั้งมักจะเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อายุมากไม่ค่อยมีความรู้ทางช่างอย่างแท้จริง.
3. ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องจักรในการฝึกงานขาดแคลน และเมื่อชำรุดก็หาที่ซ่อมยาก ค่าไฟฟ้าแพงและในการฝึกอบรมนอกสถานที่นั้นไม่ได้รับความร่วมมือจากวงการอุตสาหกรรมและธุรกิจ ควรจะได้หาทางติดต่ออย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การควบคุมทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องอุปกรณ์ควรให้รัดกุม
4. ปัญหาเรื่องการเงินต่ำกว่างบประมาณมาก เพราะขาดการควบคุมการใช้จ่ายเงินอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ก็มีปัญหาอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ปัญหาหลักสูตร การคัดเลือกนักเรียน การแนะแนว วิธีการสอน การวัดผลการศึกษา และปัญหาการประสานงาน ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ผู้เขียนได้แนะวิธีการแก้ไขไว้ในบทสุดท้าย.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.