• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การวางแผนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนระดับกลาง

by สนิท เวทะธรรม

Title:

การวางแผนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนระดับกลาง

Author(s):

สนิท เวทะธรรม

Advisor:

บุญเย็น วอทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1968

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.1968.1

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เพื่อ 1. ศึกษาถึงลักษณะและสภาพของความต้องการกำลังคนในประเทศไทย.
2. ศึกษาระบบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพเกี่ยวกับความสามารถสนองความต้องการกำลังคนระดับกลางเพื่อใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
3. เพื่อศึกษาว่าได้มีการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคนระดับกลางอย่างไร และแผนพัฒนาการศึกษาในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่สอง พ.ศ. 2510-2514 สามารถสนองความต้องการกำลังคนระดับนี้ได้หรือไม่
4. ศึกษาถึงกระบวนการวางแผนการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนระดับกลางตามโครงการพัฒนาการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่สอง ว่ามีความเป็นมาอย่างไร เป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่ ควรแก้ไขอย่างไร.
5. เพื่อศึกษาว่าการวางแผนการศึกษา และการปฏิบัติตามแผนให้บรรลุผลนั้นมีอุปสรรคและปัญหาอย่างไรบ้าง ควรหาทางแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร.
การศึกษาเรื่องนี้ผู้ศึกษามุ่งศึกษาเฉพาะแผนการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่สอง พ.ศ. 2510-2514 เท่านั้น ไม่กล่าวถึงความต้องการกำลังคนทางฝ่ายทหาร และมุ่งศึกษาเฉพาะการพัฒนากำลังคนโดยการให้การศึกษาในสถาบันการศึกษาเท่านั้น จากผลการศึกษายืนยันว่าการขาดแคลนกำลังคนระดับกลางในปัจจุบันเนื่องจากปริมาณการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยไม่ขยายตัวรวดเร็วเท่าที่ควร ทั้งจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับนี้โดยเฉพาะและการที่ปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตกำลังคนระดับนี้เพื่อสนองความต้องการได้เพราะปัญหาบางประการ ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา ปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการศึกษา และปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามแผน
1. สำหรับปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษานั้น ผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาความไม่สมดุลย์ของระดับการศึกษาในโรงเรียน ปัญหาเกี่ยวกับความต้องการด้านปริมาณการศึกษาที่เพิ่มขึ้น และปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนกำลังคนระดับกลาง.
2. การวางแผนการศึกษา ผู้เขียนเสนอให้หาทางเพิ่มงบประมาณให้ได้สัดส่วนกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และกับการปรับปรุงคุณภาพของการศึกษา ให้ส่งเสริมเอกชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับมัธยม และมีส่วนร่วมในการจัดตั้งองค์การการกุศลทางการศึกษา นอกจากนั้นในการจัดทำโครงการการศึกษาต้องให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอโดยเฉพาะในการประมาณค่าใช้จ่ายควรให้ใช้มาตรฐานตามที่ผู้เขียนได้เสนอไว้ในวิทยานิพนธ์ อนึ่งโครงการการศึกษาของกรมต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาฯ ควรให้สอดคล้องเข้ากับนโยบายการศึกษาโดยส่วนรวม และควรจะได้มีวิธีการวางแผนการศึกษาในอนาคตไว้
3. ในการปฏิบัติงานตามแผนนั้น ผู้เขียนเห็นว่ายังขาดแผนปฏิบัติการ ขาดกำลังเงินเพื่อใช้ปฏิบัติตามแผน ขาดครูอาจารย์ผู้มีวุฒิ ค่าก่อสร้าง ค่าครุภัณฑ์ และอุปกรณ์สูงกว่าเดิม ทำให้ขาดเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษา ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้เขียนได้เสนอแนะวิธีแก้ปัญหาไว้ในตอนท้ายของวิทยานิพนธ์แล้ว.

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.

Subject(s):

การวางแผนการศึกษา -- ไทย

Keyword(s):

นโยบายกำลังคน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

314 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1080
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b10041ab.pdf ( 129.98 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b10041.pdf ( 7,543.61 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×