การยอมรับวัสดุอุปกรณ์การเกษตรของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร\
Publisher
Issued Date
1991
Issued Date (B.E.)
2534
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xvi, 105 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วิทยา เจียรพันธุ์ (1991). การยอมรับวัสดุอุปกรณ์การเกษตรของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร\. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1732.
Title
การยอมรับวัสดุอุปกรณ์การเกษตรของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร\
Alternative Title(s)
The acceptance of credit in kind by client farmers of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภูมิหลังและลักษณะโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนของเกษตรกร (2) ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการยอมรับวัสดุอุปกรณ์การเกษตร (ว.ก.) ของเกษตรกร (3) ศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. และเกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก.
การวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวความคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีทางการเกษตร และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเกษตร รวมทั้งผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมากำหนดตัวแปรและกรอบความคิดที่ใช้ในการวิจัย.
หลังจากที่ได้พิจารณาตัวแปรอิสระต่าง ๆ (Independent variables) แล้วจำแนกออกเป็นชุดตัวแปรประกอบหรือชุดปัจจัย (factor) ได้หลายด้าน ดังนี้คือ (1) ปัจจัยภูมิหลัง (ได้แก่ อายุเฉลี่ยของสมาชิกและแรงงานพึ่งพิง) (2) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ (ได้แก่ ที่ดินการเกษตรที่ให้ผลผลิตรายได้สุทธิการเกษตร รายได้สุทธินอกการเกษตร ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และทรัพย์สินหลังหักหนี้สิน) (3) ปัจจัยด้านการอำนวยสินเชื่อของ ธ.ก.ส. (ได้แก่ การให้บริการด้าน ว.ก. และพฤติกรรมของพนักงาน) และ (4) ปัจจัยทางจิตลักษณะ (ได้แก่ การรับรู้คุณลักษณะของ ว.ก. ความทันสมัยและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์) โดยมีตัวแปร การยอมรับวัสดุอุปกรณ์การเกษตรของเกษตรกร เป็นตัวแปรตาม (dependent variable) ทั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามสัมภาษณ์ (schedule interview) ซึ่งนำไปใช้สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ใน 10 จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ ได้แก่ จังหวัดพิจิตร อุทัยธานี สุโขทัย นครราชสีมา ขอนแก่น นครพนม ระยอง สิงห์บุรี หาดใหญ่ (ตัวแทนของจังหวัดสงขลา) และตรัง จำนวนตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 969 ราย.
วิธีการประมวลผลข้อมูล ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC+ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใน 2 ระดับคือ ระดับแรกเป็นสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) เพื่อทราบลักษณะพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างรวมโดยอาศัยค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) อีกระดับหนึ่งเป็นสถิติเชิงอ้างอิง (inferential statistics) เพื่อวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบ และการค้นหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่ไม่ยอมรับ ว.ก. และกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่ยอมรับ ว.ก. โดยอาศัยค่า t (t-test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันโปรดักโมเมนต์ (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis)
ผลการวิเคราะห์ สรุปได้ดังนี้
1. ภูมิหลัง ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร พบว่า.
1) เกษตรกรตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 48.88 ปี ส่วนใหญ่ยังมีการศึกษาในระดับชั้นประถมปีที่ 4 จากจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-6 คน จะเป็นแรงงานเกษตรกร 2.05 คน และแรงงานพึ่งพิง 1.43 คน เกษตรกรมีที่ดินการเกษตรทั้งหมดโดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 34.92 ไร่ เป็นที่ดินการเกษตรซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้เพียง 30.86 ไร่เท่านั้น เกษตรกรมีรายได้สุทธิของครัวเรือนต่อปีโดยเฉลี่ยเท่ากับ 10,393.83 บาท และมีทรัพย์สินหลังจากหักหนี้สินของครัวเรือนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 462,711.58 บาท.
2) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีตัวแปรทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกับเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. กล่าวคือ
(1) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีที่ดินการเกษตรที่สามารถให้ผลผลิตได้ถึงครัวเรือนละ 37.33 ไร่ ในขณะที่เกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. มีเพียง 27.83 ไร่
(2) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีรายได้สุทธิของครัวเรือนถึง 34,144 บาท ในขณะที่เกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. มีอยู่เพียง 9,660 บาท.
(3) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีทรัพย์สินหลังหักหนี้สินถึง 606,690 บาท แต่เกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก.มีอยู่เพียง 357,113 บาท.
2. ปัจจัยการอำนวยสินเชื่อของ ธ.ก.ส. พบว่า.
1) ปัจจัยการอำนวยสินเชื่อของ ธ.ก.ส. เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยอมรับ ว.ก. มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ คือ สามารถอธิบายความผันแปรได้ถึงร้อยละ 33.2 (R2 = .332 ; F = 239.954 **)
2) เกษตรกรที่ยอมรบ ว.ก. มีทัศนะในทางปฏิฐานต่อปัจจัยการอำนวยสินเชื่อของ ธ.ก.ส. (การให้บริการของ ธ.ก.ส. และพฤติกรรมของพนักงานในการปฏิบัติงาน) มากกว่าเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก.
3. ปัจจัยทางจิตลักษณะ พบว่า.
ปัจจัยทางจิตลักษณะของเกษตรกรมีอิทธิพลต่อการยอมรับ ว.ก. ของเกษตรกรต่ำ โดยสามารถอธิบายความผันแปรได้เพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้น (R2 = .039; F = 12,162 **)
4. ปัจจัยที่กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. และเกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. พบว่า.
1) เกษตรกรกลุ่มรวมและเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. มีปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเป็นปัจจัยหลัก (main factor) ที่มีน้ำหนักปัจจัยเป็นอันดับแรก (eigenvalue = 2.36 และ 2.29 ตามลำดับ) โดยมีปัจจัยด้านกิจกรรมนอกการเกษตร มีน้ำหนักเป็นอันดับรอง (eigenvalue = 1.57 และ 1.59 ตามลำดับ)
2) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีปัจจัยหลักที่อธิบายลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ปัจจัยด้านกิจกรรมนอกการเกษตร (eigenvalue = 2.23) โดยมีปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเป็นเพียงปัจจัยรอง (eigenvalue = 1.51)
3) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีน้ำหนักปัจจัยด้านการให้บริการของ ธ.ก.ส. แก่เกษตรกรสูงกว่าเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. อันเป็นปัจจัยที่น่าจะส่งผลให้เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีประสิทธิภาพทางการผลิตมากกว่าเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก.
4) ปัจจัยทางจิตลักษณะซึ่งกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะ ที่เป็นผลมาจากการที่เกษตรกรไปมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก (exogenous) ได้แก่ พฤติกรรมของพนักงานและความทันสมัยมากกว่ากลุ่มลักษณะตัวแปรจิตลักษณะที่เกิดจากตัวของเกษตรกรเอง (endogenous)
5. ผลการทดสอบตัวแบบแนวคิดทฤษฎี ผลการวิเคราะห์สามารถพิสูจน์และสนับสนุน ปัจจัยที่อยู่ภายใต้ตัวแบบหรือกรอบความคิดที่ใช้ในการวิจัย (Confirmatory Factor Analysis Model) กล่าวคือ ภูมิหลัง ปัจจัยด้านการอำนวยสินเชื่อของ ธ.ก.ส. และปัจจัยทางจิตลักษณะมีความสัมพันธ์กับการยอมรับ ว.ก. ของเกษตรกร ยกเว้นปัจจัยทางเศรษฐกิจ ถึงจะมีความสัมพันธ์กับการยอมรับ ว.ก. ของเกษตรกรก็ตาม แต่ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านกิจกรรมการผลิตนอกการเกษตรควบคู่กับกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรด้วย.
ข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัย แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของบทบาทและความสำคัญของกิจกรรมการผลิตนอกการเกษตร (Off-farm) ของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. จึงควรปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ดังนี้
1. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กิจกรรมการผลิตนอกการเกษตร ควบคู่กันกับกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการผลิตของเกษตรกรและสมาชิกของครัวเรือน (farm family) ในฐานะที่เป็นหน่วยธุรกิจ (firm) ให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิตต่าง ๆ.
2. การมุ่งเน้นการฝึกอบรมพนักงาน ธ.ก.ส. ทุกระดับให้มีอุดมการณ์และจิตสำนึกในงานพัฒนาชนบทอย่างจริงจัง อย่ามุ่งเน้นผลการพัฒนาทางด้านวัตถุเพียงด้านเดียว ให้มองว่างานสินเชื่อเป็นเพียงวิธีการ (means) ที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนา (ends) คือ การที่หน่วยของสังคม (unit of analysis) ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว จนถึงสังคมทั้งสังคม (society) สามารถพัฒนาตนเองได้ (self-sustained growth)
3. สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรสร้างแนวคิดของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม (group process) มากขึ้น เช่น การให้รางวัลแก่กลุ่มเกษตรกรลูกค้าที่มีกิจกรรมสร้างสรรค์ดีเด่น แทนที่จะให้เกษตรกรลูกค้ารายคน
การวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวความคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีทางการเกษตร และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเกษตร รวมทั้งผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมากำหนดตัวแปรและกรอบความคิดที่ใช้ในการวิจัย.
หลังจากที่ได้พิจารณาตัวแปรอิสระต่าง ๆ (Independent variables) แล้วจำแนกออกเป็นชุดตัวแปรประกอบหรือชุดปัจจัย (factor) ได้หลายด้าน ดังนี้คือ (1) ปัจจัยภูมิหลัง (ได้แก่ อายุเฉลี่ยของสมาชิกและแรงงานพึ่งพิง) (2) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ (ได้แก่ ที่ดินการเกษตรที่ให้ผลผลิตรายได้สุทธิการเกษตร รายได้สุทธินอกการเกษตร ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และทรัพย์สินหลังหักหนี้สิน) (3) ปัจจัยด้านการอำนวยสินเชื่อของ ธ.ก.ส. (ได้แก่ การให้บริการด้าน ว.ก. และพฤติกรรมของพนักงาน) และ (4) ปัจจัยทางจิตลักษณะ (ได้แก่ การรับรู้คุณลักษณะของ ว.ก. ความทันสมัยและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์) โดยมีตัวแปร การยอมรับวัสดุอุปกรณ์การเกษตรของเกษตรกร เป็นตัวแปรตาม (dependent variable) ทั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามสัมภาษณ์ (schedule interview) ซึ่งนำไปใช้สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ใน 10 จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ ได้แก่ จังหวัดพิจิตร อุทัยธานี สุโขทัย นครราชสีมา ขอนแก่น นครพนม ระยอง สิงห์บุรี หาดใหญ่ (ตัวแทนของจังหวัดสงขลา) และตรัง จำนวนตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 969 ราย.
วิธีการประมวลผลข้อมูล ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC+ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใน 2 ระดับคือ ระดับแรกเป็นสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) เพื่อทราบลักษณะพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างรวมโดยอาศัยค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) อีกระดับหนึ่งเป็นสถิติเชิงอ้างอิง (inferential statistics) เพื่อวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบ และการค้นหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่ไม่ยอมรับ ว.ก. และกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่ยอมรับ ว.ก. โดยอาศัยค่า t (t-test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันโปรดักโมเมนต์ (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis)
ผลการวิเคราะห์ สรุปได้ดังนี้
1. ภูมิหลัง ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร พบว่า.
1) เกษตรกรตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 48.88 ปี ส่วนใหญ่ยังมีการศึกษาในระดับชั้นประถมปีที่ 4 จากจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-6 คน จะเป็นแรงงานเกษตรกร 2.05 คน และแรงงานพึ่งพิง 1.43 คน เกษตรกรมีที่ดินการเกษตรทั้งหมดโดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 34.92 ไร่ เป็นที่ดินการเกษตรซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้เพียง 30.86 ไร่เท่านั้น เกษตรกรมีรายได้สุทธิของครัวเรือนต่อปีโดยเฉลี่ยเท่ากับ 10,393.83 บาท และมีทรัพย์สินหลังจากหักหนี้สินของครัวเรือนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 462,711.58 บาท.
2) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีตัวแปรทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกับเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. กล่าวคือ
(1) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีที่ดินการเกษตรที่สามารถให้ผลผลิตได้ถึงครัวเรือนละ 37.33 ไร่ ในขณะที่เกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. มีเพียง 27.83 ไร่
(2) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีรายได้สุทธิของครัวเรือนถึง 34,144 บาท ในขณะที่เกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. มีอยู่เพียง 9,660 บาท.
(3) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีทรัพย์สินหลังหักหนี้สินถึง 606,690 บาท แต่เกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก.มีอยู่เพียง 357,113 บาท.
2. ปัจจัยการอำนวยสินเชื่อของ ธ.ก.ส. พบว่า.
1) ปัจจัยการอำนวยสินเชื่อของ ธ.ก.ส. เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยอมรับ ว.ก. มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ คือ สามารถอธิบายความผันแปรได้ถึงร้อยละ 33.2 (R2 = .332 ; F = 239.954 **)
2) เกษตรกรที่ยอมรบ ว.ก. มีทัศนะในทางปฏิฐานต่อปัจจัยการอำนวยสินเชื่อของ ธ.ก.ส. (การให้บริการของ ธ.ก.ส. และพฤติกรรมของพนักงานในการปฏิบัติงาน) มากกว่าเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก.
3. ปัจจัยทางจิตลักษณะ พบว่า.
ปัจจัยทางจิตลักษณะของเกษตรกรมีอิทธิพลต่อการยอมรับ ว.ก. ของเกษตรกรต่ำ โดยสามารถอธิบายความผันแปรได้เพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้น (R2 = .039; F = 12,162 **)
4. ปัจจัยที่กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. และเกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. พบว่า.
1) เกษตรกรกลุ่มรวมและเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. มีปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเป็นปัจจัยหลัก (main factor) ที่มีน้ำหนักปัจจัยเป็นอันดับแรก (eigenvalue = 2.36 และ 2.29 ตามลำดับ) โดยมีปัจจัยด้านกิจกรรมนอกการเกษตร มีน้ำหนักเป็นอันดับรอง (eigenvalue = 1.57 และ 1.59 ตามลำดับ)
2) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีปัจจัยหลักที่อธิบายลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ปัจจัยด้านกิจกรรมนอกการเกษตร (eigenvalue = 2.23) โดยมีปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเป็นเพียงปัจจัยรอง (eigenvalue = 1.51)
3) เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีน้ำหนักปัจจัยด้านการให้บริการของ ธ.ก.ส. แก่เกษตรกรสูงกว่าเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. อันเป็นปัจจัยที่น่าจะส่งผลให้เกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก. มีประสิทธิภาพทางการผลิตมากกว่าเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก.
4) ปัจจัยทางจิตลักษณะซึ่งกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะ ที่เป็นผลมาจากการที่เกษตรกรไปมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก (exogenous) ได้แก่ พฤติกรรมของพนักงานและความทันสมัยมากกว่ากลุ่มลักษณะตัวแปรจิตลักษณะที่เกิดจากตัวของเกษตรกรเอง (endogenous)
5. ผลการทดสอบตัวแบบแนวคิดทฤษฎี ผลการวิเคราะห์สามารถพิสูจน์และสนับสนุน ปัจจัยที่อยู่ภายใต้ตัวแบบหรือกรอบความคิดที่ใช้ในการวิจัย (Confirmatory Factor Analysis Model) กล่าวคือ ภูมิหลัง ปัจจัยด้านการอำนวยสินเชื่อของ ธ.ก.ส. และปัจจัยทางจิตลักษณะมีความสัมพันธ์กับการยอมรับ ว.ก. ของเกษตรกร ยกเว้นปัจจัยทางเศรษฐกิจ ถึงจะมีความสัมพันธ์กับการยอมรับ ว.ก. ของเกษตรกรก็ตาม แต่ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านกิจกรรมการผลิตนอกการเกษตรควบคู่กับกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรด้วย.
ข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัย แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของบทบาทและความสำคัญของกิจกรรมการผลิตนอกการเกษตร (Off-farm) ของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. จึงควรปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ดังนี้
1. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กิจกรรมการผลิตนอกการเกษตร ควบคู่กันกับกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการผลิตของเกษตรกรและสมาชิกของครัวเรือน (farm family) ในฐานะที่เป็นหน่วยธุรกิจ (firm) ให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิตต่าง ๆ.
2. การมุ่งเน้นการฝึกอบรมพนักงาน ธ.ก.ส. ทุกระดับให้มีอุดมการณ์และจิตสำนึกในงานพัฒนาชนบทอย่างจริงจัง อย่ามุ่งเน้นผลการพัฒนาทางด้านวัตถุเพียงด้านเดียว ให้มองว่างานสินเชื่อเป็นเพียงวิธีการ (means) ที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนา (ends) คือ การที่หน่วยของสังคม (unit of analysis) ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว จนถึงสังคมทั้งสังคม (society) สามารถพัฒนาตนเองได้ (self-sustained growth)
3. สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรสร้างแนวคิดของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม (group process) มากขึ้น เช่น การให้รางวัลแก่กลุ่มเกษตรกรลูกค้าที่มีกิจกรรมสร้างสรรค์ดีเด่น แทนที่จะให้เกษตรกรลูกค้ารายคน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.