GSDMS: Theses
Permanent URI for this collectionhttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/52
Browse
Recent Submissions
Item อัตลักษณ์ของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆในการเผยแพร่หลักธรรมอิสลามเพื่อส่งเสริมคุณธรรมของชาวไทยมุสลิม: กรณีศึกษาของชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทราประสิทธิ์ เซาะมัน; อาแว มะแส (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆที่ทำงานเผยแผ่ศาสนาอิสลามในระดับชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ศึกษาการใช้อัตลักษณ์และการใช้สื่อของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆในการเผยแผ่หลักธรรมอิสลาม ในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) ศึกษาการตอบรับที่มีต่อบทบาทของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆในการเผยแผ่หลักธรรมอิสลาม เพื่อส่งเสริมคุณธรรมให้แก่คนในชุมชน การดำเนินการวิจัยเป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมตามแนวทางชาติพรรณวรรณนา การสัมภาษณ์เชิงลึกดำเนินการกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญสองกลุ่มคือ สมาชิกกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆที่สังกัดศูนย์ดะอ์วะฮ์ตับลีฆประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา และชาวมุสลิมในชุมชนที่มีความรู้ดีเกี่ยวกับกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารร่วมด้วย การวิเคราะห์ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การจัดหมวดหมู่ การสังเคราะห์ และการตีความ ทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านข้อมูล ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น 3 ประการ ได้แก่ 1) เป็นผู้ฝึกตนบนหนทางแห่งความศรัทธาในอัลลอฮ์ตามแนวทางของศาสดามูฮัมหมัด ด้วยการเดินทางออกจากบ้านเพื่อทำกิจกรรมของกลุ่มโดยใช้ทรัพยากรของตนเอง 2) เป็นผู้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในวิถีแห่งอัลลอฮ์ คือ การปฏิบัติตนตามสูตรการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันที่ถูกกำหนดโดยกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆ ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมสร้างความสมบูรณ์ในการปฏิบัติศาสนกิจให้มากขึ้น และ 3) เป็นผู้สืบทอดภารกิจการเผยแผ่ศาสนาของท่านศาสดามูฮัมหมัด อัตลักษณ์ทั้งสามประการนี้เป็นอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่มฯ ที่เกิดจากกฎระเบียบและแนวทางที่ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน จึงส่งผลให้สมาชิกของกลุ่มฯ มีแนวคิดและความประพฤติไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งอัตลักษณ์เหล่านี้ยังถูกนำมาแสดงออกผ่านแนวคิดและวิธีการเผยแผ่ศาสนาอิสลามของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆที่เดินทางไปยังชุมชนต่าง ๆ โดยใช้วิธีการสนทนาแบบตัวต่อตัวกับคู่สนทนาและไม่ใช้อุปกรณ์สื่อสารสมัยใหม่ใด ๆ ในการนำเสนอ เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีการที่ท่านศาสดามูฮัมหมัดปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้มุสลิมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมตามหลักคำสอนของศาสนานี้เพิ่มมากขึ้น การตอบรับจากการทำกิจกรรมของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆต่อชุมชนสามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะคือ 1) การตอบรับในเชิงบวก คือ ทำให้คนในชุมชนสามารถปฏิบัติตนตามหลักการของศาสนาอิสลามได้มากขึ้น 2) การตอบรับในเชิงลบ คือ การที่กลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆเข้ามาพักอาศัยหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในมัสยิด อันส่งผลให้เกิดความไม่เป็นระเบียบขึ้นในมัสยิดประจำชุมชน และ 3) ผลตอบรับแบบไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ มองว่ากลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงหรือส่งผลกระทบใด ๆ เนื่องจากมุสลิมในชุมชนล้วนมีความรู้พื้นฐานด้านศาสนาอยู่แล้ว ถึงแม้ว่ากลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆจะเข้ามาทำกิจกรรมในชุมชนอยู่บ่อยครั้ง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มฯ กับมุสลิมในชุมชนก็มิได้มีความใกล้ชิดกันมากนัก ข้อเสนอแนะสำคัญคือหน่วยงานภาครัฐและนักวิชาการศาสนาอิสลามควรเข้ามากำกับดูแลการทำกิจกรรม และสร้างความเข้าใจด้านความน่าเชื่อถือของเนื้อหาการเผยแผ่ของกลุ่มนี้ นอกจากนี้ ผู้นำกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆควรกำกับดูแลมิให้สมาชิกละเมิดอัตลักษณ์ของผู้อื่น และผู้นำชุมชนควรเข้ามากำหนดแนวทางการปฏิบัติขณะเข้าพักในมัสยิดของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยItem ปัจจัยเชิงเหตุ ด้านจิตลักษณะ สถานการณ์ และการรับรู้ปทัสถานที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ และการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในนักศึกษาปริญญาตรีวิลาวัลย์ คล้ายประยงค์; ดุจเดือน พันธุมนาวิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทัศนคติ และ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในนักศึกษาปริญญาตรี ในด้านการประเมินค่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ความรู้สึกต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ความพร้อมที่จะยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ว่ามีปริมาณแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดการวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีกรอบแนวคิดฟื้นฐานในการวิจัยมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ตลอดจนทฤษฎีและหลักการที่สำคัญทางจิตวิทยา ทั้งในประเทศละต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ นักศึกษาปริญญาศรี ชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นกำหนดโควต้า ได้จำนวนทั้งสิ้น 498 คน เป็นเพศชาย 193 คน เพศหญิง 305 คน มีอายุเฉสี่ย 21 ปี 3 เดือน ตัวแปรในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 6 กลุ่ม ได้แก่ จิตลักษณะ 2) สถานการณ์ 3) การรับรู้ปทัสถานด้าน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4) ทันคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5) การยอมรับโรงไฟฟ้าานิวเคลียร์ และ 6) ลักษณะชีวสังคมภูมิหลัง แบบวัดส่วนใหญ่เป็นแบบวัดมาตรประเมินรวมค่า ผลการวิจัยที่สำคัญ ประการแรก ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ พบว่า การรับรู้ ปทัสถานจากผู้ปกครองเป็นตัวทำนายที่สำคัญที่สุด ในการทำนายทันคติที่ดีต่อ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (การประเมินค่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ความรู้สึกที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และความพร้อมที่จะยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์) และตัวทำนายที่สำคัญรองลงมา ได้แก่ ความรู้ด้านโรงไฟฟ้านิเคลียร์ทั่วไป และการรับรู้ปทัสถานจากเพื่อน ประการที่สอง ปัจจัยด้านจิตลักษณะ ร่วมกับสถานการณ์ และการรับรู้ปทัสถานด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และทัศนติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รวม 15 ตัวแปร พบผลทำนายของกลุ่มที่มีความสำคัญต่อการยอมรับโรงไฟฟ้าานิวเคลียร์ ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาเพศหญิง กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มนักศึกษาที่มีอายุน้อย กลุ่มนักศึกษาที่มารดามีระดับการศึกษาน้อย และกลุ่มนักศึกษาที่บิดามีระดับการศึกษาน้อย ตามลำดับ สำหรับผลทำนายของกลุ่มที่มีความสำคัญต่อความเห็นด้วยในการก่อตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในหมู่บ้านที่เป็นภูมิลำเนาเดิม และในปริมณฑลรอบกรุงเทพฯ ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาเพศหญิง กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มนักศึกษาที่บิดามีระดับการศึกษาน้อย และกลุ่มนักศึกษาที่มารดามีระดับการศึกษาน้อย ตามลำดับ ประการที่สาม จากการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงเส้น พบว่า :) ตัวแปรความรู้ค้าน โรงไฟฟ้าานิเคลียร์มีอิทธิพลทางตรงต่อ ตัวแปรการรับรู้ปทัสถานด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และตัวแปรทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลท่ากับ .793 และ .459 ตามลำดับ) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผ่านทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .139) 2) ตัวแปรจิตลักษณะ มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปรทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (คำสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .273) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้าานิวเคลียร์ ผ่านทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟนิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .103) 3) ตัวแปร สถานการณ์ มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปร ทันคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .184) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผ่านทัศนติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .069) 4) ตัวแปรการรับรู้ปทัสถานด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปรทันติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .462) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผ่านทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์(ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .175) 5) ตัวแปร ทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปรการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .378) ข้อเสนอแนะการปฏิบัติเพื่อการพัฒนานั้น พบว่า ตัวแปรที่มีความสำคัญอย่าง มากต่อการยอมรับโรงนิ วเคลียร์ คือ การรับรู้ปทัสถาน จากผู้ปกครอง และการรับรู้ปทัสถาน จากเพื่อนและความพร้อมที่จะยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้บุคคลที่มีบทบาทต่อการรับรู้ปทัสถานด้าน โรง ไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักศึกษา เช่น ผู้ปกครอง และเพื่อนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อเป็นแบบอย่างด้านการมีทัศนคติที่ดี และมีการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไปItem วิถีอนุตตรธรรมกับการพัฒนาสังคมไทย กรณีศึกษา มูลนิธิเทิดคุณธรรม จังหวัดนครราชสีมาปวีณา โนนศิลา; หลี่ เหรินเหลียง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)งานวิจัยเรื่อง วิถีอนุตตรธรรมกับการพัฒนาสังคมไทย กรณีศึกษา มูลนิธิเทิดคุณธรรม จังหวัดนครราชสีมา เป็นการศึกษาตามระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการสำคัญของวิถีอนุตตรธรรมที่มูลนิธิเทิดคุณธรรมนำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาประชาชนในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความศรัทธาในวิถีอนุตตรธรรมของกลุ่มอาสาสมัครมูลนิธิฯ ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้นจำนวน 15 คน จากการศึกษา พบว่า มูลนิธิเทิดคุณธรรมได้นำหลักการสำคัญของวิถีอนุตตรธรรมมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาให้ประชาชนในสังคมไทยในทุกรุ่นวัยได้ฟื้นฟูจิตเดิมแท้ดีงามของตนเอง ตระหนักรู้คุณค่าของชีวิตและรู้จักกำหนดชีวิตของตนให้ดำเนินไปบนพื้นฐานของคุณธรรมทั้ง 8 ประการ คือ ความกตัญญู ความสามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดี การมีสัตยธรรม การมีจริยธรรม การมีมโนธรรมสำนึก การมีสุจริตธรรม และการมีความละอายต่อบาป โดยอาศัยการจัดชั้นอบรมศึกษาหลักธรรมเป็นแนวทางในการส่งเสริมอบรมกล่อมเกลาประชาชนให้ได้เรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนและนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อให้สังคมไทยได้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น อาทิ การมีความรัก ความเมตตา ความเข้าใจต่อกันภายในครอบครัวเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การคบหาสมาคมกับเพื่อนด้วยความจริงใจ การมีอัธยาศัยไมตรีที่ดีต่อเพื่อนบ้าน การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจอย่างเต็มความสามารถในสังคมวัยทำงาน การมีจิตสาธารณะและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ประชาชนรู้จักหลักการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อจะได้มีอายุวัฒนา รวมถึงการมีจิตเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสังคมสงบสุข โลกเป็นเอกภาพตามแนวสันติธรรม อย่างไรก็ดี หากสังคมไทยสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ตามหลักการดังกล่าว นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ในทางปฏิบัติพบว่า ยังมีความท้าทายอยู่มาก อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการในสังคม อย่างไรก็ตาม มูลนิธิเทิดคุณธรรมยังคงมุ่งมั่นสืบสานปณิธานในการส่งเสริมประชาชนให้ดำเนินชีวิตด้วยคุณธรรมต่อไป โดยมีแนวร่วมภาคประชาชนที่เห็นความสำคัญและเข้ามาเป็นอาสาสมัครเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี สำหรับปัจจัยที่ทำให้กลุ่มบุคคลก่อเกิดความศรัทธาในวิถีอนุตตรธรรมและเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นอาสาสมัครร่วมกับมูลนิธิฯ จากการศึกษาพบว่า มีปัจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจ คือ การศึกษาในชั้นอบรมจนเข้าใจในหลักธรรมและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เข้าใจในสัจธรรมชีวิต การที่มีความสุขมากขึ้น การเข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น ความรู้สึกศรัทธาในธรรมะและเห็นคุณค่าของชีวิต อยากทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น ความเห็นแก่ตัวลดลง ความโลภ ความโกรธ ความหลงลดลง การรู้จักเตือนตนเตือนใจให้ระงับยับยั้งอารมณ์โทสะได้มากขึ้น การมีจิตเมตตาต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสรรพสัตว์มากขึ้น รวมถึงความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าช่วยดลบันดาลการช่วยเหลือหนุนนำอยู่เบื้องหลัง หากตนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็จะได้รับความเมตตาคุ้มครองดูแลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้อยู่เย็นเป็นสุขและอยู่รอดปลอดภัยจากภัยพิบัติหรือสิ่งไม่ดีทั้งหลาย การเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครตามวาระและโอกาสที่ตนสะดวกในการทำความดีร่วมกับมูลนิธิฯ ก็เปรียบเสมือนเป็นการตอบแทนพระคุณพ่อแม่ บรรพบุรุษ ตอบแทนสังคมประเทศชาติบ้านเมือง เพื่อช่วยกันจรรโลงคุณธรรมความดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทยสืบไปItem ภาคีภิบาลป่าไม้ในพื้นที่คุ้มครองในเขตตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่านสิทธิพร รอดไพรสม; สุวิชา เป้าอารีย์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการภาคีภิบาลป่าไม้ในพื้นที่คุ้มครองในเขตตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน และศึกษาเงื่อนไขความสำเร็จในการจัดการภาคีภิบาลป่าไม้ในพื้นที่คุ้มครองในเขตตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 19 คน วิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การจัดการภาคีภิบาลป่าไม้คือ กระบวนการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายร่วมในการบริหารจัดการป่าไม้อย่างมีธรรมาภิบาลในพื้นที่คุ้มครองในเขตตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน แบ่งออกได้ 5 ขั้นตอน คือ 1. การค้นหาและประเมินความสำคัญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการป่าไม้ 2. การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีส่วนร่วม 3. กำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม 4. การประชาสัมพันธ์และรับความคิดเห็นจากสมาชิกในชุมชน และ 5. การติดตาม รายงานและถอดบทเรียนผลการดำเนินงาน โดยทั้ง 5 ขั้นตอนจะมีการแบ่งบทบาทในการนำกระบวนการพูดคุย การนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสนับสนุนข้อคิดเห็นและปัจจัยในการดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบและศักยภาพที่มี เพื่อสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของในภารกิจและสิ่งที่ทำร่วมกันโดยปราศจากการการรับคำสั่งหรือปฏิบัติตามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีอำนาจเหนือกว่า สำหรับปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จในการจัดการภาคีภิบาลป่าไม้ต้องอาศัยเงื่อนไขสำคัญ 4 ประการ คือ ประการที่ 1 ตระหนักและยอมรับอย่างจริงใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ประการที่ 2 แสดงความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรวมถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งทางบวกและลบ ประการที่ 3 ใช้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและยอมรับจากทุกฝ่าย ประการที่ 4 ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ทุกระดับItem ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อามีนิลลา หะยีซอ; รติพร ถึงฝั่ง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา จำนวน 381 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ตัวแปรที่มีอิทธิพลสามารถทำนายพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด ได้แก่ปัจจัยด้านครอบครัว (β = - 0.209) ปัจจัยเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อน (β = - 0.484) และปัจจัยเกี่ยวกับชุมชน (β = - 0.105 ) ซึ่งตัวแปรทั้งสามสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดได้ร้อยละ 48.0 (Adjust R' = .480) การศึกษานี้เสนอแนะว่า ปัจจัยด้านกลุ่มเพื่อนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลในการลดการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นควรเสริมสร้างการตระหนักรู้ในการเลือกคบเพื่อน และเสริมสร้างทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการใช้ชีวิต ทักษะการปฏิเสธ การจัดการกับความเครียด การคิดอย่างมีวิจารณญาณในการรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่กระทำพฤติกรรมเสี่ยงอันจะเป็นปัญหาในสังคมต่อไปItem การขับเคลื่อนเครือข่ายเพื่อการคุ้มครองเด็ก : กรณีศึกษาเครือข่ายคุ้มครองเด็กเทศบาลเมืองหนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรีปัณณธร นันทิประภา; สุวิชา เป้าอารีย์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบการคุ้มครองเด็กที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเครือข่ายคุ้มครองเด็ก 2) วิเคราะห์ขั้นตอนการขับเคลื่อนเครือข่ายคุ้มครองเด็ก และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะต่อการจัดการเครือข่ายคุ้มครองเด็กเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน ได้แก่ สมาชิกของเครือข่ายคุ้มครองเด็กในพื้นที่เทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นสมาชิกที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงเยาวชนที่เข้าร่วมเครือข่าย ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของระบบการคุ้มครองเด็กที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเครือข่ายคือ 1) มีนโยบาย แผนงานการคุ้มครองเด็กที่ดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2) มีกลไกการให้บริการด้านการคุ้มครองเด็กในพื้นที่ 20 หน่วยงาน 3) มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพด้านทักษะ ความรู้ และกระบวนการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็ก 4) มีกลไกประสานความร่วมมือระดับท้องถิ่นตามแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาระบบคุ้มครองเด็กในระดับตำบล 5) มีกลไกการตรวจสอบด้วยการรายงานและกระบวนการตอบสนองการจัดการรายกรณีด้วยทีมสหวิชาชีพ 6) มีวงจรการดูแลเด็กในรูปแบบการป้องกันและการปกป้องคุ้มครอง 7) เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการคุ้มครองเด็กในพื้นที่ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้นำไปสู่การสร้างเครือข่ายและการขับเคลื่อนเครือข่าย 3 กระบวนการคือ 1) การบริหารจัดการเครือข่าย 2) การพัฒนาเครือข่าย 3) การรักษาเครือข่าย อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาจากการขับเคลื่อนเครือข่าย 2 ประการคือ 1) เครือข่ายยังไม่มีการจัดระบบข้อมูลพื้นฐานและจัดการความรู้สำคัญ 2) เครือข่ายยังขาดการสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายในเรื่องการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเครือข่ายคุ้มครองเด็กItem สุขภาวะและการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนศรีฐาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นสิริยากร สิงห์เสนา; อาแว มะแส (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนศรีฐาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชน และ 3) วิเคราะห์เงื่อนไขที่สำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชน การดำเนินการวิจัยเป็นไปตามวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกรณีศึกษาเป็นหลัก ควบคู่การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการจัดหมวดหมู่ การสังเคราะห์ข้อมูลและการตีความ ผลการศึกษาพบว่าชุมชนศรีฐาน เป็นชุมชนเมืองที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในทิศทางที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชน ผู้สูงอายุที่เลือกเป็นกรณีศึกษาล้วนมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1-2 โรค ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังและไม่ติดต่อ แต่ยังคงสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันตามศักยภาพของตนเองได้ การชี้แนะที่ดีมีความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุให้สามารถพึ่งตนเองได้ เงื่อนไขที่สำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะ มีหลายประการ ทั้งสภาพร่างกายของตัวผู้สูงอายุแต่ละคน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ครอบครัว กลุ่มจิตอาสาในชุมชน สภาพแวดล้อม ที่ตั้งของชุมชน และสนับสนุนจากฝ่ายการเมืองท้องถิ่น ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สำหรับใช้เป็นพื้นที่กลางให้ผู้สูงอายุในชุมชนทำกิจกรรมร่วมกันและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญาItem คุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษา แรงงานสัญชาติพม่า เขตตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครกัญญารัตน์ ทุสาวุธ; หลี่ เหรินเหลียง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)การวิจัยเรื่อง “คุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติกรณีศึกษา แรงงานสัญชาติพม่า เขตตำบล มหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อ ศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่ทำงานในเขตมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขของสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่ เข้ามาทำงานในเขตมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้วิธีการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ทั้งสิ้น 18คน ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าก่อนที่จะเดินทางเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศไทยนั้นมีคุณภาพชีวิตที่อยู่ในระดับเกณฑ์ที่ต่ำการทำงานนั้นหางานยาก มากเพราะมีคนต้องการที่จะทำงานเยอะแต่งานที่มีให้ทำน้อยมากรายได้ทั้งเดือนส่วนใหญ่จะอยู่ที่3,000-4,000 บาท เนื่องจากปัญหาภายในประเทศส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ เมื่อได้ เข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้วคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติดีขึ้นจากเมื่อก่อน ในระดับที่ แรงงานข้ามชาติพึงพอใจอีกทั้งการทำงานของแรงงานข้ามชาติในเขตมหาชัยจังหวัดสมุทรสาคร มีความเสี่ยงจากอันตรายน้อยจากการทำงานภายใต้สถานประกอบการ ทั้งในอุตสาหกรรมต่อเนื่องทางทะเล และในด้านเกษตรกรรม ทั้งนี้อาจพบปัญหาเล็กน้อยในสถานที่ทำงาน เช่น ปัญหาด้านภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร การเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะการมีแรงงานใหม่เข้ามาปฏิบัติงาน โดยนายจ้าง หรือผู้ประกอบการจะใช้มาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตามแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีทั้งที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตาม กฎหมายและผิดกฎหมายแต่ส่วนใหญ่จะเข้ามาโดยผิดกฎหมาย เพราะการเข้าออกตามแนวชายแดน กระทำได้ง่ายมีหลายช่องทางทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนประพฤติตัวเป็นนายหน้าหาแรงงานข้ามชาติให้กับ นายจ้างในประเทศ ในส่วนของการใช้ชีวิต ของแรงงานข้ามชาติในเขตมหาชัยจังหวัดสมุทรสาคร พบวาการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นดีขึ้นจากเดิมที่เคยใช้ชีวิตก่อนเดินเข้ามาทำงานในประเทศไทย แต่อาจเกิดการกดดันจากทัศนคติที่ไม่ดีของ คนไทยและมักจะถูกก่อกวนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่งผลให้มีความเป็นอยู่ที่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ ภาครัฐและภาคเอกชนควรให้การสนับสนุนและให้ความเป็นธรรมแก่แรงงานข้ามชาติItem กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา โพสต์ทูเดย์ และแนวหน้าวุฒิพร ลิ้มวราภัส; สุวิชา เป้าอารีย์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา โพสต์ทูเดย์ และแนวหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผ่านสื่อ ออนไลน์ และอิทธิพลของสื่อออนไลน์ที่มีต่อการพัฒนาทางการเมือง โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษา เชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ จัดทำเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บไซต์บรรณาธกิารฝ่ายข่าวสาร และประชาชนผู้ตดิ ตามเว็บไซต์ข่าว ออนไลน์ จำนวน 16 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) หนังสือพิมพ์ออนไลน์มีบทบาทและมีส่วนร่วม ทางการเมืองผ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์โดยนำเสนอความจริง ให้ความรู้ เป็นช่องทางการ สื่อสารระหว่างประชาชนกับสื่ออันมีต่อการบริหารทางการเมืองของรัฐบาล และการตรวจสอบ การทำงานของรัฐบาลและผู้นำทางการเมือง สำหรับกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่าน หนังสือพิมพ์ออนไลน์ พบว่าการคัดกรองข้อมูล จัดการความคิดเห็นของผู้ใช้ ประสานงาน ตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ และเปิดช่องทางให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อข่าวการเมือง โดย ส่วนใหญ่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับประชาธิปไตย แสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ตัวแทนทางการเมือง รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองอันช่วยเสริมสร้าง วัฒนธรรมประชาธิปไตย 2) อิทธิพลของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่มีต่อการพัฒนาทางการเมือง พบว่า ปจัจุบนัอิทธิพลของสื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางการเมืองเป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างสังคมเปลี่ยนไป โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาในชีวิตประชาชนมากขึ้น ส่งผลทำให้ระบบการเมืองมีการพัฒนาสูง มีการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เพราะ เป็นช่องทางในการให้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างต่อเนื่องในปริมาณที่ไม่จำกัด ส่งผลให้พลเมืองมีสิทธิโอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้นItem อัตลักษณ์ และการรักษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูที่ย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ชุมชนมุสลิม เสรีไทยซอย 4ซูไวบะห์ โต๊ะตาหยง; หลี่ เหรินเหลียง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)งานวิจัยเรื่อง อัตลักษณ์ และการรักษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูที่ย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ชุมชนมุสลิม เสรีไทยซอย 4 มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูที่อพยพมาอยู่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ชุมชน มุสลิมเสรีไทย 4 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และการรักษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูที่อพยพมาอยู่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ชุมชนมุสลิมเสรีไทย 4 เป็นการศึกษาตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลสําคัญทั้งสิ้นจํานวน 15 คน ผลการศึกษา พบว่า อัตลักษณ์ทั่วไปของคนไทยเชื้อสายมลายูในชุมชนมุสลิมเสรีไทย ซอย 4 แบ่งออกได้เป็นอัตลักษณ์ทางสังคมและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยสิ่งบ่งชี้ความเป็นคนไทย เชื้อสายมลายูในชุมชนมุสลิมเสรี ไทย ซอย 4 คือ ภาษา การแต่งกาย การนับถือศาสนาอิสลาม ประเพณีและ ค่านิยม ลักษณะนิสัยเด่นของคนไทยเชื้อสายมลายูในชุมชนมุสลิมเสรีไทย ซอย 4 คือ มีนํ้าใจ ชอบช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ รักสงบ เรียบง่าย มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญูต่อ ผู้มีพระคุณ ซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ยึดหลักคุณธรรม อัตลักษณ์สําคัญของคนไทยเชื้อสายมลายู ในชุมชนมุสลิมเสรีไทยซอย 4 คือ อัตลักษณ์ทางภาษา อัตลักษณ์ด้านการแต่งกาย อัตลักษณ์ด้าน อาหาร อัตลักษณ์สําคัญดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงเพียงบางส่วนเพื่อให้เข้ากับบริบทของ สิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ในขณะที่อัตลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงทั้งหมด คือ อัตลักษณ์ด้านยารักษาโรคที่หันมารักษากับแพทย์แผนปัจจุบันทั้งหมด ความเชื่อ ประเพณีแบบอิสลามพื้นบ้าน คนไทยเชื้อสาย มลายูในชุมชนมุสลิมเสรีไทยซอย 4 สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนและสภาพแวดล้อมของกรุงเทพมหานครได้ แต่ยังมีความต้องการย้ายกลับบ้านเกิดในบั้นปลายของชีวิต แนวโน้มในการรักษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูในชุมชนมุสลิมเสรีไทย ซอย 4 ในอนาคต มีแนวโน้มอัตลักษณ์ด้านต่างๆ จะถูกกลืนหายไปในเวลา 3 ชั่วอายุคน ถ้าไม่มีการถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่น ข้อเสนอแนะสําหรับการรักษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูในชุมชนมุสลิมเสรีไทย ซอย 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอัตลักษณ์ทางภาษาเขตพื้นที่การศึกษาหรือสถาบันการศึกษาควร เน้นนโยบายการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมการดํารงรักษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูโดยการ สร้างศูนย์เรียนรู้ภาษามลายูที่เป็นทางการขึ้น หรือมีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่ นที่เน้น ทางด้านอัตลักษณ์และวัฒนธรรมมลายูอัตลักษณ์ด้านอาหารควรทําการตลาดเชิ งรุ กเพื่อประชาสัมพันธ์อาหารมลายูให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อไม่ให้อัตลักษณ์ด้านนี้สูญหายไป หน่วยงาน ภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นําชุมชน ควรพยายามทํา ความเข้าใจ การตระหนัก และเห็นความสําคัญของอัตลักษณ์มลายู เน้นการประสานงานระหวางหน่วยงานภาครัฐกับคนไทยเชื้อสาย มลายูในชุมชนมุสลิมเสรีไทยซอย 4 ให้เป็นไปในทิศทางที่ดี สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทําให้อัตลักษณ์ของ คนไทยเชื้อสายมลายู ยังคงอยู่และยิ่งใหญ่มากขึ้นItem การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมศิระ บุญแทน; สมศักดิ์ สามัคคีธรรม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)การศึกษาวิจัย “การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา พื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ ยาเสพติดในพื้นที่อำเภอกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาบริบทเชิงโครงสร้างทางสังคมที่ ส่งผลต่อกระบวนการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอ กำแพงแสน จังหวดันครปฐม และ3) เพื่อศึกษาปัจจยัที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม การศึกษาวิจัยในคร้ังนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ เชิงลึกโดยกำหนดประเด็นคำถามตามกรอบแนวคิดการศึกษาวิจัยและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยผู้ให้ข้อมูลหลายฝ่าย สามารถสรุปผลการศึกษาวจิยัได้ดังนี้ 1) สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวดันครปฐม ยังมีแนวโน้มของการแพร่ระบาดมากขึ้นมียาเสพติดที่แพร่ระบาดหลักได้แก่ยาบ้า (เมทแอมเฟตามีน) ซึ่งกลุ่มผูค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ค้ารายย่อย โดยมีกลุ่มผู้เสพยาเสพติดส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานใน พื้นที่ 2) บริบทเชิ งโครงสร้างทางสังคมที่ส่งผลต่อการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ ได้แก่ (1) บริบทเชิงโครงสร้างระหว่างประเทศและโลกาภิวัตน์พบว่ายาเสพติดใน พื้นที่อำเภอกำแพงแสนนั้นมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมากนักและโลกาภิวัตน์ส่งผลให้การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติทำได้ยากขึ้น (2) บริบทเชิงโครงสร้างทางวัฒนธรรม พบว่าด้วยวัฒนธรรมในระบบอุปถัมป์ และความสัมพันธ์แบบเครือญาติส่งผลให้มีการช่วยเหลือกันปกปิดการกระทำผิดของผู้ค้าและเสพยาเสพติดส่งผลให้กระบวนการปราบปรามยาเสพติดไม่ได้ผลเท่าที่ควร (3) บริบทเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ พบว่า ปัญหาเศรษฐกิจและสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ จะทำให้ประชาชนหันมาค้ายาเสพติดมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการทุจริตคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่อีกด้วย (4) บริบทเชิงโครงสร้างทางการเมือง พบว่ากลุ่มผู้ค้ายาเสพติดจะใช้โอกาสที่ การเมืองไม่มีเสถียรภาพ เป็นช่องว่างในการค้ายาเสพติด 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านนโยบาย พบว่า นโยบายในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีความชอบธรรมและชัดเจนหากแต่ในระดับการปฏิบัติยังไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาในพื้นที่ เนื่องจากมีช่องว่างของกฎหมายที่ผู้ค้ายาเสพติดใช้ในการกระทำผิด (2) ปัจจัยด้านสมรรถนะองค์การ พบว่าปัจจัยด้านสมรรถนะองค์การนั้น ภาวะผู้นำของนายอำเภอกำแพงแสนในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ป ฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีสูง หากแต่ยังขาดทรัพยากรที่ใช้ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (3) ปัจจัยด้านความร่วมมือ พบว่าความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ยังมีน้อย เนื่องจากมองว่าปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องไกลตัว และเสี่ยงอันตรายหากให้ความร่วมมือกับ เจ้าหน้าที่ (4) ปัจจัยด้านสิ่งจูงใจ พบว่าเจ้าหน้าที่ยังขาดสิ่งจูงใจในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดเนื่องจากสิ่งจูงใจยังอยู่ในแค่ระดับผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานItem ทุนทางสังคมกับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนย่านเยาวราชอรวรรณ แซ่ว่าง; หลี่ เหรินเหลียง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)การศึกษาเรื่องทุนทางสังคมกับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนย่านเยาวราช มี วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาสถานะของทุนทางสังคมในชุมชนย่านเยาวราช 2) เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบของทุนทางสังคมที่สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชนย่านเยาวราช และ 3) เพื่อศึกษาวิธีการนำทุนทางสังคมมาใช้ในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชนย่าน เยาวราช ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความ เป็นมาของชาวไทยเชื้อสายจีน และประวัติความเป็นมาของชุมชนเยาวราช วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชนย่านเยาวราช รวมถึงทุนทางสังคม และการสร้างความเข้มแข็งทาง เศรษฐกิจในชุมชนย่านเยาวราช โดยศึกษาจากการทบทวนเอกสารที่มีความน่าเชื่อถือ ตำราบทความทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน โดยใช้วิธีการเทคนิคสามเส้า (Triangulation Technique) เพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล จากการศึกษาพบว่า สถานะทุนทางสังคมที่เด่นชัดที่สุดในชุมชนย่านเยาวราช ได้แก่ ด้านเครือข่าย ด้านความไว้วางใจ และบรรทัดฐาน ตามลำดับ โดยมีองค์ประกอบของทุนทางสังคมที่สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชน คือ 1) โครงสร้างเครือญาติ2) วัฒนธรรม ประเพณี 3) ค่านิยม ความเชื่อ 4) ความรู้/ภูมิปัญญา 5) ผู้นำชุมชน และ 6) ความเอื้ออาทร การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทั้งนี้วิธีการนำทุนทางสังคมมาใช้ในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชนใน ระดับครอบครัว พบว่าใช้ในการอบรมสั่งสอนลูกหลานให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ มีคุณธรรม จริยธรรม ไว้วางใจกัน มีการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาเพื่อให้พึ่งพาตนเองได้ในระดับชุมชน พบว่าผู้นำชุมชนเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกชุมชน สร้างเครือข่าย บรรทัดฐานเพื่อช่วยเหลือพัฒนา ชุมชนให้ดีขึ้น และในระดับกลุ่ม/องค์กร มีการรวมกลุ่มบนความไว้วางใจ และเป็นเครือข่ายทาง สังคมภายใต้กฎกติกาบรรทัดฐานเดียวกันItem พลวัตการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นฐานทุนทางสังคมในชุมชนคลองทะเล จังหวัดพังงาธีระพงษ์ วงษ์นา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ชาวบ้านและพลวัตของการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน บนพื้นฐานทุนทางสังคมในชุมชน คลองทะเล 2) เพื่อศึกษาลักษณะของทุนทางสังคมที่ชุมชนน ามาใช้ขับเคลื่อนการปกป้อง ทรัพยากรธรรมชาติ 3) เพื่อศึกษาผลของการน าทุนทางสังคมมาใช้ขับเคลื่อนในกระบวนการปกป้อง ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน การด าเนินการวิจัยเป็นไปตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวม ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่ส าคัญ 15 ราย และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการท าความเข้าใจกับความหมาย การจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์หาความเชื่อมโยง การสังเคราะห์และการตีความเพื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดที่เกี่ยวข้องและบริบทของพื้นที่ศึกษาItem ปัญหาของผู้สูงอายุกับการจัดสวัสดิการชุมชนในเขตเมือง: ศึกษากรณี 2 ชุมชน ในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานครกรจงรักษ์ ชาตรูปฏิวิน; สากล จริยวิทยานนท์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการดำรงชีพ/การใช้ชีวิตประจำวันของ ผู้สูงอายุในชุมชนคลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนา 2) ศึกษาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน คลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนา 3) ค้นหาข้อเสนอแนะในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน คลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนาItem คุณภาพชีวิตการทำงานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทยศศินทร์ มะกูดี; รติพร ถึงฝั่ง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทําการศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทยที่สังกัดบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จํากัด ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านรายได้และผลตอบแทน ด้านสวัสดิการและหลักประกันการทํางาน ด้านโอกาสในการพัฒนาทักษะและความสามารถ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทํางานและชีวิตส่วนตัว ด้านความสัมพันธ์ที่ดีในทีม ด้านโอกาสทางสังคมและการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมกัน และด้านสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และเพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทยที่สังกัดบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จํากัด จําแนกตามคุณลักษณะต่างๆ ของนักฟุตบอล รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทยโดยใช้ข้อมูลจากการสํารวจตัวอย่างของนักฟุตบอลที่สังกัดบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จํากัด จํานวน 500 คน ผลการศึกษาพบว่า นักฟุตบอลที่สังกัดบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จํากัด มีระดับคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพโดยรวมอยู่ในระดับสูงทุกด้านเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทยที่สังกัดบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จํากัด จําแนกตามคุณลักษณะต่างๆ ของนักฟุตบอลพบว่า นักฟุตบอลที่เป็นโสด นักฟุตบอลที่เคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เล่นที่มีความสามารถพิเศษ (Talent) ในทีมเยาวชนระดับสโมสรหรือระดับชาติ นักฟุตบอลที่ผ่านประสบการณ์เป็นนักฟุตบอลในสถานศึกษาระดับมัธยม หรืออะคาเดมี่ และนักฟุตบอลที่ไม่บาดเจ็บขั้นรุนแรง มีระดับคะแนนสูงกว่านักฟุตบอลที่สมรส นักฟุตบอลที่ไม่เคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เล่นที่มีความสามารถพิเศษ (Talent) ในทีมเยาวชนระดับสโมสรหรือระดับชาติ นักฟุตบอลที่ไม่ผ่านประสบการณ์เป็นนักฟุตบอลในสถานศึกษาระดับมัธยม หรืออะคาเดมี่ และนักฟุตบอลที่บาดเจ็บขั้นรุนแรง นอกจากนี้ยังพบว่า นักฟุตบอลในตําแหน่งผู้รักษาประตูมีคะแนนคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพน้อยกว่าผู้เล่นที่มีตําแหน่งอื่นๆ ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางานของนักฟุตบอล มีลักษณะเป็นกองทุนกลางสําหรับนักฟุตบอลอาชีพจากทุกสังกัด 2) ควรขยายการสร้างและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักฟุตบอลโดยตรง 3) ควรมีการส่งเสริมนักฟุตบอลในระดับเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ แต่ไม่มีโอกาสหรือไม่มีทุนทรัพย์ ให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการต่อยอดความสามารถหรือฝึกทักษะกับทีมสโมสรแนวหน้าของประเทศ 4) ควรมีโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพสําหรับนักฟุตบอลที่เลิกเป็นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพแล้ว เพื่อให้มีโอกาสในการพัฒนาตนเองกับเส้นทางอาชีพอื่นItem ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวันของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเบญจพร ประณีตวตกุล; ดุจเดือน พันธุมนาวิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีกรอบแนวคิดพื้นฐานมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวทำนายที่สำคัญของปัจจัยด้านจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 จำนวน 485 คน จากมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วยเพศชาย 166 คน (34.2%) และเพศหญิง 319 คน (65.8%) อายุเฉลี่ย 21 ปี 4 เดือน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นกำหนดโควต้า โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มรวม และใน 18 กลุ่มย่อย ซึ่งแบ่งตามลักษณะชีวสังคมภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มพฤติกรรม 3 ตัวแปร คือ พฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในสถานที่ส่วนบุคคล พฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในที่สาธารณะ และพฤติกรรมสนับสนุนให้เพื่อนมีพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน 2) กลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ 3 ตัวแปร ได้แก่ การเห็นแบบอย่างพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวันจากคนรอบข้าง การรับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน และการรับรู้ข่าวสารด้านการป้องกันการรับและแพร่โรคใน ชีวิตประจำวัน 3) กลุ่มจิตลักษณะเดิม 4 ตัวแปร ได้แก่ การประเมินแก่นแห่งตน ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความรู้ด้านการป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน 4) กลุ่มตัวแปรสถานการณ์ 3 ตัวแปร ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน ความพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน แบบวัดส่วนใหญ่เป็นแบบวัดชนิดมาตรประเมินรวมค่า มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .611 ถึง .831 ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า 1) พฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในสถานที่ส่วนบุคคล ถูกทำนายได้ 41.2 % ในกลุ่มรวม โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การเห็นแบบอย่างพฤติกรรมจากคนรอบข้าง ความพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรม การรับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษา และทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรม 2) พฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในสถานที่สาธารณะ ถูกทำนายได้ 39.2% ในกลุ่มรวม โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ความพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรม การเห็นแบบอย่างพฤติกรรมจากคนรอบข้าง ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน การรับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษา และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 3) พฤติกรรมสนับสนุนให้เพื่อนมีพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน ถูกทำนายได้ 39.2% ในกลุ่มรวม โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การรับรู้ข่าวสาร การเห็นแบบอย่าง พฤติกรรมจากคนรอบข้าง ความพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรม ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรม แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ การประเมินแก่นแห่งตน และการรับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษา และ 4) ผลการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลพบว่า ปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มสถานการณ์ กลุ่มจิตลักษณะเดิม และกลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ มีอิทธิพลทางตรงต่อกลุ่มพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน มีค่าสัมประสิทธิ์การท านาย เท่ากับ 98.0% นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มจิตลักษณะเดิมมีอิทธิพลทางอ้อมไปยังพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .234 ขณะที่ปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มสถานการณ์ มีอิทธิพลทางอ้อมไปยังพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .282 ประการสุดท้าย นักศึกษาที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรพัฒนาอย่างเร่งด่วน ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาเพศ ชาย กลุ่มนักศึกษาที่อายุน้อย และกลุ่มนักศึกษาที่มีพี่น้อง มีปัจจัยปกป้องสำคัญ คือ การเห็นแบบอย่างพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวันจากคนรอบข้าง ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน จากผลการวิจัย ทำให้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อต่อยอดการวิจัย ดังนี้ 1) สามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนาต่อในเชิงทดลองเพื่อสร้างชุดฝึกอบรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาพฤติกรรมป้องกันการ รับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน และ 2) ควรทำวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากหลายแหล่ง นอกเหนือจากการให้กลุ่มตัวอย่างประเมินตนเอง เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน เช่น ใช้การประเมินจากเพื่อน ใช้การประเมินจากบุคคลในครอบครัว ใช้การสังเกตพฤติกรรม เป็นต้นItem ปัญหาการเลี้ยงดูเด็กและการจัดสวัสดิการชุมชนในเมือง: ศึกษากรณี 4 ชุมชนในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานครศรีหทัย วาดวารี; สมศักดิ์ สามัคคีธรรม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการเลี้ยงดูเด็กและการจัดสวัสดิการเด็กในชุมชนเมือง 4 ชุมชน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงดูเด็กของบิดามารดาในชุมชนเมือง 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการเด็กที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนเมือง ด้วยวิธีวิจัยแบบผสมทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลครอบครัวที่มีเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4 ปี ในภาพรวมของทั้ง 4 ชุมชน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเป็นวิธีหลัก โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญทั้ง 4 ชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 26 คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเลี้ยงดูเด็กที่มีข้อจำกัดในอนาคต คือ บ้านรับเลี้ยงเด็กที่บางส่วนเริ่มปิดตัวลงไป เพราะค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กมีราคาสูง อีกทั้งอัตราการเกิดของเด็กในชุมชนที่ลดลง และการเลี้ยงดูเด็กโดยคนในครอบครัว ไม่สามารถตอบสนองข้อจำกัดของครอบครัวในชุมชนเมืองที่ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวเป็นรูปแบบครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ส่วนรูปแบบการเลี้ยงดูเด็กที่มีความเหมาะสมกับครอบครัวในชุมชนเมือง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน มีอาคารสถานที่ที่มั่นคงเป็นสัดส่วนและค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กมีราคาถูก เพราะมีการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการชุมชน ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ แต่มีข้อจำกัดด้านเวลาในการรับส่งเด็กยังไม่สอดคล้องกับการทำงานของผู้ปกครองในชุมชนเมืองและยังขาดบุคลากรที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมาเป็นผู้นำการพัฒนา และบ้านร่วมพัฒนาเด็ก มีการเลี้ยงดูเด็กจำนวนมาก เพื่อให้มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กในราคาถูก ซึ่งรองรับต่อผู้ปกครองภายในชุมชนที่มีรายได้น้อย แต่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่คับแคบและไม่เป็นสัดส่วน ไม่สามารถจดทะเบียนสถานรับเลี้ยงเด็กอย่างเป็นทางการได้ อีกทั้งหน่วยงานและองค์กรที่มีความต้องการให้ความช่วยเหลือเข้าถึงได้ยาก การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้ส่งเสริมเนอร์สเซอรี่ชุมชนที่รวบรวมข้อดีและลดข้อจำกัดของรูปแบบการเลี้ยงดูเด็กในแต่ละชุมชน คือ เนอร์สเซอรี่ชุมชนที่มีการรับเลี้ยงเด็กเล็ก ดำเนินงานภายใต้การก ากับดูแลของคณะกรรมการชุมชน ร่วมประสาน ติดตามและสร้างมาตรฐานการดำเนินงานที่ดี ยืดหยุ่นระยะเวลาการดำเนินงานให้รองรับกับการทำงานของผู้ปกครองในชุมชนเมือง มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กในราคาถูก อีกทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมของชมรมผู้สูงอายุที่สมัครใจเลี้ยงดูเด็กเพื่อหารายได้เสริม และเป็นการสร้างคุณค่าแก่ผู้สูงอายุในการเลี้ยงดูบุตรหลานภายในชุมชนให้เติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพItem การปรับตัวทางวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน: กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีน ย่านเยาวราชภัทรภร สุวรรณจินดา; หลี่ เหรินเหลียง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)การศึกษาเรื่องการปรับตัวทางวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีน ย่านเยาวราช มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาถึงวิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีนผ่านทางขนบธรรมเนียมประเพณี 2) เพื่อศึกษาถึงการปรับตัวทางวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน ในย่านเยาวราช 3) เพื่อศึกษาถึงวิธีการขัดเกลาทางสังคมในระดับครอบครัวของคนไทยเชื้อสายจีนในย่านเยาวราช ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งได้ทําการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปรับตัวทางวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน โดยศึกษาจากการทบทวนเอกสารที่มีความน่าเชื่อถือ ตํารา บทความทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 15 คน ที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในย่านเยาวราช ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่วัยทํางาน จากการศึกษาพบว่า ในรอบ 1 ปี คนไทยเชื้อสายจีนมีเทศกาลที่สําคัญให้ปฏิบัติหลายเทศกาล แต่ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทําให้ให้ทัศนคติ ค่านิยม วิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีนถูกกลืนกลายไปกับสังคมและวัฒนธรรมแบบไทย ส่งผลให้เทศกาลบางอย่างได้เสื่อมสลายลงไปถึงแม้คนไทยเชื้อสายจีนจะยังคงยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบจีนอยู่แต่ก็ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมตามแบบไทย ทั้งนี้คนไทยเชื้อสายจีนสามารถปรับตัวตามสภาพสังคมไทยได้เป็นอย่างดี เศรษฐกิจก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้คนไทยเชื้อสายจีนต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของการไหว้ ครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนจะใช้วิธีการขัดเกลาลูกหลานแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม การขัดเกลาแบบทางตรงนั้นผู้ใหญ่จะใช้วิธีการเล่า อธิบาย สั่งสอนลูกหลานผ่านขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ การขัดเกลาแบบทางอ้อมผู้ใหญ่จะทําให้ลูกหลานดูเป็นตัวอย่าง ช่วงเทศกาลจะเป็นช่วงที่คนไทยเชื้อสายจีนจะได้สั่งสอนลูกหลานผ่านการประกอบพิธีกรรม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลูกหลานได้ซึมซับถึงขนบธรรมเนียมประเพณีแบบจีน และได้ระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วItem ผลของการท่องเที่ยวต่อการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของชุมชนบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตรศศิวิมล คงเถื่อน; หลี่ เหรินเหลียง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)การศึกษาเรื่องผลของการท่องเที่ยวต่อการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของชุมชนบึงสีไฟจังหวัดพิจิตร มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบึงสีไฟ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เมื่อมีการพัฒนาการท่องเที่ยว ตําบลท่าหลวง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบึงสีไฟเพื่อสนองต่อการท่องเที่ยวและ 3) ศึกษาการปรับตัวของชุมชนบึงสีไฟต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนบึงสีไฟ ตําบลท่าหลวง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้การศึกษาโดยการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มแกนนํา ชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้านทั่วไปในเขตพื้นที่ชุมชนและรวมไปถึงผู้ประกอบการทั้งหมด 10-15 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพบว่าการเปลี่ยนแปลงหนึ่งนั้นเป็นผลมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เป็นตัวเร่งทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ทําให้ชุมชนมีการขยายอย่างต่อเนื่อง ระบบโครงสร้างพื้นฐานได้รับการพัฒนา ทางด้านเศรษฐกิจนั้นส่งผลให้รายได้ของประชาชนมีงานทําและมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้รายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้นอีกด้วย ส่วนทางด้านสังคมและวัฒนธรรมนั้นส่งผลให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบบึงสีไฟและประชาชนจังหวัดพิจิตรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทําให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวบึงสีไฟเป็นจํานวนมาก เมื่อการท่องเที่ยวขยายตัวเข้าสู่ชุมชนบึงสีไฟมากขึ้น ส่งผลให้ชุมชนเกิดการขยายตัวของธุรกิจและบริการต่างๆ เพื่อเป็นการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนบึงสีไฟ 3) ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชนบึงสีไฟนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แสภาพของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างลงตัว โดยคนในชุมชนนั้นต้องหาทางออกให้กับตนเองโดยการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพื่อที่จะให้เกิดความสมดุลภายในชุมชนท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป แบบค่อยเป็นค่อยไป มิใช่แบบฉับพลัน จึงทําให้ชุมชนนั้นค่อยๆ ปรับตัวไปตามสภาพของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างลงตัว โดยคนในชุมชนนั้นต้องหาทางออกให้กับตนเองโดยการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพื่อที่จะให้เกิดความสมดุลภายในชุมชนท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปItem วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาเปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ; สุพรรณี ไชยอำพร (สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นใน สังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อศึกษาทัศนะของวัยรุ่นต่อลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่พึงประสงค์ และเพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) เป็นหลักโดยอาศัยกระบวนการและวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key-Informant)และทำการตรวจสอบข้อมูล โดยใช้เทคนิคสามเส้า (Triangulation Technique)