• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กของชุมชน : ศึกษากรณีโครงการฝายน้ำล้นบ้านผาสุข

by บุญเกิด วงษ์ชัย

Title:

การจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กของชุมชน : ศึกษากรณีโครงการฝายน้ำล้นบ้านผาสุข

Other title(s):

Small scale community irrigation management : a case study of Ban Par-Suk

Author(s):

บุญเกิด วงษ์ชัย

Advisor:

สุพรรณี ไชยอำพร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์และการวางแผนทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาการจัดการการส่งน้ำขนาดเล็กของชุมชน มีแนวคิดพื้นฐานของการศึกษา คือ การจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กของชุมชนนับเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งที่มีกระบวนการดำรงอยู่ด้วยการกระทำหน้าที่ของตนเอง และปฏิสัมพันธ์กับระบบย่อยระบบอื่น ๆ ภายในชุมชน และสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้มีความสอดคล้องระหว่างกันในการกระทำหน้าที่ของแต่ละระบบย่อย จึงจะทำให้การจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กของชุมชนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายสูงสุด
วิธีการศึกษา งานวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ ในการจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กของชุมชน และปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กของชุมชนด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึก จากนั้นนำข้อมูลมาตีความสร้างข้อสรุปด้วยวิธีนิรนัย ระยะเวลาที่ใช้ศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2535.
ผลการศึกษา พบว่าการจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กของชุมชนในโครงการฝายน้ำล้นบ้านผาสุกได้บรรลุเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ ทั้งสิ้น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ และการทำกิจกรรมต่อเนื่อง โดยประชาชนและองค์กรประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องตามความเหมาะสม
ปัจจัยที่สนันสนุนการจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กของชุมชนจนกระทั่งประสบผลสำเร็จพบว่ามี 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพของชุมชน ลักษณะโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วยสภาพทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ค่านิยมและพฤติกรรมเด่น ๆ สภาพการปกครอง สภาพทางการศึกษา สุขภาพอนามัย และการสื่อสาร ผู้นำ องค์กรผู้ใช้น้ำ ลักษณะการจัดการประกอบด้วย การสนับสนุนขององค์กรของรัฐ ประสบการณ์การจัดการน้ำ กฎและการปฏิบัติ และลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิก
ในแง่ของปัญหาหรืออุปสรรคในการจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กของชุมชน พบว่าไม่รุนแรง เป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่สามารถแก้ไขกันได้เองในระหว่างการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนด้วยความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้เกี่ยวข้อง.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

แหล่งน้ำ
เกษตรกรรม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

8, 98 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1744
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b7007ab.pdf ( 115.35 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b7007.pdf ( 2,131.79 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×