การตระหนักในนโยบายพรรคการเมืองของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช) ในจังหวัดอุดรธานี : ศึกษากรณีพรรคความหวังใหม่
Publisher
Issued Date
1994
Issued Date (B.E.)
2537
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
10, 177 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ศิริวรรณ ประเศรษฐานนท์ (1994). การตระหนักในนโยบายพรรคการเมืองของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช) ในจังหวัดอุดรธานี : ศึกษากรณีพรรคความหวังใหม่. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1746.
Title
การตระหนักในนโยบายพรรคการเมืองของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช) ในจังหวัดอุดรธานี : ศึกษากรณีพรรคความหวังใหม่
Alternative Title(s)
Awareness of policy statements of a political party among primary school teachers in Udorntanee Province : a case study of New Aspiration Party
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้:- (1) สำรวจหาพรรคการเมืองที่ประชาชนนิยมมากที่สุด (2) ศึกษาการตระหนักในนโยบายพรรคการเมืองของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) ที่มีต่อพรรคที่ประชาชนนิยมมากที่สุด (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองกับการตระหนักในนโยบายพรรคการเมือง ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) (4) เพื่อศึกษาถึงเหตุผลในการไปลงคะแนนเสียงของประชาชนในการเลือกตั้ง ในวันที่ 22 มีนาคม 2535 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ
จากการสำรวจความนิยมของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จำนวน 7,841 ราย พบว่า พรรคการเมืองที่ประชาชนนิยมมากที่สุด ได้แก่ พรรคความหวังใหม่ เมื่อทราบพรรคการเมืองที่ประชาชนนิยมมากที่สุดแล้ว ผู้วิจัยได้สอบถามครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ตกเป็นตัวอย่าง จำนวน 77 คน พบว่า ครูมีการตระหนักในนโยบายพรรคการเมืองของพรรคความหวังใหม่ค่อนข้างสูง เมื่อทราบระดับการตระหนักในนโยบายของพรรคการเมืองของครูแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง กับความตระหนักในนโยบายพรรคความหวังใหม่ พบว่า ตัวแปรที่กล่าวมานี้ ไม่มีความสัมพันธ์อย่างใดกับความตระหนักในนโยบายพรรคความหวังใหม่ คำอธิบายเป็นเพราะครูทุกคนมีระดับการตระหนักในนโยบายพรรคการเมืองสูง จึงทำให้ไม่พบความแปรผันตามระดับตัวแปรตามแต่อย่างใด
จากการสุ่มตัวอย่างประชาชน 125 คน ทำให้ได้ข้อค้นพบที่น่าสนใจว่า การไปเลือกตั้งของประชาชนนั้นมิได้คำนึงถึงนโยบายพรรคการเมืองแต่อย่างใด แต่คำนึงตัวบุคคลผู้สมัครเป็นใหญ่ แนวความคิดที่จะให้ประชาชนเลือกเป็นพรรค และพรรคสรรหาผู้สมัครที่ดีเพื่อเป็นการพัฒนาระบอบการเมืองของไทย จึงยากที่จะนำไปปฏิบัติได้สำเร็จ
จากการสำรวจความนิยมของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จำนวน 7,841 ราย พบว่า พรรคการเมืองที่ประชาชนนิยมมากที่สุด ได้แก่ พรรคความหวังใหม่ เมื่อทราบพรรคการเมืองที่ประชาชนนิยมมากที่สุดแล้ว ผู้วิจัยได้สอบถามครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ตกเป็นตัวอย่าง จำนวน 77 คน พบว่า ครูมีการตระหนักในนโยบายพรรคการเมืองของพรรคความหวังใหม่ค่อนข้างสูง เมื่อทราบระดับการตระหนักในนโยบายของพรรคการเมืองของครูแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง กับความตระหนักในนโยบายพรรคความหวังใหม่ พบว่า ตัวแปรที่กล่าวมานี้ ไม่มีความสัมพันธ์อย่างใดกับความตระหนักในนโยบายพรรคความหวังใหม่ คำอธิบายเป็นเพราะครูทุกคนมีระดับการตระหนักในนโยบายพรรคการเมืองสูง จึงทำให้ไม่พบความแปรผันตามระดับตัวแปรตามแต่อย่างใด
จากการสุ่มตัวอย่างประชาชน 125 คน ทำให้ได้ข้อค้นพบที่น่าสนใจว่า การไปเลือกตั้งของประชาชนนั้นมิได้คำนึงถึงนโยบายพรรคการเมืองแต่อย่างใด แต่คำนึงตัวบุคคลผู้สมัครเป็นใหญ่ แนวความคิดที่จะให้ประชาชนเลือกเป็นพรรค และพรรคสรรหาผู้สมัครที่ดีเพื่อเป็นการพัฒนาระบอบการเมืองของไทย จึงยากที่จะนำไปปฏิบัติได้สำเร็จ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.