• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าไม้ : ศึกษาเฉพาะกรณีป่าชุมชนบ้านห้วยแก้ว อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

by ศลิษา พึ่งแสงแก้ว

Title:

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าไม้ : ศึกษาเฉพาะกรณีป่าชุมชนบ้านห้วยแก้ว อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

Other title(s):

People participation in forest conservation : a case study of Ban Hauy Kaew community forest, Amphoe San Kam Paeng, Changwat Chiang Mai

Author(s):

ศลิษา พึ่งแสงแก้ว

Advisor:

ฉลาดชาย รมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1994

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาของป่าชุมชนบ้านห้วยแก้ว (2) พัฒนาการของการต่อสู้ของชาวบ้านห้วยแก้วและชาวบ้านแม่เตาดิน เพื่อให้ได้ป่าชุมชนกลับคืนมา (3) กระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้านห้วยแก้วและบ้านเตาดินในกิจกรรมป่าชุมชน
ในการศึกษาพัฒนาการต่อสู้เพื่อให้ได้ป่าชุมชน แยกพิจารณาตามช่วงเวลาเป็น 4 ยุค 1) ยุคบุกเบิกหรือยุคตั้งถิ่นฐาน 2) ยุคสัมปทานทำไม้ 3) ยุคการแตกสลายของระบบนิเวศ 4) ยุคแสวงหาความชอบธรรมและความเป็นธรรม ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม เก็บข้อมูลเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ นำเสนอในรูปการพรรณา.
สำหรับการศึกษากระบวนการ การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในกิจกรรมป่าชุมชนยึดหลักขั้นตอนการมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน คือ 1) การมีส่วนร่วมในการค้นหาป้ญหาและสาเหตุ 2) การมีส่วนร่วมในการวางแผน 3) การมีส่วนร่วมในการลงทุนและปฏิบัติ 4) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยแบบสอบถาม เก็บข้อมูลเป็นข้อมูลเชิงปริมาณนำเสนอในรูปตารางร้อยละและค่าเฉลี่ย.
ผลการวิเคราะห์ที่ได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพจะนำมายืนยันและอธิบายซึ่งกันและกัน ไม่แยกจากกันโดยสิ้นเชิง.
ผลการศึกษา พบว่า.
1. ป่าชุมชนบ้านห้วยแก้ว ชาวบ้านแม่เตาดินและบ้านห้วยแก้วได้อาศัยพึ่งพิงป่าในการดำรงชีวิตมาเป็นเวลานาน ซึ่งชาวบ้านทั้งสองหมู่บ้านได้รักษาป่าบนพื้นฐานความเชื่อในเรื่องการนับถือผี ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจในการรักษาป่า ขณะเดียวกันชาวบ้านก็ยึดถือป่าว่าเป็นสิทธิร่วมกันของชุมชนไม่ใช่ของหลวง ชาวบ้านทุกคนจึงมีสำนึกร่วมกันถึงสิทธิและหน้าที่ในการจัดการและใช้ประโยชน์จากป่าไปพร้อม ๆ กัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ชาวบ้านก็พยายามปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการพัฒนาของชุมชนอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ชาวบ้านสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ตลอดไป.
2. พัฒนาการต่อสู้ของชาวบ้านเพื่อให้ได้ป่าชุมชนกลับคืนมานั้น จะพบว่าชาวบ้านจะใช้วิธีการหลายรูปแบบผสมผสานกับในแต่ละยุคแตกต่างกันไปได้แก่ (1) ยุคบุกเกิดชาวบ้านอาศัยความเชื่อในเรื่องผีและสิทธิตามประเพณีในการจัดการป่า (2) ในยุคการแตกสลายของระบบนิเวศ ชาวบ้านก็มีการใช้ป่าในเชิงพาณิชย์มีการจัดการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ พยายามสร้างระบเกษตรที่ถาวร และมีการเปลี่ยนแปลงเมล็ดพันธุ์ (4) ในยุคแสวงหาความชอบธรรมและความเป็นธรรม ชาวบ้านมีการร้องเรียนต่ออำนาจรัฐในระดับท้องถิ่น และระดับที่สูงกว่า ร้องขอความเป็นธรรมต่อกลุ่มพลังต่าง ๆ และมีการใช้พลังมวลชนกดดัน
3. กระบวนการการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ใน 4 ขั้นตอนนั้น ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่าชาวบ้านจะมีส่วนร่วมน้อย แต่การศึกษาเชิงคุณภาพยืนยันได้ว่า ทั้ง 4 ขั้นตอนชาวบ้านมีส่วนร่วมอย่างมาก แต่เพราะชาวบ้านจะมีส่วนร่วมแบบไม่เป็นทางการเป็นส่วนมาก จึงทำให้ไม่สามารถวัดด้วยข้อมูลเชิงประมาณได้

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.

Subject(s):

การอนุรักษ์ป่าไม้ -- ไทย -- เชียงใหม่

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

16, 455 แฟ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1755
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9383ab.pdf ( 148.75 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9383.pdf ( 9,120.47 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×