ประสิทธิผลการปฏิบัติตามนโยบายรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยขององค์กรกลาง : กรณีวิจัยปฏิบัติการ : ศึกษาเฉพาะโครงการปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตยชาวชนบทไทยเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช
Publisher
Issued Date
1994
Issued Date (B.E.)
2537
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[15], 145 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุภาพร เกียรติบัณฑิต (1994). ประสิทธิผลการปฏิบัติตามนโยบายรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยขององค์กรกลาง : กรณีวิจัยปฏิบัติการ : ศึกษาเฉพาะโครงการปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตยชาวชนบทไทยเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1769.
Title
ประสิทธิผลการปฏิบัติตามนโยบายรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยขององค์กรกลาง : กรณีวิจัยปฏิบัติการ : ศึกษาเฉพาะโครงการปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตยชาวชนบทไทยเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช
Alternative Title(s)
Theeffectiveness of policy implementation of information democratic campaign of the Poll Watch Committee, a case of action research : the Democratic Concloustization of Rural Thai People Project, Election Area C Nakornsrithammarath Province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เป้าหมายที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรคือ ต้องการให้การเลือกตั้งมีความสุจริต บริสุทธิ์และยุติธรรม จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่เป็นผู้ตรวจสอบซึ่งมีลักษณะเป็นกลางหรือเรียกว่า "องค์กรกลาง" ทำหน้าที่สอดส่องดูแลการเลือกตั้ง รณรงค์ เผยแพร่และปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตย ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของการเลือกตั้งอย่างแท้จริง.
วัตถุประสงค์หลัก ในการวิจัยหลักการเรื่องนี้ ก็เพื่อประเมินประสิทธิผล การปฏิฺบัติตามนโยบายรณรงค์และเผยแพร่ประชาธิปไตยขององค์กรกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สื่อวีดิทัศน์ของโครงการปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตยชาวชนบทไทย ที่ให้สาระ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องความสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน ในเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีส่วนร่วมทางการเมือง ด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 13 กันยายน 2535.
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กล่าวคือ ในเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาโดยเน้นการปฏิบัติการในพื้นที่ของผู้วิจัยโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสังเกตพฤติกรรม การบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันของผู้วิจัย ตลอดจนการศึกษาจากเอกสาร แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ส่วนการศึกษาเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติวิเคราะห์
ในการเก็บข้อมูลใช้เวลาก่อนการเลือกตั้งเป็นเวลา 1 เดือน (12 สิงหาคม 2535 ถึง 13 กันยายน 2535) โดยแบ่งช่วงเวลาการรณรงค์และเผยแพร่ประชาธิปไตยเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรก เป็นการรณรงค์ เผรแพร่และปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตยด้วยสื่อวีดิทัศน์ประกอบกับการแจกแผ่นปลิวของ ห.ม.ก. กรณีให้รางวัลนำจับแก่ผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตการเลือกตั้ง และช่วงที่สองเป็นการรณรงค์ เผยแพร่และปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตยเพื่อการตอกย้ำให้กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งตามหลักการประชาธิปไตย รวมทั้งการแจ้งเดือนผู้ที่ส่อแววทุจริตการเลือกตั้ง ให้หยุดพฤิตกรรมการซื้อสิทธิขายเสียง ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายขององค์กรกลางมีมาตรการลงโทษผู้ส่อแววทุจริตอย่างจริงจัง.
ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนเกือบทั้งหมดไม่เข้าใจสื่อคิดเป็นร้อยละ 90.5 และไม่เข้าใจประชาธิปไตยคิดเป็นร้อยละ 96.2 เนื่องจากสื่อวีดิทัศน์ไม่มีประสิทธิผลและหรือสื่อไม่มีผลโดยตรงต่อการไปใช้สิทธิของประชาชน เขตเลือกตั้ง ค.จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การไปใช้สิทธิไม่แตกต่างจากครั้งที่แล้ว.
จึงอาจกล่าวได้ว่า ผลการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยขององค์กรกลาง ยังเป็นลักษณะของการใช้คนที่ไม่รู้กลโกง (การเลือกตั้ง) ไปจับคนโกง (การเลือกตั้ง) ซึ่งก็ไม่ได้ผลอะไรมากนัก ทั้งนี้ เนื่องจากในทางปฏิบัติ หากมีการทุจริตในการเลือกตั้งเกิดขึ้น องค์กรกลางดังกล่าวจะไม่สามารถเอาผิดกับบุคคลซึ่งกระทำการทุจริตได้ทันที เพราะในระเบียบที่จัดตั้งองค์กรกลาง ไม่ได้ให้อำนาจ เพียงแต่ทำการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เมื่อเห็นว่า มีมูลก็จะประชุมคณะกรรมการศสล.ตรวจสำนวนแล้วส่งให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดจะตั้งสำนวนเอาผิดหรือไม่เอาผิดก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จึงไม่ปรากฎว่า มีคดีที่มีมูลในการกระทำการทุจริตถูกนำมาฟ้องร้อง จึงเป็นผลทำให้เทคโนโลยีการทุจริตการเลือกตั้งมีความสลับซับซ้อน ยากแก่การจับผิดและแยบยลมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะ องค์กรกลางที่ทำหน้าที่สอดส่องดูแลการเลือกตั้งของไทยมีพื้นฐานการก่อเกิดมาจากผู้ที่ไม่เข้าใจถึงกระบวนการทุจริต และไม่สามารถวิเคระห์ปัญหา รูปแบบ องค์กรและการจัดการในเรื่องนี้ได้ว่า ควรจะทำอย่างไร เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง กระบวนการตรวจสอบจากองค์กรอิสระต่าง ๆ รวมทั้งข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ตั้งแต่การจัดทำทะเบียนผู้มีสิทธิไปจนถึงเจ้าหน้าที่ที่นับคะแนน จึงเป็นผลทำให้องค์กรกลางที่ตั้งขึ้นพบกับความล้มเหลว ทั้งในด้านเป้าหมายและวิธีการ แต่ถึงแม้ว่า องค์กรกลาง หรือ การรณรงค์ เผยแพร่ประชาธิปไตยด้วยสื่อวีดิทัศน์ของโครงการปลกจิตสำนึกประชาธิปไตย จะเป็นเพียงแค่สิ่งแวดล้อมของระบบทุจริตการเลือกตั้ง ที่มีผลในการสร้างผลกระทบเข้าสู่ระบบทุจริตเลือกตั้งให้เกิดความรู้สึกว่า อย่างน้อยยังมีคนสนใจ ติดตาม สอดส่อง ดูแลปัญหาการเลือกตั้งอันเป็นกลไกส่วนสำคัญของประชาธิปไตยในสังคมไทยได้ส่วนหนึ่ง กรณีเช่นนี้ จึงน่าจะมีการศึกษาการปฏิบัติงานขององค์กรกลางในประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ว่า มีรูปแบบวิธีการดำเนินงานและการจัดตั้งองค์กรอย่างไร.
วัตถุประสงค์หลัก ในการวิจัยหลักการเรื่องนี้ ก็เพื่อประเมินประสิทธิผล การปฏิฺบัติตามนโยบายรณรงค์และเผยแพร่ประชาธิปไตยขององค์กรกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สื่อวีดิทัศน์ของโครงการปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตยชาวชนบทไทย ที่ให้สาระ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องความสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน ในเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีส่วนร่วมทางการเมือง ด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 13 กันยายน 2535.
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กล่าวคือ ในเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาโดยเน้นการปฏิบัติการในพื้นที่ของผู้วิจัยโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสังเกตพฤติกรรม การบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันของผู้วิจัย ตลอดจนการศึกษาจากเอกสาร แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ส่วนการศึกษาเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติวิเคราะห์
ในการเก็บข้อมูลใช้เวลาก่อนการเลือกตั้งเป็นเวลา 1 เดือน (12 สิงหาคม 2535 ถึง 13 กันยายน 2535) โดยแบ่งช่วงเวลาการรณรงค์และเผยแพร่ประชาธิปไตยเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรก เป็นการรณรงค์ เผรแพร่และปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตยด้วยสื่อวีดิทัศน์ประกอบกับการแจกแผ่นปลิวของ ห.ม.ก. กรณีให้รางวัลนำจับแก่ผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตการเลือกตั้ง และช่วงที่สองเป็นการรณรงค์ เผยแพร่และปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตยเพื่อการตอกย้ำให้กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งตามหลักการประชาธิปไตย รวมทั้งการแจ้งเดือนผู้ที่ส่อแววทุจริตการเลือกตั้ง ให้หยุดพฤิตกรรมการซื้อสิทธิขายเสียง ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายขององค์กรกลางมีมาตรการลงโทษผู้ส่อแววทุจริตอย่างจริงจัง.
ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนเกือบทั้งหมดไม่เข้าใจสื่อคิดเป็นร้อยละ 90.5 และไม่เข้าใจประชาธิปไตยคิดเป็นร้อยละ 96.2 เนื่องจากสื่อวีดิทัศน์ไม่มีประสิทธิผลและหรือสื่อไม่มีผลโดยตรงต่อการไปใช้สิทธิของประชาชน เขตเลือกตั้ง ค.จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การไปใช้สิทธิไม่แตกต่างจากครั้งที่แล้ว.
จึงอาจกล่าวได้ว่า ผลการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยขององค์กรกลาง ยังเป็นลักษณะของการใช้คนที่ไม่รู้กลโกง (การเลือกตั้ง) ไปจับคนโกง (การเลือกตั้ง) ซึ่งก็ไม่ได้ผลอะไรมากนัก ทั้งนี้ เนื่องจากในทางปฏิบัติ หากมีการทุจริตในการเลือกตั้งเกิดขึ้น องค์กรกลางดังกล่าวจะไม่สามารถเอาผิดกับบุคคลซึ่งกระทำการทุจริตได้ทันที เพราะในระเบียบที่จัดตั้งองค์กรกลาง ไม่ได้ให้อำนาจ เพียงแต่ทำการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เมื่อเห็นว่า มีมูลก็จะประชุมคณะกรรมการศสล.ตรวจสำนวนแล้วส่งให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดจะตั้งสำนวนเอาผิดหรือไม่เอาผิดก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จึงไม่ปรากฎว่า มีคดีที่มีมูลในการกระทำการทุจริตถูกนำมาฟ้องร้อง จึงเป็นผลทำให้เทคโนโลยีการทุจริตการเลือกตั้งมีความสลับซับซ้อน ยากแก่การจับผิดและแยบยลมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะ องค์กรกลางที่ทำหน้าที่สอดส่องดูแลการเลือกตั้งของไทยมีพื้นฐานการก่อเกิดมาจากผู้ที่ไม่เข้าใจถึงกระบวนการทุจริต และไม่สามารถวิเคระห์ปัญหา รูปแบบ องค์กรและการจัดการในเรื่องนี้ได้ว่า ควรจะทำอย่างไร เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง กระบวนการตรวจสอบจากองค์กรอิสระต่าง ๆ รวมทั้งข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ตั้งแต่การจัดทำทะเบียนผู้มีสิทธิไปจนถึงเจ้าหน้าที่ที่นับคะแนน จึงเป็นผลทำให้องค์กรกลางที่ตั้งขึ้นพบกับความล้มเหลว ทั้งในด้านเป้าหมายและวิธีการ แต่ถึงแม้ว่า องค์กรกลาง หรือ การรณรงค์ เผยแพร่ประชาธิปไตยด้วยสื่อวีดิทัศน์ของโครงการปลกจิตสำนึกประชาธิปไตย จะเป็นเพียงแค่สิ่งแวดล้อมของระบบทุจริตการเลือกตั้ง ที่มีผลในการสร้างผลกระทบเข้าสู่ระบบทุจริตเลือกตั้งให้เกิดความรู้สึกว่า อย่างน้อยยังมีคนสนใจ ติดตาม สอดส่อง ดูแลปัญหาการเลือกตั้งอันเป็นกลไกส่วนสำคัญของประชาธิปไตยในสังคมไทยได้ส่วนหนึ่ง กรณีเช่นนี้ จึงน่าจะมีการศึกษาการปฏิบัติงานขององค์กรกลางในประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ว่า มีรูปแบบวิธีการดำเนินงานและการจัดตั้งองค์กรอย่างไร.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.