• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนางานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสระบุรี

by สำเริง แพงหลวง

Title:

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนางานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสระบุรี

Other title(s):

Factors affecting rural environmental sanitation development : a case study of Saraburi Province

Author(s):

สำเริง แพงหลวง

Advisor:

วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1994

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนางานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัย โดยมุ่งเน้นศึกษาปัจจัยด้านภูมิหลังของเจ้าหน้าที่ ปัจจัยด้านการบริหารงานในระบบราชการ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของชุมชนและประชาชน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารสุขประจำสถานีอนามัยที่รับผิดชอบงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในจังหวัดสระบุรี จำนวน 118 คน และข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการเก็บรวบรวมจากแบบสอบถาม และข้อมูลจากรายงานสุขาภิบาลประจำปี 2535 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ การทดสอบไคสแคว์ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้
จากการศึกษาพบว่า ผลการดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อทั้ง 7 กิจกรรมของจังหวัดสระบุรีในปี 2535 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงและปานกลางร้อยละ 47.5 และ 36.4 ตามลำดับ และในด้านปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อการพัฒนางานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม พบว่า ปัจจัยด้านการบริหารในระบบราชการ คือการใช้หลักการแบ่งงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของชุมชนและประชาชน คือฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชน และความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
จากผลการศึกษา ทำให้มีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก ควรกำหนดให้มีการแบ่งงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของแต่ละสถานีอนามัยให้ชัดเจน ประการที่สอง ควรจัดสรรงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์สนับสนุน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติงานทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่ยิ่งขึ้น เช่น การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับยานพาหนะในการเดินทาง และการจัดให้เจ้าหน้าที่สามารถพักอาศัยอยู่ในท้องที่ที่ปฏิบัติงานได้

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.

Subject(s):

อนามัยสิ่งแวดล้อม -- สระบุรี
สุขาภิบาลชนบท

Resource type:

Thesis

Extent:

9, 133 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Access rights:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1771
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
nida-ths-b9382.pdf ( 2,456.91 KB )

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
nida-ths-b9382ab.pdf ( 98.98 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [522]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×