ลักษณะทางพุทธศาสนาและลักษณะทางจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี
Publisher
Issued Date
1997
Issued Date (B.E.)
2540
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
9, 114 แผ่น ; 30 ซม
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
รุ้งสวรรค์ วรรณสุทธิ์ (1997). ลักษณะทางพุทธศาสนาและลักษณะทางจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1778.
Title
ลักษณะทางพุทธศาสนาและลักษณะทางจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี
Alternative Title(s)
Buddhist and psychosocial characteristics affected to working behaviors of students of the Rajamangala Institute of Technology, Pathumthani campus
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษา ลักษณะทางพุทธศาสนา และลักษณะทางจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางชีวสังคม กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา 3) เพื่อศึกษาว่า ลักษณะทางพุทธศาสนา และลักษณะทางจิตสังคมของนักศึกษา ที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษาหรือไม่ / ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับชั้น ปวช. และ ปวส. หรือเทียบเท่าของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี จำนวน 165 คน เป็นนักศึกษาระดับ ปวช. จำนวน 82 คน และระดับ ปวส.หรือเทียบเท่า จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1) แบบสอบถามลักษณะทางชีวสังคม ส่วนที่ 2) แบบวัดลักษณะทางพุทธศาสนา ส่วนที่ 3) แบบวัดลักษณะทางจิตสังคม ได้แก่ แบบวัดความเชื่ออำนาจในตน แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดทัศนคติต่ออาชีพการเกษตร แบบวัดการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและ ส่วนที่ 4) แบบวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติงานหรือการฝึกปฏิบัติงานเกษตรของนักศึกษา ซึ่งครอบคลุมพฤติกรรม 5 ด้าน คือพฤติกรรมตรงต่อเวลา พฤติกรรมเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้สอน พฤติกรรมในการปฏิบัติงานเกษตรเพื่อส่วนรวม พฤติกรรมในการปฏิบัติงานเกษตรจนสำเร็จเป็นอย่างดี และพฤติกรรมในการวางแผนการปฏิบัติงานเกษตร แบบวัดพฤติกรรมดังกล่าว มีลักษณะของมาตรประเมินค่า (Rating scale) มีคำตอบให้เลือก 5 ระดับ คือ ปฏิบัติทุกครั้ง ปฏิบัติบ่อย ปฏิบัติค่อนข้างบ่อย ปฏิบัติน้อยครั้ง และไม่เคยปฏิบัติเลย แบบวัดนี้ได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเฉพาะหน้า (Face validity) และมีค่า ความเชื่อถือได้ (Reliability) ของแบบวัดอยู่ในเกณฑ์สูง (ค่า Alpha coefficient เท่ากับ .81) / ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้ / 1. พฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติค่อนข้างบ่อย (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.57) และเมื่อพิจารณาในพฤติกรรมย่อย พบว่า พฤติกรรมในการตรงต่อเวลา และพฤติกรรมเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้สอน อยู่ในระดับปฏิบัติบ่อย (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 และ 4.01 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมในการวางแบบแผนการปฏิบัติงานเกษตร และพฤติกรรมการปฏิบัติงานเกษตรเพื่อส่วนรวม อยู่ในระดับปฏิบัติค่อนข้างบ่อย (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.09 และ 3.00 ตามลำดับ) / 2. ลักษณะทางชีวสังคมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน คือ ระดับชั้นการศึกษา โดยพบว่า นักศึกษาระดับ ปวส. มีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานดีกว่านักศึกษาระดับ ปวช. อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 / 3. ลักษณะทางพุทธศาสนาและลักษณะทางจิตสังคม ได้แก่ ความเชื่ออำนาจในตนแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทัศนคติต่ออาชีพการเกษตร และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.01 / นอกจากนี้ ยังพบว่า ลักษณะทางพุทธศาสนา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับลักษณะทางจิตสังคม ได้แก่ ความเชื่ออำนาจในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทัศนคติต่ออาชีพการเกษตรและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 / ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เข้าใจพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี และมีแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา เป็นต้นว่า ควรเสริมสร้างในเรื่องของการปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม และ เรื่องของการวางแผนในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ควรพัฒนาและเสริมสร้างลักษณะทางพุทธศาสนา และลักษณะทางจิตสังคม โดยเฉพาะ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แก่นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษามีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานที่ดียิ่งขึ้นเป็นทั้งคนดีและคนเก่ง อันจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ
The study was made for three main objectives : (1) to reveal the working behaviors of the students, (2) to determine the relationship between the biosocial characteristics and their working behaviors, and (3) to find out whether Buddhist and psychosocial characteristics affected their working behaviors. / The data were collected from 165 students at the Rajamangala Institute of Technology : 82 vocational students and 83 higher-certificate vocational students. The questionnaire had 4 parts. The first part dealt with the bio-social characteristics. The second part drew out the subjects' Buddhist characteristics. The third part measured their psychosocial characteristics, i.e., self-assertion, ambition, attitude toward agricultural occupations, and social support acknowledgement. The fourth part measured the students' working behaviors or agricultural work practice, which covered 5 behavioral aspects : punctuality, obedience, work for the public benefit, achievement of agricultural work and agricultural planning. A 5-point rating scale was used : every time, often, rather often, rarely, never. The questionnaire had been examined for its face validity. The working behavior scale was tested for its reliability and it had an alpha coefficient of.81 / Results / 1. As a whole, the students' behaviors were found to be quite often (mean = 3.57). When each behavior was considered, it was found that they were often punctual and obedient (mean = 4.02 and 4.01, respectively). The behavior of agricultural planning and working for the public benefit were found to be rather often (mean = 3.09 and 3.00, repectively). / 2. The bio-social characteristics were significantly related to their working behaviors at the .001 level. The higher-certificate vocational students were found to have better working behaviors than their counterparts. / 3. The Buddhist and psychosocial characteristics (i.e., self-assertion, ambition, attitude toward agricultural occupations, and social support acknowledgement) were found to have a positive relationship with the students' working behaviors at the .01 level. / Besides, it was found that the Buddhist characteristic had a positive relationship with the psychosocial characteristics at the .001 level. These characteristics were self-assertion, ambition, attitude toward agricultural occupations, and social support acknowledgment. / The study results gave and insight to the working behaviors of the students at the Rajamangala Institute of Technology, Pathumthani Campus. The researcher recommended that the students be trained to work for the public benefits, and to make working plans. They should also be developed in terms of Buddhist and psychosocial characteristics so that they would be ambitious to become good citizens with high capability. This, in turn, would benefit the country as a whole.
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 / 3. ลักษณะทางพุทธศาสนาและลักษณะทางจิตสังคม ได้แก่ ความเชื่ออำนาจในตนแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทัศนคติต่ออาชีพการเกษตร และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.01 / นอกจากนี้ ยังพบว่า ลักษณะทางพุทธศาสนา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับลักษณะทางจิตสังคม ได้แก่ ความเชื่ออำนาจในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทัศนคติต่ออาชีพการเกษตรและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 / ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เข้าใจพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี และมีแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา เป็นต้นว่า ควรเสริมสร้างในเรื่องของการปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม และ เรื่องของการวางแผนในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ควรพัฒนาและเสริมสร้างลักษณะทางพุทธศาสนา และลักษณะทางจิตสังคม โดยเฉพาะ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แก่นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษามีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานที่ดียิ่งขึ้นเป็นทั้งคนดีและคนเก่ง อันจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ
The study was made for three main objectives : (1) to reveal the working behaviors of the students, (2) to determine the relationship between the biosocial characteristics and their working behaviors, and (3) to find out whether Buddhist and psychosocial characteristics affected their working behaviors. / The data were collected from 165 students at the Rajamangala Institute of Technology : 82 vocational students and 83 higher-certificate vocational students. The questionnaire had 4 parts. The first part dealt with the bio-social characteristics. The second part drew out the subjects' Buddhist characteristics. The third part measured their psychosocial characteristics, i.e., self-assertion, ambition, attitude toward agricultural occupations, and social support acknowledgement. The fourth part measured the students' working behaviors or agricultural work practice, which covered 5 behavioral aspects : punctuality, obedience, work for the public benefit, achievement of agricultural work and agricultural planning. A 5-point rating scale was used : every time, often, rather often, rarely, never. The questionnaire had been examined for its face validity. The working behavior scale was tested for its reliability and it had an alpha coefficient of.81 / Results / 1. As a whole, the students' behaviors were found to be quite often (mean = 3.57). When each behavior was considered, it was found that they were often punctual and obedient (mean = 4.02 and 4.01, respectively). The behavior of agricultural planning and working for the public benefit were found to be rather often (mean = 3.09 and 3.00, repectively). / 2. The bio-social characteristics were significantly related to their working behaviors at the .001 level. The higher-certificate vocational students were found to have better working behaviors than their counterparts. / 3. The Buddhist and psychosocial characteristics (i.e., self-assertion, ambition, attitude toward agricultural occupations, and social support acknowledgement) were found to have a positive relationship with the students' working behaviors at the .01 level. / Besides, it was found that the Buddhist characteristic had a positive relationship with the psychosocial characteristics at the .001 level. These characteristics were self-assertion, ambition, attitude toward agricultural occupations, and social support acknowledgment. / The study results gave and insight to the working behaviors of the students at the Rajamangala Institute of Technology, Pathumthani Campus. The researcher recommended that the students be trained to work for the public benefits, and to make working plans. They should also be developed in terms of Buddhist and psychosocial characteristics so that they would be ambitious to become good citizens with high capability. This, in turn, would benefit the country as a whole.
Table of contents
Description
Methodology: T test, Pearson product moment correlation
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2540.
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2540.