อุดมการของชาวนาในการต่อรอง : ศึกษาเฉพาะกรณีสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
Publisher
Issued Date
1991
Issued Date (B.E.)
2534
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
19, 266 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุพิตา เริงจิต (1991). อุดมการของชาวนาในการต่อรอง : ศึกษาเฉพาะกรณีสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1784.
Title
อุดมการของชาวนาในการต่อรอง : ศึกษาเฉพาะกรณีสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
Alternative Title(s)
Peasant ideology of collective bargaining : a case study of Sanpatong Onion Growers Co-operative, Chiang Mai
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องอุดมการในการต่อรองของชาวนา : ศึกษาเฉพาะกรณีสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ มุ่งที่จะทำความเข้าใจกับบทบาทของอุดมการใน ฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการต่อรองของชาวนา ซึ่งแสดงออกในการรักษาผลประโยชน์จากการผลิต และวิเคราะห์ถึงกระบวนการ การผลิตและผลิตซ้ำอุดมการในการต่อรอง ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยและเงื่อนไขที่ขัดขวาง และเกื้อหนุนต่อการรวมกลุ่มของชาวนา โดยอาศัยกรอบคิดเกี่ยวกับอุดมการการผลิตและ การผลิตซ้ำทางอุดมการในการวิเคราะห์ ตีความ ปรากฏการณ์ในพื้นที่ โดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยา ในการศึกษา ประกอบด้วย การเข้าไปสังเกตการณ์ในพื้นที่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข่าวสารที่สำคัญ การสัมภาษณ์แบบ ไม่มีโครงร่าง คำถามชาวบ้านโดยทั่วไป.
ผลจากการศึกษาพบว่า อุดมการเดิมของชาวนาคือ อุดมการแบบอุปถัมภ์ และอุดมการทุนนิยมเป็นอุปสรรคสำคัญในการต่อรองของชาวนาในรูปสหกรณ์ ในขณะที่อุดมการสหกรณ์ยังไม่หยั่งลึกลงไปในจิตสำนึกของชาวนาและก่อให้เกิดพฤติกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์ ทั้งนี้เพราะสหกรณ์เป็นการรวมกลุ่มที่จัดตั้งขึ้น โดยรัฐ ใช้เงื่อนไขการควบคุมเมล็ดพันธุ์ ทำให้ชาวนาต้องมารวมกลุ่มกัน ไม่ได้เป็นการรวมกลุ่ม โดยมีจิตสำนึกและเข้าใจระบบสหกรณ์ หากเป็นการรวมกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ต่อมาแม้มีการผลิตซ้ำ อุดมการสหกรณ์ โดยองค์การสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้สมาชิกคำนึงถึงผลประโยชน์ ของส่วนร่วม ก็เป็นไปโดยฉาบฉวย ขาดกิจกรรมสนับสนุน ประกอบกับการดำเนินงานของสหกรณ์ไม่สอดคล้องกับอุดมการที่ถ่ายทอด ทำให้สหกรณ์ซึ่งไม่สามารถต่อสู้กับทุน เพราะความด้อยกว่าด้านเงินทุนและการตลาด ไม่สามารถใช้กลไกอุดมการช่วยในการดำเนินงานให้เป็นผล และที่ผ่านมาสหกรณ์จะใช้กลไกการควบคุมเมล็ดพันธุ์เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน มากกว่าการใช้กลไกอุดมการ ซึ่งนอกจากไม่ได้ผลเพราะมีเมล็ดพันธุ์นอกระบบแล้ว ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวนากับสหกรณ์อีกด้วย อีกทั้งสหกรณ์ยังพึ่งพิงรัฐและทุนตลอดจนถูกครอบงำในการบริหารโดยพ่อค้า ทำให้นอกจากไม่สามารถดำเนินการต่อรองได้แล้ว การดำเนินงานยังไม่ตรงต่อความต้องการ และสนองต่อผลประโยชน์ของชาวนาเท่าที่ควร ดังนั้น เมื่อมองในแง่การตอบสนองต่อ ประโยชน์ของชาวนาและอำนาจในการควบคุมสหกรณ์ยังไม่ใช่องค์กรชาวนาที่แท้จริง.
ชาวนาจึงต้องอาศัยการต่อรองในรูปแบบอื่น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน ทั้งแบบส่วนตัวและแบบกลุ่ม ทั้งแบบซ่อนเร้นและเปิดเผย แต่รูปแบบที่ก้าวหน้า ที่สุดคือการรวมกลุ่มต่อรอง โดยเปิดเผย เมื่อมองในแง่ผลกระทบจากการต่อรอง ทั้งในด้านปริมาณต่อกลุ่มและด้านคุณภาพที่จะพัฒนาเป็นการต่อรองเพื่อผลประโยชน์ ระยะยาวต่อไป.
ในการรวมกลุ่มต่อรองของชาวนา อุดมการที่เป็นองค์ประกอบในการต่อรอง มีทั้งอุดมการเดิมที่ผลิตซ้ำกันมาภายในชุมชน อุดมการจากภายนอกที่ผลิตและผลิตซ้ำ โดยสถาบันภายนอก ทั้งอุดมการใหม่ที่ชาวนาสร้างสรรค์ชิ้นใหม่ด้วยการผสมผสานจาก อุดมการเดิม อุดมการจากภายนอกและประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ผู้นำชาวนาจะเลือกหยิบยกอุดมการทั้งสามส่วนมาใช้โดยพิจารณาถึงการยอมรับของชาวนา ความสามารถในการอธิบายปัญหา ตลอดจนทางออกในการแก้ปัญหา เพื่อยกระดับจิตสำนึกของชาวนา แปรเปลี่ยนชาวนาจากผู้ถูกกระทำมาเป็นผู้กระทำใน การต่อรอง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน และอุดมการยังมีบทบาทในการสร้างจิตสำนึก รวมหมู่และเอกภาพภายในกลุ่ม ตลอดจนสร้างความชอบธรรมให้กลุ่มและการต่อรองของกลุ่ม โดยผู้นำจะทำหน้าที่ในการผลิตและผลิตซ้ำอุดมการดังกล่าว ผ่านองค์กรที่จัดตั้งขึ้น เพื่อทำการต่อรอง.
ดังนั้น อุดมการจึงมีความเป็นอิสระสัมพันธ์จากการครอบงำของอุดมการหลัก ชาวนาสามารถเลือกตีความสร้างสรรค์อุดมการของตนเองได้ และชาวนาไม่ได้อาศัยเฉพาะอุดมการเดิมในการต่อรอง จึงไม่มีปัญหาว่าอุดมการในการต่อรองจะถูกทำลายจากการ เปลี่ยนแปลงของสังคม แต่ปัญหาของอุดมการและการต่อรองคือ ปัญหาการผลิตซ้ำทางอุดมการ เนื่องจากการต่อรองเป็นเรื่องเฉพาะหน้า และองค์กรชาวนาก็จัดตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจเท่านั้น เมื่อกิจกรรมในการต่อรองจบลง องค์กรก็สลายไป ขาดความต่อเนื่อง มีผลให้การถ่ายทอดอุดมการทำได้ยากลำบากและ ไม่มีความหมาย เพราะไม่มีกิจกรรมร่วมกันภายในองค์กรรองรับ ดังนั้นองค์กรชาวนา จึงเป็นสิ่งสำหรับการต่อรอง โดยเป็นแหล่งที่ช่วยยกระดับจิตสำนึกของชาวนา เพื่อให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการต่อรอง และทำให้ชาวนาซึ่งไม่สามารถ กระทำการโดยลำพัง กล้ากระทำการผ่านกลุ่ม
การรวมกลุ่มและการจัดตั้งองค์กรที่ผ่านมาและดำรงอยู่ แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ขัดขวางการรวมกลุ่มของชาวนาคือการครอบงำทางอุดมการของอุดมการหลัก ภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจที่ทำให้ชาวนาต้องแก้ปัญหาความอยู่รอดเฉพาะหน้าก่อน การปราบปรามและการควบคุมองค์กรชาวนาของรัฐ ส่วนปัจจัยที่เกื้อหนุนคือการสนับสนุนจากภายนอก ภาวะกดดันทางเศรษฐกิจซึ่งในอีกแง่ช่วยผลักดันให้ชาวนาต้องรวมกลุ่มกันเพื่อหาทางออก ปัจจัยเกื้อหนุนอีกประการคือการพัฒนาทางการเมืองที่ต้องให้เสรีภาพประชาชนระดับหนึ่ง.
การแสดงออกผ่านการต่อรองเพื่อผลประโยชน์ของชาวนาที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าในทัศนะของชาวนา ปัญหาของชาวนาคือปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบในการแบ่งปันผลประโยชน์จากการผลิต และชาวนามีศักยภาพระดับหนึ่งในการหาทางออกโดยการรวมกลุ่มต่อรอง แต่ยังเป็นกลุ่มเฉพาะหน้า ขาดความต่อเนื่อง ดังนั้นการพัฒนาที่จะให้ผลประโยชน์กับชาวนาอย่างแท้จริง จึงต้องส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชาวนา โดยการส่งเสริมทางเศรษฐกิจและลดการควบคุมให้อิสระองค์กรชาวนา เพื่อให้ชาวนาสามารถผลิตซ้ำทางอุดมการ นำไปสู่การเพิ่มอำนาจต่อรองในการเข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์จากการผลิตให้มีความเป็นธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่
ผลจากการศึกษาพบว่า อุดมการเดิมของชาวนาคือ อุดมการแบบอุปถัมภ์ และอุดมการทุนนิยมเป็นอุปสรรคสำคัญในการต่อรองของชาวนาในรูปสหกรณ์ ในขณะที่อุดมการสหกรณ์ยังไม่หยั่งลึกลงไปในจิตสำนึกของชาวนาและก่อให้เกิดพฤติกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์ ทั้งนี้เพราะสหกรณ์เป็นการรวมกลุ่มที่จัดตั้งขึ้น โดยรัฐ ใช้เงื่อนไขการควบคุมเมล็ดพันธุ์ ทำให้ชาวนาต้องมารวมกลุ่มกัน ไม่ได้เป็นการรวมกลุ่ม โดยมีจิตสำนึกและเข้าใจระบบสหกรณ์ หากเป็นการรวมกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ต่อมาแม้มีการผลิตซ้ำ อุดมการสหกรณ์ โดยองค์การสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้สมาชิกคำนึงถึงผลประโยชน์ ของส่วนร่วม ก็เป็นไปโดยฉาบฉวย ขาดกิจกรรมสนับสนุน ประกอบกับการดำเนินงานของสหกรณ์ไม่สอดคล้องกับอุดมการที่ถ่ายทอด ทำให้สหกรณ์ซึ่งไม่สามารถต่อสู้กับทุน เพราะความด้อยกว่าด้านเงินทุนและการตลาด ไม่สามารถใช้กลไกอุดมการช่วยในการดำเนินงานให้เป็นผล และที่ผ่านมาสหกรณ์จะใช้กลไกการควบคุมเมล็ดพันธุ์เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน มากกว่าการใช้กลไกอุดมการ ซึ่งนอกจากไม่ได้ผลเพราะมีเมล็ดพันธุ์นอกระบบแล้ว ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวนากับสหกรณ์อีกด้วย อีกทั้งสหกรณ์ยังพึ่งพิงรัฐและทุนตลอดจนถูกครอบงำในการบริหารโดยพ่อค้า ทำให้นอกจากไม่สามารถดำเนินการต่อรองได้แล้ว การดำเนินงานยังไม่ตรงต่อความต้องการ และสนองต่อผลประโยชน์ของชาวนาเท่าที่ควร ดังนั้น เมื่อมองในแง่การตอบสนองต่อ ประโยชน์ของชาวนาและอำนาจในการควบคุมสหกรณ์ยังไม่ใช่องค์กรชาวนาที่แท้จริง.
ชาวนาจึงต้องอาศัยการต่อรองในรูปแบบอื่น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน ทั้งแบบส่วนตัวและแบบกลุ่ม ทั้งแบบซ่อนเร้นและเปิดเผย แต่รูปแบบที่ก้าวหน้า ที่สุดคือการรวมกลุ่มต่อรอง โดยเปิดเผย เมื่อมองในแง่ผลกระทบจากการต่อรอง ทั้งในด้านปริมาณต่อกลุ่มและด้านคุณภาพที่จะพัฒนาเป็นการต่อรองเพื่อผลประโยชน์ ระยะยาวต่อไป.
ในการรวมกลุ่มต่อรองของชาวนา อุดมการที่เป็นองค์ประกอบในการต่อรอง มีทั้งอุดมการเดิมที่ผลิตซ้ำกันมาภายในชุมชน อุดมการจากภายนอกที่ผลิตและผลิตซ้ำ โดยสถาบันภายนอก ทั้งอุดมการใหม่ที่ชาวนาสร้างสรรค์ชิ้นใหม่ด้วยการผสมผสานจาก อุดมการเดิม อุดมการจากภายนอกและประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ผู้นำชาวนาจะเลือกหยิบยกอุดมการทั้งสามส่วนมาใช้โดยพิจารณาถึงการยอมรับของชาวนา ความสามารถในการอธิบายปัญหา ตลอดจนทางออกในการแก้ปัญหา เพื่อยกระดับจิตสำนึกของชาวนา แปรเปลี่ยนชาวนาจากผู้ถูกกระทำมาเป็นผู้กระทำใน การต่อรอง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน และอุดมการยังมีบทบาทในการสร้างจิตสำนึก รวมหมู่และเอกภาพภายในกลุ่ม ตลอดจนสร้างความชอบธรรมให้กลุ่มและการต่อรองของกลุ่ม โดยผู้นำจะทำหน้าที่ในการผลิตและผลิตซ้ำอุดมการดังกล่าว ผ่านองค์กรที่จัดตั้งขึ้น เพื่อทำการต่อรอง.
ดังนั้น อุดมการจึงมีความเป็นอิสระสัมพันธ์จากการครอบงำของอุดมการหลัก ชาวนาสามารถเลือกตีความสร้างสรรค์อุดมการของตนเองได้ และชาวนาไม่ได้อาศัยเฉพาะอุดมการเดิมในการต่อรอง จึงไม่มีปัญหาว่าอุดมการในการต่อรองจะถูกทำลายจากการ เปลี่ยนแปลงของสังคม แต่ปัญหาของอุดมการและการต่อรองคือ ปัญหาการผลิตซ้ำทางอุดมการ เนื่องจากการต่อรองเป็นเรื่องเฉพาะหน้า และองค์กรชาวนาก็จัดตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจเท่านั้น เมื่อกิจกรรมในการต่อรองจบลง องค์กรก็สลายไป ขาดความต่อเนื่อง มีผลให้การถ่ายทอดอุดมการทำได้ยากลำบากและ ไม่มีความหมาย เพราะไม่มีกิจกรรมร่วมกันภายในองค์กรรองรับ ดังนั้นองค์กรชาวนา จึงเป็นสิ่งสำหรับการต่อรอง โดยเป็นแหล่งที่ช่วยยกระดับจิตสำนึกของชาวนา เพื่อให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการต่อรอง และทำให้ชาวนาซึ่งไม่สามารถ กระทำการโดยลำพัง กล้ากระทำการผ่านกลุ่ม
การรวมกลุ่มและการจัดตั้งองค์กรที่ผ่านมาและดำรงอยู่ แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ขัดขวางการรวมกลุ่มของชาวนาคือการครอบงำทางอุดมการของอุดมการหลัก ภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจที่ทำให้ชาวนาต้องแก้ปัญหาความอยู่รอดเฉพาะหน้าก่อน การปราบปรามและการควบคุมองค์กรชาวนาของรัฐ ส่วนปัจจัยที่เกื้อหนุนคือการสนับสนุนจากภายนอก ภาวะกดดันทางเศรษฐกิจซึ่งในอีกแง่ช่วยผลักดันให้ชาวนาต้องรวมกลุ่มกันเพื่อหาทางออก ปัจจัยเกื้อหนุนอีกประการคือการพัฒนาทางการเมืองที่ต้องให้เสรีภาพประชาชนระดับหนึ่ง.
การแสดงออกผ่านการต่อรองเพื่อผลประโยชน์ของชาวนาที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าในทัศนะของชาวนา ปัญหาของชาวนาคือปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบในการแบ่งปันผลประโยชน์จากการผลิต และชาวนามีศักยภาพระดับหนึ่งในการหาทางออกโดยการรวมกลุ่มต่อรอง แต่ยังเป็นกลุ่มเฉพาะหน้า ขาดความต่อเนื่อง ดังนั้นการพัฒนาที่จะให้ผลประโยชน์กับชาวนาอย่างแท้จริง จึงต้องส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชาวนา โดยการส่งเสริมทางเศรษฐกิจและลดการควบคุมให้อิสระองค์กรชาวนา เพื่อให้ชาวนาสามารถผลิตซ้ำทางอุดมการ นำไปสู่การเพิ่มอำนาจต่อรองในการเข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์จากการผลิตให้มีความเป็นธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.