• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยความจำเป็นพื้นฐาน

by นวลจันทร์ ศักดิ์ธนากูล

ชื่อเรื่อง:

ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยความจำเป็นพื้นฐาน

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Factors affecting village committees' efforts toward a quality of life development through the advocacy of basic minimum needs

ผู้แต่ง:

นวลจันทร์ ศักดิ์ธนากูล

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อปริญญา:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

ปริญญาโท

สาขาวิชา:

นโยบายและการวางแผนทางสังคม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะพัฒนาสังคม

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2534

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยความจำเป็นพื้นฐาน ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวคณะกรรมการหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้าน และคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล (คปต.) โดยศึกษา 2 กลุ่มหมู่บ้าน คือ กลุ่มหมู่บ้านที่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตกเกณฑ์ จปฐ. และกลุ่มหมู่บ้านที่สามารถแก้ปัญหาที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ได้ จากผลการสำรวจ จปฐ. ปี พ.ศ. 2529 กับปี พ.ศ. 2530 ของตำบลวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ตามปัญหาที่ตกเกณฑ์ จปฐ. คือ เรื่องการขาดสารอาหารในเด็ก และการปลูกพืชหมุนเวียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 32 คน ประชาชนจำนวน 129 คน และ คปต. จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์รายบุคคล และการสัมภาษณ์เจาะลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Student-t-test.
ผลการศึกษาพบว่า.
1. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาที่ตกเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน เรื่อง การขาดสารอาหารในเด็ก ได้แก่ ปัจจัยที่มาจากการปฏิบัติในการสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ คปต. (สาธารณสุขตำบล) โดยส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ดำเนินการเอง ไม่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) และปัจจัยภายนอกที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ได้แก่ กองทุนอาหารเสริม
ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการหมู่บ้าน ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติตามกระบวนการ จปฐ. ตลอดจนการปฏิบัติในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กในหมู่บ้านที่ศึกษาครั้งนี้
สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในเรื่องความรู้เรื่อง จปฐ. และเรื่องการแก้ไขการขาดสารอาหาร ไม่มีผลต่อการแก้ปัญหาโดยตรง ส่วนการปฏิบัติของประชาชนในการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารในเด็ก มีผลต่อการแก้ปัญหา.
2. ปัจจัยที่มีต่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาที่ตกเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานเรื่อง การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับการตัดสินใจปฏิบัติของประชาชนโดยตรง ได้แก่ ปัจจัยของสภาพพื้นที่ แหล่งน้ำ อาชีพและเหตุผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลให้ประชาชนเรียนรู้ และตัดสินใจในการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ
ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ คปต. ไม่มีผลโดยตรงต่อผลการแก้ปัญหา.
สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในเรื่องความรู้เรื่อง จปฐ. และเรื่องการแก้ไขการขาดสารอาหาร ไม่มีผลต่อการแก้ปัญหาโดยตรง ส่วนการปฏิบัติของประชาชนในการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารในเด็ก มีผลต่อการแก้ปัญหา.
2. ปัจจัยที่มีต่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาที่ตกเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานเรื่อง การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับการตัดสินใจปฏิบัติของประชาชนโดยตรง ได้แก่ ปัจจัยของสภาพพื้นที แหล่งน้ำ อาชีพและเหตุผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลให้ประชาชนเรียนรู้ และตัดสินใจในการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ
ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ คปต. ไม่มีผลโดยตรงต่อผลการแก้ปัญหา.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.

หัวเรื่องมาตรฐาน:

คุณภาพชีวิต -- ไทย
ความจำเป็นพื้นฐาน -- ไทย

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

ก-ญ, 244 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1791
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (EXCERPT)

Thumbnail
ดู
  • nida-ths-b776ab.pdf ( 123.29 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • nida-ths-b776.pdf ( 3,741.76 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×