Show simple item record

dc.contributor.advisorฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorนวลจันทร์ ศักดิ์ธนากูลth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:20Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:20Z
dc.date.issued1991th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1791th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยความจำเป็นพื้นฐาน ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวคณะกรรมการหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้าน และคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล (คปต.) โดยศึกษา 2 กลุ่มหมู่บ้าน คือ กลุ่มหมู่บ้านที่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตกเกณฑ์ จปฐ. และกลุ่มหมู่บ้านที่สามารถแก้ปัญหาที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ได้ จากผลการสำรวจ จปฐ. ปี พ.ศ. 2529 กับปี พ.ศ. 2530 ของตำบลวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ตามปัญหาที่ตกเกณฑ์ จปฐ. คือ เรื่องการขาดสารอาหารในเด็ก และการปลูกพืชหมุนเวียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 32 คน ประชาชนจำนวน 129 คน และ คปต. จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์รายบุคคล และการสัมภาษณ์เจาะลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Student-t-test.th
dc.description.abstractผลการศึกษาพบว่า.th
dc.description.abstract1. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาที่ตกเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน เรื่อง การขาดสารอาหารในเด็ก ได้แก่ ปัจจัยที่มาจากการปฏิบัติในการสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ คปต. (สาธารณสุขตำบล) โดยส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ดำเนินการเอง ไม่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) และปัจจัยภายนอกที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ได้แก่ กองทุนอาหารเสริมth
dc.description.abstractส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการหมู่บ้าน ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติตามกระบวนการ จปฐ. ตลอดจนการปฏิบัติในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กในหมู่บ้านที่ศึกษาครั้งนี้th
dc.description.abstractสำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในเรื่องความรู้เรื่อง จปฐ. และเรื่องการแก้ไขการขาดสารอาหาร ไม่มีผลต่อการแก้ปัญหาโดยตรง ส่วนการปฏิบัติของประชาชนในการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารในเด็ก มีผลต่อการแก้ปัญหา.th
dc.description.abstract2. ปัจจัยที่มีต่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาที่ตกเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานเรื่อง การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับการตัดสินใจปฏิบัติของประชาชนโดยตรง ได้แก่ ปัจจัยของสภาพพื้นที่ แหล่งน้ำ อาชีพและเหตุผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลให้ประชาชนเรียนรู้ และตัดสินใจในการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติth
dc.description.abstractส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ คปต. ไม่มีผลโดยตรงต่อผลการแก้ปัญหา.th
dc.description.abstractสำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในเรื่องความรู้เรื่อง จปฐ. และเรื่องการแก้ไขการขาดสารอาหาร ไม่มีผลต่อการแก้ปัญหาโดยตรง ส่วนการปฏิบัติของประชาชนในการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารในเด็ก มีผลต่อการแก้ปัญหา.th
dc.description.abstract2. ปัจจัยที่มีต่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาที่ตกเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานเรื่อง การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับการตัดสินใจปฏิบัติของประชาชนโดยตรง ได้แก่ ปัจจัยของสภาพพื้นที แหล่งน้ำ อาชีพและเหตุผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลให้ประชาชนเรียนรู้ และตัดสินใจในการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติth
dc.description.abstractส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ คปต. ไม่มีผลโดยตรงต่อผลการแก้ปัญหา.th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2014-05-05T09:26:20Z (GMT). No. of bitstreams: 2 nida-ths-b776.pdf: 3831567 bytes, checksum: 8ca6c5522c622bcea295a55f44470df1 (MD5) nida-ths-b776ab.pdf: 126244 bytes, checksum: f0cea040fdf63101e98705b38bd7b0d0 (MD5) Previous issue date: 1991th
dc.format.extentก-ญ, 244 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHN 700.55 .A85 น17th
dc.subject.otherคุณภาพชีวิต -- ไทยth
dc.subject.otherความจำเป็นพื้นฐาน -- ไทยth
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยความจำเป็นพื้นฐานth
dc.title.alternativeFactors affecting village committees' efforts toward a quality of life development through the advocacy of basic minimum needsth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelปริญญาโทth
thesis.degree.disciplineนโยบายและการวางแผนทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record