บทบาทของหมอดูในสังคมไทย : กรณีศึกษาเฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร
by กัญชัช ศศิธร
Title: | บทบาทของหมอดูในสังคมไทย : กรณีศึกษาเฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร |
Other title(s): | The roles of astrologers in Thai society : a study of Bangkok Metropolitan |
Author(s): | กัญชัช ศศิธร |
Advisor: | สุพรรณี ไชยอำพร, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | พัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 1998 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อ แบบแผน และวิธีการให้บริการของหมอดู 2) เพื่อศึกษาบททบาทของหมอดูที่มีผลต่อผู้ใช้บริการ และสังคมและ 3) เพื่อศึกษาถึงเหตุผลของการมารับบริการจากหมอดู / วิธีการศึกษา ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) ควบคู่ไปกับการสังเกต (Observation) เป็นหลัก โดยสัมภาษณ์หมอดูจำนวน 20 คน และผู้มารับบริการหมอดูจำนวน 40 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมด ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ เริ่มจากจัดหมวดหมู่ตามวัตถุประสงค์ ทำการวิเคราะห์ โดยอาศัยหลักตรรกเทียบเคียงแนวความคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควบคู่บริบทโดยใช้ข้อมูลสถิติเชิงพรรณามาประกอบในการวิเคราะห์ / ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า ผู้ประกอบอาชีพหมอดูที่ได้ศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง และอายุจะอยู่ในช่วงระหว่าง 51-80 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จะสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมีรายได้อยู่ระหว่าง 10,000-30,000 บาทต่อเดือน หมอดูส่วนใหญ่จะสมรสแล้วและเป็นหัวหน้าครอบครัว / ในด้านความเชื่อ ส่วนใหญ่จะเชื่อคำทำนายของตนเอง และมีความเชื่อในเรื่องครูบาอาจารย์ อีกทั้งเชื่อในเรื่องศาสนา ไสยศาสตร์ และวิญญาณผสมปนเปกันไป / ในด้านผู้มารับบริการจากหมอดูที่ได้ศึกษา พบว่าส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิง อายุน้อย และเป็นโสด การศึกษาค่อนข้างต่ำ รายได้ก็ค่อนข้างน้อย / เหตุผลของการมารับบริการจากหมอดูส่วนใหญ่ เพราะต้องการรับรู้ดวงชะตา และอนาคต เพื่อสร้างกำลังใจและความหวัง ความถี่ของการมารับบริการจากหมอดูในรอบหนึ่งปี ส่วนใหญ่มารับบริการเพียงปีละ 1 ครั้ง ค่าใช้จ่ายในการไปรับบริการจากหมอดู ส่วนใหญ่ครั้งละไม่เกิน 350 บาท / บทบาทของหมอดูในทัศนะของผู้รับบริการส่วนใหญ่เห็นว่าหมอดูมีบทบาทเรียงตามลำดับคือ บทบาททางด้านจิตใจ เช่น ทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่จะกระทำการอย่างใด ถ้าหากว่าหมอดูทำนายว่าจะสำเร็จ และบางครั้งอาจจะหมดกำลังใจที่จะต่อสู้กับปัญหา หากหมอดูทำนายว่าดวงกำลังตกอับ บทบาททางด้านครอบครัว เช่น ในครอบครัวที่มีความเชื่อเรื่องหมอดู ถ้าหมอดูทำนายว่าไม่ใช่เนื้อคู่กัน หรือสามีจะมีภรรยาน้อย แม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม แต่อาจก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง หรือถึงขั้นครอบครัวแตกแยกก็ได้ สำหรับบทบาททางด้านสังคมนั้น ผู้รับบริการส่วนใหญ่ เห็นว่าไม่ใคร่มีบทบาทเท่าใดนัก / ในด้านการปรับปรุงพัฒนาอาชีพหมอดูนั้น ผู้รับบริการส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการปรับปรุงและพัฒนาในอาชีพหมอดูอีกหลายด้าน เช่น ควรจัดตั้งเป็นสถาบันสอนวิชาชีพ. |
Description: |
Methodology: Descriptive statistics |
Subject(s): | หมอดู -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 8, 95 แผ่น ; 30 ซม |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1903 |
Files in this item (EXCERPT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|