การใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อลดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบ : กรณีศึกษา อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง
Publisher
Issued Date
2010
Issued Date (B.E.)
2553
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
17, 245 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วิวัฒน์ แก้วดวงเล็ก (2010). การใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อลดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบ : กรณีศึกษา อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2006.
Title
การใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อลดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบ : กรณีศึกษา อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง
Alternative Title(s)
Application of clean technology for reduction of wastewater from unsmoked rubber sheet production : a case study of Khaochamao District, Rayong Province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการที่ก่อให้เกิดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบ 2)เพื่อศึกษาทางเลือกของเทคโนโลยีสะอาดสำหรับลดปัญหาจากการผลิตยางแผ่นดิบ และ 3) เพื่อประเมินผลความสำเร็จของทางเลือกตามหลักเทคโนโลยีสะอาด ใน การลดปัญหาน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบ พื้นที่ศึกษา คือ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง โดยมี ขั้นตอนการศึกษาคือ 1)การศึกษาข้อมูลเพื่อพิจารณาทางเลือกที่สามารถลดน้ำเสียจากโรงผลิตยาง แผ่นดิบ 10 แห่ง 2) การศึกษาความเป็นไปได้ของทางเลือกตามแนวทางเทคโนโลยีสะอาดเพื่อลด น้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบโดยผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน 3)การนำทางเลือกที่เหมาะสมไปทดลอง ปฏิบัติในโรงผลิตยางแผ่นดิบ และ 4) การประเมินผลความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีสะอาดไปใช้ เพื่อลดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบ ด้วยตัวชี้วัดผลสำเร็จในการดำเนินการ ผลการศึกษา พบว่า การผลิตยางแผ่นดิบในอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง ส่วนใหญ่มี ขั้นตอนหลักเป็นไปตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง (2551) แต่มีการดำเนินการที่แตกต่างออกไป ใน 3 ลักษณะ คือ 1) การใส่สีผสมอาหารลงในน้ำยางพาราสดในขั้นตอนการทำให้น้ำยางพาราสด จับตัวเป็นก้อน 2) หลังจากทำการรีดลายดอกให้กับแผ่นยางพาราเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เกษตรกร ผู้ผลิตยางแผ่นดิบจะนำแผ่นยางพาราไปแช่ด้วยกรดซัลฟุริกเจือจาง และ 3) มีทั้งการใส่สีผสม อาหารลงในส่วนผสมในขั้นตอนการทำให้น้ำยางพาราสดจับตัวเป็นก้อน และนำแผ่นยางพาราไปแช่ด้วยกรดซัลฟุริกเจือจาง นอกจากนี้ยังพบว่าแต่ละขั้นตอนในการผลิตยางแผ่นดิบของเกษตรกร ขาดการใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่าง ประหยัด จึงได้จัดทำทางเลือกตามหลักเทคโนโลยีสะอาดเพื่อ ลดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา 4 ทางเลือก ได้แก่ การปรับปรุงกระบวนการในการผลิตยางแผ่นดิบ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิตยางแผ่นดิบ การ เปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ และการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลการพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม ที่สุดในการดำเนินการครั้งนี้2 ทางเลือก คือ 1) การปรับปรุงกระบวนการผลิตยางแผ่นดิบให้ สอดคล้องกบแนวทางของสถาบันวิจัยยางอย่างแท้จริง และ 2) การดำเนินการร่วมกัน ระหว่างการปรับปรุงกระบวนการผลิตยางแผ่นดิบให้สอดคล้องกับแนวทางของสถาบันวิจัยยางร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบ และการนำของเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบนำกลับไปใช้ซ้ำหรือใช้ใหม่ เมื่อได้นำทางเลือกทั้งสองทางเลือกไปทดลองปฏิบัติพบว่า สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง ร้อยละ 34-73 ลดการใช้สารเคมีได้ร้อยละ 21.38 และยังสามารถลดภาระระบบบำบัดน้ำเสียได้ถึง ร้อยละ 87-96 ค่าความสกปรกของน้ำเสียโดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น ผลประโยชน์ ต่อต้นทุนที่ได้รับมีค่ามากกว่า 1 นอกจากนี้ผู้นำชุมชนในอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง โดยส่วน ใหญ่มีความยินดีที่ให้เกษตรกรผู้ผลิตยางแผ่นดิบเข้าร่วมการดำเนินการหรือโครงการเพื่อลดน้ำเสีย จากการผลิตยางแผ่นดิบด้วยหลักเทคโนโลยีสะอาด ผลการประเมินความสำเร็จของทางเลือกในการลดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบด้วย หลักเทคโนโลยีสะอาด ซึ่งพิจารณาในมิติประสิทธิภาพ มิติสิ่งแวดล้อม และมิติเศรษฐศาสตร์ พบว่าการดำเนินการร่วมกัน ระหว่างการปรับปรุงกระบวนการผลิตยางแผ่นดิบให้สอดคล้องกับ สถาบันวิจัยยาง ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นดิบ และการนำของเสีย จากการผลิตยางแผ่นดิบนำกลับไปใช้ซ้ำหรือใช้ใหม่ มีผลประสบความสำเร็จในการลดน้ำเสียจาก การผลิตยางแผ่นดิบมากที่สุด ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสะอาดไปใช้ในการผลิตยางแผ่นดิบอย่างกว้างขวาง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010