การติดตามด้านทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินหลังการก่อสร้างโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก
by กมลรัช ขุนไชยา
Title: | การติดตามด้านทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินหลังการก่อสร้างโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก |
Other title(s): | Monitoring on soil resource and land use after construction of Khundanprakhanchon Dam, Nakhonnayok Province |
Author(s): | กมลรัช ขุนไชยา |
Advisor: | จันทนา อินทปัญญา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2010 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2010.13 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่อง การติดตามด้านทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินระยะหลังการก่อสร้าง โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาติดตามด้าน ทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระยะก่อนการก่อสร้างจนถึงระยะหลังการก่อสร้าง โครงการ ศึกษาความสอดคล้องกับความเหมาะสมของคุณสมบัติดิน ในพื้นที่โครงการเขื่อนขุนด่าน ปราการชล เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงมาตรการการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ สิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับสภาพในปัจจุบัน ของ โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก วิธีการศึกษาได้เลือกใช้การวิจัยเชิงคุณภาพดําเนินการวิจัยโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกก ผู้นําชุมชน จํานวน 20 ราย และวิเคราะห์ทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระยะกอนการก่อสร้าง พ.ศ. 2541 ระยะหลังการก่อสร้าง พ.ศ. 2549 และทําการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงการ ใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. 2541 และ ปี พ.ศ. 2549 รวมทั้งวิเคราะห์ความสอดคล้องการใช้ประโยชน์ ที่ดินกับความเหมาะสมของสมบัติดิน ในพื้นที่โครงการขุนด่านปราการชล ด้วยระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม ArcView 3.2 a ผลการศึกษา พบว่า จากการวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม ArcView 3.2 a ผล การศึกษาติดตามด้านทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื้นที่ชลประทานท่าด่าน และพื้นที่ ชลประทานท่าด่านส่วนขยาย ระหว่างระยะก่อนการกอสร้างจนถึงระยะหลังการก่อสร้างโครงการแล้ว เสร็จ โครงการเขื่อนขุนดานปราการชล จังหวัดนครนายก พบว่า ด้านทรัพยากรดิน ระยะก่อนการก่อสร้าง พ.ศ. 2541 ได้แก่ พื้นที่ชลประทานท่าด่านเดิม ส่วนใหญ่เหมาะสมในการทํานา และพื้นที่ ชลประทานสวนขยาย เป็นดินตืนมากและมีหินโผล กบเป็นพื้นที่ภูเขา ส่วนระยะหลังการก่อสร้างพ.ศ.2549 พบว่า สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ พบกลุ่มดินทรายแป้งไม่เป็นกรดจัด มากที่สุด มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ และสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด พบกลุ่มดินรวนละเอียดไม่เป็นกรด มากที่สุด มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ สําหรับการเปรียบเทียบ ทรัพยากรดิน ระหวางปี พ.ศ. 2541 และ พ.ศ. 2549 พบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรดิน ด้านการ ใช้ประโยชน์ที่ดินระยะก่อนการก่อสร้าง พ.ศ. 2541 พบวา มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพียง 3 ประเภท คือ พื้นที่นาข้าว มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ พืนที่ป่าดิบชื้น และพื้นที่ไม้ผลผสม ตามลําดับ สวนระยะหลัง การก่อสร้าง พ.ศ. 2549 แบ่งได้ 5 ประเภท คือ พื้นที่เกษตรกรรม มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ พื้นที่ชุมชน และสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เบ็ดเตล็ด พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่แหล่งน้ำ ตามลําดับ สําหรับการเปรียบเทียบการ ใช้ประโยชน์ดิน ระหว่างปี พ.ศ. 2541 และ พ.ศ. 2549 พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ ประโยชน์ที่ดินจากเดิม คือ พื้นที่นาร้าง พื้นที่ไม้ผลผสม พื้นที่ป่าดิบชื้น เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านเกษตรกรรมมากขึ้น รองลงมาเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านที่อยูอาศัย ไม้ผลผสม ทุงหญ้าและ ป่าละเมาะ ตามลําดับ สําหรับความสอดคล้องการใช้ประโยชน์ที่ดินกับความเหมาะสมของสมบัติดิน ในพื้นที่โครงการโดยรวมในปี พ.ศ. 2549 มีความสอดคล้องของการใช้ประโยชน์ที่ดินกับความ เหมาะสมของสมบัติดิน ตามแผนการใช้ที่ดินที่กรมพัฒนาที่ดินได้จัดทําขึ้น ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อให้การจัดการทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐควรจัดทํามาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ การจัดการที่ดิน การป้องกันการเสื่อมสภาพของดิน การให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในการ ปรับปรุงดิน การส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบวนเกษตร รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ การอนุรักษ์ทรัพยากรดิน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010 |
Subject(s): | การใช้ที่ดิน -- ไทย -- นครนายก |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 153 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2014 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|