การประยุกต์ระบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกเขตการท่องเที่ยวด้วยหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
by วาสนา ทองตัน
Title: | การประยุกต์ระบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกเขตการท่องเที่ยวด้วยหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other title(s): | Application of geographical information system in tourism zoning using recreation opportunity spectrum in Namnao National Park, Petchabun Province |
Author(s): | วาสนา ทองตัน |
Advisor: | จินตนา อมรสงวนสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2012 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2012.33 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกเขตการท่องเที่ยวตามหลักการช่วงชั้นโอกาส ด้านนันทนาการของแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 9 แห่ง ภายในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัด เพชรบูรณ์ ได้แก่ จุดชมวิวถ้ำผาหงษ์จุดชมวิวภูค้อ ถ้ำใหญ่น้ำหนาว (ภูวาริน) น้ำตกเหวทราย ป่าเปลี่ยนสี ภูผาจิต (ด่านอีป้อง) สวนสนบ้านแปก (ดงแปก) สวนสนภูกุ่มข้าว และที่ทำการ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกเขตการท่องเที่ยวโดยการประยุกต์ใช้ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ระยะห่างจากถนนสายหลักและสายรอง ขนาดพื้นที่ป่าธรรมชาติที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน และประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่วน การศึกษาประสบการณ์นันทนาการของนักท่องเที่ยว ใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด เก็บ ข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และหาค่าเฉลี่ยของประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวได้รับใน แต่ละแหล่งท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวจำแนกเขตการท่องเที่ยวด้านกายภาพได้ 4 เขต คือ พื้นที่ธรรมชาติสันโดษ (P) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 514.12 ตร.กม. หรือประมาณร้อย ละ 50.47 พื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษใช้ยานยนต์(SPM) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 411.40 ตร.กม. หรือประมาณร้อยละ 40.38 พื้นที่ธรรมชาติดัดแปลงมีถนน (RN-M) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 86.69 ตร.กม. หรือประมาณร้อยละ 8.51 พื้นที่ชนบท (R) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 6.54 ตร.กม. หรือประมาณร้อยละ 0.64 ส าหรับผลการศึกษาประสบการณ์นันทนาการของนักท่องเที่ยวพบว่า มีความสอดคล้องกับด้านกายภาพ 2 แห่ง ได้แก่ จุดชมวิวถ้ำผาหงส์และจุดชมวิวภูค้อ และไม่ สอดคล้อง 2 แห่ง ได้แก่ ถ้ำใหญ่น้ำหนาวและที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จากการิเคราะห์จึงนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะในการจัดการพื้นที่ให้เกิดความสอดคล้องระหว่างแต่ ละปัจจัย เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และลดผลกระทบอันเกิดจากการท่องเที่ยวต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012 |
Subject(s): | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- เพชรบูรณ์ -- อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ -- ไทย -- เพชรบูรณ์ -- อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 150 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2025 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|