• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกิจกรรมของสหกรณ์การเกษตร

by นิศากร วินิจฉัยภาค

Title:

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกิจกรรมของสหกรณ์การเกษตร

Other title(s):

Factors affecting farmers' participation in activities of agricultural cooperative

Author(s):

นิศากร วินิจฉัยภาค

Advisor:

จิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์ทางสังคม

Degree department:

โครงการบัณฑิตศึกษาพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1987

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษามีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สำคัญบางประการที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร 2) เพื่อเปรียบเทียบความสำคัญของแต่ละปัจจัยที่จะมีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์ในสหกรณ์การเกษตรที่มีระดับขีดความสามารถต่างกัน คือ สหกรณ์ระดับ 1 และระดับ 3 และ 4) เพื่อให้ทราบปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์ในกิจกรรมของสหกรณ์การเกษตร.
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาแนวความคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับสหกรณ์การเกษตร การมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม รวมทั้งพิจารณาผลการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดตัวแปรที่จะศึกษาและตั้งสมมติฐาน สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรนครหลวง จำกัด (ระดับ 1) 100 คน และสมาชิกสหกรณ์การเกษตรวังน้อย จำกัด (ระดับ 3) 100 คน ตัวแปรที่ใช้แบ่งเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ซึ่งตัวแปรอิสระประกอบด้วย 1) ภูมิหลังของสมาชิกสหกรณ์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส และการศึกษา 2) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ทรัพย์สินหลังจากหักหนี้สิน รายได้รวม รายจ่ายรวม จำนวนสมาชิกในครอบครัว และจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่มีรายได้ 3) ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ ตำแหน่งในสหกรณ์ และการเป็นสมาชิกกลุ่ม และ 4) ปัจจัยทางจิตลักษณะ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเรื่องการมีส่วนร่วม สิ่งบั่นทอนการเข้าร่วม ความคาดหวังผลประโยชน์ และทัศนคติต่อการมีส่วนร่วม ส่วนตัวแปรตามได้แก่ การมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์ในกิจกรรมของสหกรณ์การเกษตร.
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) โดยแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นสถิติเชิงพรรณนา ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่สองเป็นการใช้สถิติวิเคราะห์โดยอาศัยการหาค่า t ค่าไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อน แบบเลือกตัวแปรอธิบายความผันแปรเพิ่มได้มากที่สุด [Forward (stepwise) Selection]
ผลการศึกษาพบว่า.
1. สมาชิกสหกรณ์การเกษตรส่วนใหญ่มีภูมิหลังไม่แตกต่างกันมากนัก และมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ประมาณครึ่งหนึ่งของสมาชิกสหกรณ์เป็นสมาชิกมานาน 9-12 ปี และไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มอื่น ๆ อีกในปัจจุบัน เกือบทั้งหมดของสมาชิกสหกรณ์ไม่มีตำแหน่งใด ๆ ในสหกรณ์การเกษตร สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการมีส่วนร่วม สิ่งบั่นทอนการเข้าร่วม และความคาดหวังผลประโยชน์ค่อนข้างต่ำ แต่มีทัศนคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วม นอกจากนั้นยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสหกรณ์การเกษตรน้อยด้วย.
2. กลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรนครหลวงและกลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรวังน้อยไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องเพศ จำนวนสมาชิกในครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่มีรายได้ ตำแหน่งในสหกรณ์ และการเป็นสมาชิกกลุ่มในปัจจุบัน แต่แตกต่างในเรื่องของอายุ ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกสหกรณ์ และปัจจัยทางจิตลักษณะทั้งหมด โดยที่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรนครหลวงส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า มีช่วงเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์น้อยกว่า และมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าสมาชิกสหกรณ์การเกษตรวังน้อย สำหรับปัจจัยทางจิตลักษณะะพบว่า สมาชิกสหกรณ์การเกษตรนครหลวงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการมีส่วนร่วม สิ่งบั่นทอนการเข้าร่วม และความคาดหวังผลประโยชน์มากกว่าสมาชิกสหกรณ์การเกษตรวังน้อย รวมทั้งยังมีทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมที่ดีกว่าด้วย นอกจากนั้นพบว่าสมาชิกสหกรณ์การเกษตรนครหลวงมีส่วนร่วมมากกว่าสมาชิกสหกรณ์การเกษตรวังน้อย ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ 1 ที่ตั้งไว้
3. ชุดปัจจัยทางจิตลักษณะสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้ไม่มากกว่าชุดปัจจัยอื่น ๆ คือ สามารถอธิบายได้พอ ๆ กับชุดปัจจัยทางเศรษฐกิจและชุดปัจจัยทางสังคม ส่วนภูมิหลังของสมาชิกสหกรณ์อธิบายการมีส่วนร่วมได้น้อยมาก ซึ่งผลที่ได้นี้ไม่ตรงตามสมมติฐานที่ 2 และจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนพบว่า ตำแหน่งในสหกรณ์สามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้มากที่สุดคือ 14.1.
4. ความสำคัญของชุดปัจจัยต่าง ๆ ในการอธิบายการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสหกรณ์การเกษตรของกลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรนครหลวงแตกต่างจากกลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรวังน้อย ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ 3 โดยในกลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรนครหลวงมีชุดปัจจัยทางสังคมเป็นชุดปัจจัยที่สามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้มากที่สุดคือ อธิบายได้ 12.9 เปอร์เซ็นต์ จาก 21.4 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถอธิบายได้โดยตัวแปรทั้งหมด ส่วนชุดปัจจัยอื่น ๆ สามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้น้อยมาก สำหรับกลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรวังน้อยพบว่าชุดปัจจัยทางจิตลักษณะสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้มากที่สุดคือ 28.4 เปอร์เซ็นต์ จาก 46.8 เปอร์เซ็นต์ ที่อธิบายได้โดยตัวแปรทั้งหมด ส่วนภูมิหลัง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยทางสังคม สามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้ 4.6, 26.9 และ 26.3 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนในกลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรทั้งสองกลุ่มพบว่า ตำแหน่งในสหกรณ์สามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้มากที่สุด รองลงมาคือรายได้รวม แต่ความสามารถในการอธิบายการมีส่วนร่วมของกลุ่มสมาชิกสหกรณ์วังน้อยมีมากกว่ากลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรนครหลวง.
5. จากการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มที่มีระดับการมีส่วนร่วมสูงและกลุ่มที่มีระดับการมีส่วนร่วมต่ำ พบว่าชุดปัจจัยต่าง ๆ มีความสำคัญในการอธิบายการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน โดยในกลุ่มที่มีระดับการมีส่วนร่วมสูง ชุดปัจจัยทางสังคมสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้มากที่สุด คือ 38.0 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือชุดปัจจัยทางจิตลักษณะอธิบายได้ 22.4 เปอร์เซ็นต์ และจากการวิเคราะห์การถดถอยพบว่าตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้ประมาณ 46.5 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ตำแหน่งในสหกรณ์สามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้มากที่สุดคือ 36.6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตัวแปรอื่น ๆ สามารถอธิบายได้เพิ่มขึ้นอีกน้อยมาก สำหรับกลุ่มที่มีระดับการมีส่วนร่วมต่ำ ชุดปัจจัยทางเศรษฐกิจสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้มากที่สุดคือ 11.4 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือชุดปัจจัยทางจิตลักษณะอธิบายได้ 6.3 เปอร์เซ็นต์ และจากการวิเคราะห์การถดถอยพบว่าตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้ 19.9 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมได้มากที่สุดคือ 5.2 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์อธิบายเพิ่มได้ 5.9 เปอร์เซ็นต์
ผลการศึกษาที่ได้นี้น่าจะสามารถนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสหกรณ์การเกษตรทั่วไปได้ดังนี้คือ สามารถสนับสนุนให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสหกรณ์การเกษตรอย่างจริงจัง โดยพิจารณาจากปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมซึ่งพบว่า ตำแหน่งในสหกรณ์เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะมีหน้าที่รับผิดชอบงานของสหกรณ์โดยตรง และอาจเพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ มาก จึงได้รับเลือกเข้ามา ดังนั้นควรมีการส่งเสริมอบรมให้เกษตรกรมีความรับผิดชอบและเกิดสำนึกในการเข้าร่วมกิจกรรม สำหรับฐานะทางเศรษฐกิจก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการมีส่วนร่วม จึงควรช่วยเหลือให้เกษตรกรมีฐานะดีขึ้นโดยช่วยเหลือทั้งทางด้านการผลิตและการตลาด และที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งคือความรู้ความเข้าใจเรื่องการมีส่วนร่วม ควรให้การศึกษาทางสหกรณ์ และเรื่องการมีส่วนร่วมให้แก่เกษตรกรมากกว่านี้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากสหกรณ์ และเป็นพื้นฐานของทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมด้วย นอกจากนั้นสหกรณ์ควรพยายามตอบสนองความต้องการของเกษตรกรให้มากขึ้น การช่วยเหลือด้านใดก็ตามควรคำนึงถึงความเหมาะสมและความต้องการของเกษตรกรด้วย.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2530.

Subject(s):

สหกรณ์การเกษตร -- ไทย
เกษตรกร -- ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

xxvi, 234 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2129
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b7164.pdf ( 3,094.66 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×