การนำนโยบายโฉนดชุมชนไปปฏิบัติ
by ธันภัทร โคตรสิงห์
Title: | การนำนโยบายโฉนดชุมชนไปปฏิบัติ |
Other title(s): | The community title deed policy implementation |
Author(s): | ธันภัทร โคตรสิงห์ |
Advisor: | พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2013.34 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่อง “การนำนโยบายโฉนดชุมชนไปปฏิบัติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา
กระบวนการนำนโยบายโฉนดชุมชนไปปฏิบัติ และ 2) ศึกษาเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตของ
นโยบายโฉนดชุมชนและเงื่อนไขที่ส่งผลให้ชุมชนสหกรณ์บ้านคลองโยงจำกัดและชุมชนสหกรณ์
การเกษตรโฉนดชุมชนบ้านป่าซางจำกัดได้รับโฉนดชุมชน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิง
คุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
(Key Informants) ประกอบด้วย คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
คณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลืองานคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานโฉนดชุมชน ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลที่ดิน
ของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย และ สมาชิกในชุมชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับโฉนดชุมชน
จากการศึกษาสามารถสรุปกระบวนการนำนโยบายโฉนดชุมชนไปปฏิบัติได้เป็น 5
ขั้นตอนหลักได้แก่ การกำหนดผู้รับผิดชอบนโยบาย การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ การสร้าง
การยอมรับในนโยบาย การดำเนินงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน และการสร้างความร่วมมือ
ระหว่างหน่วยงาน โดยพบว่ามีเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตของนโยบายโฉนดชุมชน แบ่งเป็น
6 ด้าน 19 เงื่อนไขประกอบด้วย 1) ด้านเนื้อหาสาระของนโยบาย มี 2 เงื่อนไขได้แก่ ความ
สามารถในการแก้ไขปัญหาของนโยบาย และความชัดเจนในเนื้อหาสาระของนโยบาย 2) ด้าน
สมรรถนะขององค์การที่นำนโยบายไปปฏิบัติ มี 2 เงื่อนไขได้แก่ โครงสร้างในการดำเนินงาน
นโยบายโฉนดชุมชนและทรัพยากรในการดำเนินงานนโยบายโฉนดชุมชน 3) ด้านหน่วยงานที่
รับผิดชอบดูแลที่ดิน มี 3 เงื่อนไขได้แก่ กฎระเบียบกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทัศนคติ
ของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความร่วมมือในการดำเนินงานโฉนดชุมชนจาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) ด้านพฤติกรรมผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ มี 4 เงื่อนไขได้แก่ การยอมปฏิบัติตามนโยบาย การหลีกเลี่ยงการนำนโยบายไปปฏิบัติ การถ่วงเวลา และ การยึดถือ
กฎหมายแบบกัดคัมภีร์ 5) ด้านการเมืองและระบบราชการ มี 5 เงื่อนไขได้แก่ การมีส่วนร่วม
ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดนโยบาย ระบบราชการและกระบวนการทางกฎหมาย การ
เปลี่ยนแปลงรัฐบาล อำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ และสถานการณ์ความขัดแย้งทาง
การเมือง และ 6) ด้านกลุ่มเป้าหมายของนโยบาย มี 3 เงื่อนไขได้แก่ ประเภทและลักษณะที่ดิน
ของชุมชน ความพร้อมของชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่วนเงื่อนไขที่ส่งผลให้ชุมชน
ได้รับโฉนดชุมชนพบว่ามี 5 เงื่อนไขได้แก่ การต่อสู้อย่างยาวนานเรื่องสิทธิในที่ดินทำกินของ
ชุมชน การมีสมาชิกในชุมชนที่เข้มแข็ง การเข้าร่วมกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยเพื่อ
ขับเคลื่อนนโยบาย การมีหน่วยงานรองรับสิทธิ์การใช้ประโยชน์ในที่ดินตามกฎหมาย และการ
หนุนช่วยจากนักวิชาการ
แนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้นโยบายโฉนดชุมชนสามารถดำเนินไปได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นมีดังต่อไปนี้ 1) การสร้างความชัดเจนในนโยบายโดย
การจำกัดขอบเขตของกลุ่มเป้าหมายและการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน 2) การเสริม
สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน 3) การจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบนโยบายโฉนดชุมชน
โดยตรงโดย 4) การกำหนดกฎหมายขึ้นมารองรับการนำนโยบายโฉนดชุมชนไปปฏิบัติ และ 5)
การสร้างแรงจูงใจในการทำงานและการสร้างความผูกพันในเป้าหมายของนโยบาย ซึ่งแนวทาง
ดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะต้องได้รับการสนับสนุน
ทางการเมืองทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556. |
Subject(s): | วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัล
โฉนด |
Keyword(s): | โฉนดชุมชน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 12, 353 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2910 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|