วัฒนธรรมองค์การ องค์การการเรียนรู้ กับประสิทธิผลองค์การของศาลยุติธรรม : ตัวแบบสมการโครงการ
Publisher
Issued Date
2013
Issued Date (B.E.)
2556
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
16, 376 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b182827
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ปริณ บุญฉลวย (2013). วัฒนธรรมองค์การ องค์การการเรียนรู้ กับประสิทธิผลองค์การของศาลยุติธรรม : ตัวแบบสมการโครงการ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2915.
Title
วัฒนธรรมองค์การ องค์การการเรียนรู้ กับประสิทธิผลองค์การของศาลยุติธรรม : ตัวแบบสมการโครงการ
Alternative Title(s)
Organizational culture, learning organization and organizational effectiveness of the court of justice : structural equation modeling
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษา เรื่อง วัฒนธรรมองค์การ องค์การการเรียนรู้ และประสิทธิผลองค์การของศาล ยุติธรรม : ตัวแบบสมการโครงสร้าง มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้อง กลมกลืน ระหว่างตัวแบบมาตรวัดที่สร้างตามแนวคิดกับตัวแบบมาตรวัดที่สร้างขึ้นตามข้อมูลที่จัดเก็บได้ของ ปัจจัยด้านประสิทธิผลองค์การ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ และปัจจัยด้านองค์การการเรียนรู้ของ ศาลยุติธรรมในภาพรวม 2) เพื่อศึกษาหาระดับประสิทธิผลองค์การ ระดับวัฒนธรรมองค์การ และ ระดับองค์การการเรียนรู้ของศาลยุติธรรม 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างปัจจัย ด้านประสิทธิผลองค์การ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การปัจจัยด้านองค์การการเรียนรู้ ของศาล ยุติธรรม 4) เพื่อศึกษาความสามารถในการอธิบายและทำนายปัจจัยประสิทธิผลองค์การ ด้วยปัจจัย วัฒนธรรมองค์การ และปัจจัยด้านองค์การการเรียนรู้ของศาลยุติธรรม หน่วยในการวิเคราะห์ คือ ศาล ทุกชั้นศาลทั่วประเทศในสังกัดศาลยุติธรรม จำนวน 239 ศาล (ข้อมูล ณ ตุลาคม, 2555) จำนวน แบบสอบถามที่นำมาวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย มีจำนวน 845 ชุดข้อมูล จากจำนวน 217 ศาล โดยมีระดับ ความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และช่วงความเชื่อมั่น ร้อยละ 2 ผลการศึกษาในระดับตัวแบบมาตรวัดของตัวแบบตามทฤษฎีประสิทธิผลองค์การ วัฒนธรรมองค์การ และองค์การการเรียนรู้ พบว่ามาตรวัดของแต่ละแนวคิดมีความเที่ยงตรงเชิงลู่เข้า และความน่าเชื่อถือเชิงโครงสร้าง เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความเหมาะสมของตัวแบบมาตรวัดที่สร้างตามแนวคิดประสิทธิผล องค์การ แนวคิดวัฒนธรรมองค์การ และแนวคิดด้านองค์การการเรียนรู้ในภาพรวมยังไม่มีความ สอดคล้องกับตัวแบบมาตรวัดที่สร้างขึ้นตามข้อมูลที่จัดเก็บได้ เมื่อศึกษาในบริบทของศาลยุติธรรม จำเป็นต้องปรับปรุงตัวแบบมาตรวัด ผลการศึกษา พบว่า ระดับประสิทธิผลองค์การ ระดับปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การและ ระดับปัจจัยด้านองค์การการเรียนรู้ของศาลยุติธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.374 ถึง 4.970 และพบว่า ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยด้านองค์การการเรียนรู้และประสิทธิผล องค์การในภาพรวม ต่างมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อศึกษาในบริบทของศาล ยุติธรรม โดยมีค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยรายคู่ เท่ากับ 0.335 ถึง 0.762 ผลการศึกษายัง พบว่า ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การมิอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยร้อยละ 83.20 ของค่าความแปรปรวนในแนวคิดประสิทธิผลองค์การสามารถถูกอธิบายและทำนายโดยปัจจัยด้าน วัฒนธรรมองค์การ ในระดับสูงมาก ปัจจัยด้านองค์การการเรียนรู้ มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ โดยร้อยละ 68.80 ของค่าความแปรปรวนในแนวคิดประสิทธิผลองค์การสามารถถูก อธิบายและทำนายโดยปัจจัยด้านองค์การการเรียนรู้ ในระดับสูง ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ กับ ปัจจัย ด้านองค์การการเรียนรู้ เมื่อศึกษาร่วมกันพบว่า ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลต่อประสิทธิผล องค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยร้อยละ 83.60 ของค่าความแปรปรวนในแนวคิดประสิทธิผล องค์การสามารถถูกอธิบายและทำนายโดยปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ แต่ปัจจัยด้านองค์การการเรียนรู้ มีอิทธิพลเชิงลบต่อประสิทธิผลองค์การอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ -0.053
The study also found that Organizational Culture had statistically significant positive influence on Organizational Effectiveness. The 83.20 percent of the variance in Organizational Effectiveness can be explained and predicted by the Organizational Culture in a very high level. Moreover, Learning Organization had statistically significant positive influence on Organizational Effectiveness. The 68.80 percent of the variance in Organizational Effectiveness can be explained and predicted by the Learning Organization. Organizational Culture and learning organization had statistically significant influence on organizational effectiveness. The 83.60 percent of the variance in organizational effectiveness was explained by Organizational Culture respectively which considered in a very high level. But Learning Organization had statistically significant negative influence on organizational effectiveness -0.053.
The study also found that Organizational Culture had statistically significant positive influence on Organizational Effectiveness. The 83.20 percent of the variance in Organizational Effectiveness can be explained and predicted by the Organizational Culture in a very high level. Moreover, Learning Organization had statistically significant positive influence on Organizational Effectiveness. The 68.80 percent of the variance in Organizational Effectiveness can be explained and predicted by the Learning Organization. Organizational Culture and learning organization had statistically significant influence on organizational effectiveness. The 83.60 percent of the variance in organizational effectiveness was explained by Organizational Culture respectively which considered in a very high level. But Learning Organization had statistically significant negative influence on organizational effectiveness -0.053.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.(พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.