• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางการใช้ทรัพยากรในการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

by สุภาวดี หนูสิน

Title:

แนวทางการใช้ทรัพยากรในการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

Other title(s):

Guidelines for resource use in palm oil plantation for reducing environmental impact : A case study of agriculturers in Sikao District, Trang Province

Author(s):

สุภาวดี หนูสิน

Advisor:

วิสาขา ภู่จินดา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขั้นตอนการ ปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรังและเสนอแนวทางการใช้ทรัพยากร ในการปลูกปาล์มน้ำมันในด้านการใช้ที่ดิน การใช้น้ำ และการใช้เทคโนโลยี ให้แก่เกษตรกรใน พื้นที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จำนวน18 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มีพื้นที่ 50 ไร่ และ 50 ไร่ และใช้คา ถามสัมภาษณ์หน่วยงานระดับนโยบาย เกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรในการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ สานักงานเกษตรจังหวัดตรัง สานักงานเกษตร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดตรัง สานักงานโครงการชลประทานจังหวัดตรัง และสานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง การวิเคราะห์ข้อมูลการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้ การคำนวณสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการสัมภาษณ์ผู้กำหนดนโยบาย โดยใช้ SWOT Analysis เพื่อนา มากำหนดแนวทางการใช้ทรัพยากรในการปลูกปาล์มน้ำมัน
ผลการวิจัยพบว่าการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขั้นตอนการเตรียมดิน ปาล์มน้ำมันของกลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ 50 ไร่ มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 0.63 kgCO2eq./ไร่ ซึ่งมีค่าการปลดปล่อยมากกว่ากลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ 50 ไร่ ที่มีการปลดปล่อยก๊าซ เรือนกระจกเท่ากับ 0.61 kgCO2eq./ไร่ ในขั้นตอนการเพาะปลูกกลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ 50 ไร่ มี การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 257 kgCO2eq./ไร่ มากกว่าปาล์มน้ำมันของกลุ่มเกษตรกรที่มี พื้นที่ 50 ไร่ มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 191 kgCO2eq./ไร่ ขั้นตอนการดูแลรักษาปาล์มน้ำมันของกลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ 50 ไร่ มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 243.09 kgCO2eq./ไร่ ซึ่งมีค่าการปลดปล่อยมากกว่ากลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ 50 ไร่ ที่มีปริมาณการ ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 103.04 kgCO2eq./ไร่ ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว กลุ่มเกษตรกรที่มี พื้นที่ 50 ไร่ มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 17,309 kgCO2eq./ไร่ มากกว่าปาล์มน้ำมัน ของกลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ 50 ไร่ที่มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 5,383 kgCO2eq./ไร่
จากผลการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการสัมภาษณ์หน่วยงานระดับ นโยบายที่เกี่ยวข้อง สามารถนา มาสรุปเป็นแนวทางการพัฒนาหรือส่งเสริมการใช้ที่ดิน ได้แก่ การ ส่งเสริมการปรับปรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม น้ำมันนำดินมาตรวจวิเคราะห์กับสถานีพัฒนาที่ดิน หน่วยงานราชการควรติดตามการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อทราบแนวโน้มการใช้ที่ดินในอนาคต มีนโยบายควบคุมการใช้ประโยชน์ ที่ดินเพื่อการเกษตรและสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของดินในสวนปาล์มของเกษตรกรเพื่อหาแนว ทางการจัดการที่ถูกต้อง แนวทางการพัฒนาหรือส่งเสริมการใช้น้ำได้แก่ มีการบริหารจัดการน้ำที่มี ประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันกักเก็บน้ำไว้ในร่องสวนหรือมีแหล่งกักเก็บ น้ำในสวนปาล์มของตนเอง อีกทั้งโครงการชลประทานควรจัดหาพื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำสำรองเพิ่ม เพื่อความมั่นคงในการทำการเกษตร และแนวทางการพัฒนาหรือส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี ได้แก่ ตรวจสอบการใช้สารเคมีในสวนปาล์มน้ามันเพื่อควบคุมการใช้สารเคมี ใช้ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ในการวางแผนกำหนดพื้นที่กันชนและการบริหารจัดการอื่น ๆ เช่น การวางระบบชลประทาน การวิเคราะห์การกระจายของสารปราบวัชพืช การทาแผนที่แสดงระดับความอุดม สมบูรณ์ของดินในการปลูกปาล์มน้ำมัน และแนวทางด้านอื่น ๆ คือ พัฒนาระบบโลจิสติกส์ของภาค เกษตรเพื่อให้สามารถลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557.

Subject(s):

ปาล์มน้ำมัน -- การปลูก
ปาล์มน้ำมัน -- การปลูก -- ตรัง

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

189 แผ่น.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3431
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • ba187559.pdf ( 4,073.45 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×