กลยุทธ์สื่อบุคคลเพื่อสร้างเครือข่ายการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา "เกษตรอินทรีย์"
Files
Publisher
Issued Date
2014
Issued Date (B.E.)
2557
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
223 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
ba187856
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
รุจิรา จิตต์ตั้งตรง (2014). กลยุทธ์สื่อบุคคลเพื่อสร้างเครือข่ายการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา "เกษตรอินทรีย์". Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3512.
Title
กลยุทธ์สื่อบุคคลเพื่อสร้างเครือข่ายการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา "เกษตรอินทรีย์"
Alternative Title(s)
Creating participatory communication network for organic agricultural development through interpersonal communication
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะ และบทบาทของ
ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านชำปลาไหล ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (2) เพื่อศึกษากล
ยุทธ์ของปราชญ์ชาวบ้านในการสร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ (3) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของ
เกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ (4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อปราชญ์
ชาวบ้านและเครือข่ายเกษตรอินทรีย์
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลักที่สำคัญ (Key Information) 17 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (1) ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านชำปลาไหล ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และผู้ประสานการขับเคลื่อนกิจกรรมเครือข่าย เกษตรอินทรีย์ (2) กลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรอินทรีย์บ้านชำปลาไหลตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี การศึกษาวิจัยใช้เครื่องมือ (1) การสัมภาษณ์เชิงลึก (2) การสังเกต แบบไม่มีส่วนร่วม (3) การสัมภาษณ์กลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่าปราชญ์ชาวบ้าน บ้านชำปลาไหล ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีมีคุณลักษณะและบทบาทของความเป็นผู้นำทางธรรมชาติอย่างเด่นชัด ในด้านของ การบริหารหมู่บ้านผนวกกับการมีความสามารถทางด้านการเกษตร และเป็นผู้นำผลักดันการเปลี่ยนแปลงการเกษตร จากเกษตรเกษตรเคมีมาสู่การทำเกษตรอินทรีย์ในหมู่บ้านและขยายผล เกิดเป็นเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จ โดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อพัฒนาแบบมี ส่วนร่วมต่าง ๆ มากมายเพื่อให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในเครือข่ายข่ายเกษตรอินทรีย์บ้านชำปลา ไหล แบ่งได้เป็น (1) กลยุทธ์การสร้างสาร (2) กลยุทธ์การใช้สื่อ (3) กลยุทธ์นำเสนอสาร ส่วนการมี ส่วนร่วมของเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรอินทรีย์นั้น พบว่าเกษตรกรในกลุ่มประชาชนยังคงมีส่วน ร่วมในฐานะผู้รับสาร/ผู้ใช้สาร เป็นส่วนใหญ่ เกษตรกรกลุ่มผู้นำความคิดเห็นจะอยู่ในฐานะผู้ส่ง สาร/ผู้ผลิต/ผู้ร่วมแสดง และเป็นผู้วางแผนและกำหนดนโยบาย ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรเห็นด้วยกับเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ทั้งนี้เป็น เพราะว่าการเข้าร่วมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและชุมชน ทั้งนี้ ผลของ งานวิจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์สื่อบุคคลเพื่อสร้างเครือข่ายการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา “เกษตร อินทรีย์” ซึ่งกลุ่มผู้นำ หรือปราชญ์ชาวบ้านอื่น ๆ สามารถนำไปเป็นแนวทาง ในการเผยแพร่ความรู้ ต่าง ๆ สู่เครือข่ายหรือชุมชนของตนเองต่อไป
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลักที่สำคัญ (Key Information) 17 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (1) ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านชำปลาไหล ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และผู้ประสานการขับเคลื่อนกิจกรรมเครือข่าย เกษตรอินทรีย์ (2) กลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรอินทรีย์บ้านชำปลาไหลตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี การศึกษาวิจัยใช้เครื่องมือ (1) การสัมภาษณ์เชิงลึก (2) การสังเกต แบบไม่มีส่วนร่วม (3) การสัมภาษณ์กลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่าปราชญ์ชาวบ้าน บ้านชำปลาไหล ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีมีคุณลักษณะและบทบาทของความเป็นผู้นำทางธรรมชาติอย่างเด่นชัด ในด้านของ การบริหารหมู่บ้านผนวกกับการมีความสามารถทางด้านการเกษตร และเป็นผู้นำผลักดันการเปลี่ยนแปลงการเกษตร จากเกษตรเกษตรเคมีมาสู่การทำเกษตรอินทรีย์ในหมู่บ้านและขยายผล เกิดเป็นเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จ โดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อพัฒนาแบบมี ส่วนร่วมต่าง ๆ มากมายเพื่อให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในเครือข่ายข่ายเกษตรอินทรีย์บ้านชำปลา ไหล แบ่งได้เป็น (1) กลยุทธ์การสร้างสาร (2) กลยุทธ์การใช้สื่อ (3) กลยุทธ์นำเสนอสาร ส่วนการมี ส่วนร่วมของเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรอินทรีย์นั้น พบว่าเกษตรกรในกลุ่มประชาชนยังคงมีส่วน ร่วมในฐานะผู้รับสาร/ผู้ใช้สาร เป็นส่วนใหญ่ เกษตรกรกลุ่มผู้นำความคิดเห็นจะอยู่ในฐานะผู้ส่ง สาร/ผู้ผลิต/ผู้ร่วมแสดง และเป็นผู้วางแผนและกำหนดนโยบาย ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรเห็นด้วยกับเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ทั้งนี้เป็น เพราะว่าการเข้าร่วมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและชุมชน ทั้งนี้ ผลของ งานวิจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์สื่อบุคคลเพื่อสร้างเครือข่ายการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา “เกษตร อินทรีย์” ซึ่งกลุ่มผู้นำ หรือปราชญ์ชาวบ้านอื่น ๆ สามารถนำไปเป็นแนวทาง ในการเผยแพร่ความรู้ ต่าง ๆ สู่เครือข่ายหรือชุมชนของตนเองต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557.