ปัญหาเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน
by อิทธ คำตะลุง
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems concerning the establishment of the mass media professional association |
ผู้แต่ง: | อิทธ คำตะลุง |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | ปุ่น วิชชุไตรภพ |
ชื่อปริญญา: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิติศาสตร์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐานแนวคิดหลักการและทฤษฎีทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ตลอดจนศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งองค์กรสื่อมวลชนในต่างประเทศ และประเทศไทย นอกจากนนี้ยังได้ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรของสื่อมวลชนในประเทศไทย เพื่อที่จะศึกษาและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขที่เหมะสมในกับประเทศไทยในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ให้มีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนสืบต่อไป
โดยวิธีการศึกษาแบ่งออกเป็นทั้งหมดด้วยกันอยู่ 2 ส่วน คือ ในส่วนแรกเป็นการศึกษา ความเป็นมาและแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน บทบาท หน้าที่ของสื่อสารมวลชน รวมไปถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสื่อสารมวลชน ตลอดจนสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน และองค์กรสื่อสารมวลชนกับหลักภารกิจของรัฐ และการจัดองค์กรของรัฐ ลักษณะขององค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ส่วนที่สองเป็นการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนในต่างประเทศ และประเทศไทย เพื่อที่จะทำการศึกษาว่ามีเหมือนหรือมีความแตกต่างกันอย่างไร
ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขาดกลไกทางกฎหมายเพื่อควบคุมการทำงานของสื่อสารมวลชน จะเห็นได้ว่ากลไกทางกฎหมายที่ควบคุมการทำงานของสื่อมวลชนอันมีลักษณะที่เป็นข้อบังคับระหว่างองค์กร จึงไม่มีผลบังคับกับสื่อมวลชนทั้งหมด เนื่องจากกฎหมายไม่ได้รองรับให้จริยธรรมทางวิชาชีพมีสภาพบังคับทางกฎหมาย จึงส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือนร้อนจากการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่มุ่งเน้นไปในเชิงธุรกิจ และเน้นการทำข่าวสารที่สื่อมวลชนนั้น ๆ สังกัดอยู่ ไม่ได้เน้นการทำหน้าที่ที่เป็นความต้องการของประชาชน 2. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขาดหน่วยงานกลางในการกำกับดูแลและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน ส่งผลให้ประเทศไทยไม่สามารถควบคุม กำกับดูแล การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนได้ เมื่อสื่อมวลชนทำหน้าที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่งผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนรับผิดเฉพาะในส่วนของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่มีโทษทางปกครองและอาญา ทำให้ส่งผลเสียต่อการควบคุมการทำงานของสื่อมวลชน ทำให้ปฏิบัติหน้าที่ขอสื่อมวลชนได้ไม่สมบูรณ์ 3. ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน จะเห็นได้ว่าองค์กรสื่อสื่อมวลชนในประเทศไทยมีจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น สมาคม ชมรม อำนาจในการกำกับดูแลสื่อมวลชนนั้น ไม่มีสถานะในทางกฎหมาย ในการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาในการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม ของผู้ที่ปฏิบัติงานสื่อมวลชน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยควรนำเอาแนวความคิดพร้อมทั้งหลักการในทางทฤษฎีและหลังกฎหมายของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ที่ได้มีกลไกในการกำกับดูแลการทำงานของสื่อมวลชน ที่เป็นมาตรฐานสากล ในการที่จะจัดตั้งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่เหมาะสม เพื่อให้มีประสิทธิภาพในแก้ไขปัญหาการทำงานของสื่อมวลชนในประเทศไทย โดยการให้มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พร้อมกันนี้ยังให้มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ เพื่อที่จะมีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ ในการสนับสนุนการทำงานของสื่อมวลชนและกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานกลาง พร้อมกับพัฒนาวิชาชีพสื่อมวลชนให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ยังมีอำนาจในการกำกับดูแลกันเองในการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาในการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของผู้ที่ปฏิบัติงานสื่อมวลชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาการทำงานของสื่อมวลชนให้มีความสมบูรณ์และเป็นมาตรฐานเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
คำสำคัญ: | สื่อมวลชน
จริยธรรม อำนาจหน้าที่ e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 223 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
ผู้ครอบครองสิทธิ์: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3773 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู b199705e.pdf ( 2,675.77 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|