dc.contributor.advisor | พัชรวรรณ นุชประยูร | th |
dc.contributor.author | พันธรัตน์ ศรีสุวรรณ | th |
dc.date.accessioned | 2019-01-28T03:48:14Z | |
dc.date.available | 2019-01-28T03:48:14Z | |
dc.date.issued | 2014 | th |
dc.identifier.other | b190067 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4113 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.) -- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษว่าลักษณะของการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยเป็นพิเศษนั้นมีลักษณะอย่างไร รัฐควรมีหลักเกณฑ์ความรับผิดของรัฐในเรื่องของค่าตอบแทน หรือการเยียวยาความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษเป็นอย่างไร โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทำงในการพัฒนาแนวความคิดว่าด้วยความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษในระบบกฎหมาย อันมีนัยสำคัญอันจะนำไปสู่การพัฒนาหลักเกณฑ์ความรับผิดของรัฐที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ ทั้งในทำงวิชาการและในทำงปฏิบัติ | th |
dc.description.abstract | วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาหลักการพื้นฐาน แนวคิดทฤษฎี และพัฒนาการความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษ ส่วนที่สอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษในระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายต่างประเทศที่ผู้วิจัยเห็นว่ามีความสำคัญ พบว่า ไม่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษที่มีความแน่นอนชัดเจน เนื่องจากหลักเกณฑ์ที่มีอยู่นั้นครอบคลุมเฉพาะความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษเป็นเฉพาะกรณีเท่านั้น เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำเหน็จความชอบสาหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2550 โดยรับรองหรือคุ้มครองเฉพาะเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ.2521 ที่คุ้มครองกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับความเสียหายจากการปราบปรามผู้กระทำผิดหรือปราบปรามโจรผู้ร้ายเท่านั้น เป็นต้น ทำให้มีเพียงหลักเกณฑ์ในกาหนดค่าตอบแทนความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษโดยตราขึ้นเป็นระเบียบต่างๆ ตามแต่ละภัยของความเสี่ยงภัยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับตามบริบทของสังคมในขณะนั้นๆ โดยสร้างขึ้นมาเพื่อเยียวยาความเสียหายในลักษณะที่มีความจาเป็นเร่งด่วนเป็นรายๆ ซึ่งทำให้รัฐไม่สามารถสร้างหลักประกันความเสียหายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษที่มีความแน่นอนชัดเจน นอกจากนี้จากการพิจารณาบทบัญญัติของกฎหมายที่บังคับใช้อยู่พบว่ามีปัญหาในหลายกรณี คือ ปัญหาการเป็นผู้ได้รับความเสียหาย ปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่รัฐ และปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้อง นอกจากนี้ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบงบประมาณที่รัฐต้องสูญเสียเงินในระบบงบประมาณเป็นจานวนสูงในการเยียวยาความเสียหายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐจากการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษ | th |
dc.description.abstract | แนวทำงานในการดาเนินการเพื่อให้หลักเกณฑ์ความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษมีความชัดเจนและบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ 1) รัฐควรมีกองทุนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษ ทั้งในการให้การสนับสนุนส่งเสริมเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษ และการตอบแทนความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐกรณีได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต 2) รัฐควรตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษ โดยมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ได้รับความเสียหาย ด้านค่าตอบแทน ด้านการใช้สิทธิเรียกร้องที่มีความแน่นอนชัดเจน 3) รัฐควรกาหนดขั้นตอนและวิธีการในการปฏิบัติสาหรับการเยียวยาความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษเป็นกฎหมายกลาง 4) ให้ศาลปกครองเข้ามาพัฒนาหลักเกณฑ์ความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัย | th |
dc.description.provenance | Submitted by นักศึกษาฝึกงานมราชภัฎยะลา_2562 (บุษกร แก้วพิทักษ์คุณ) (budsak.a@nida.ac.th) on 2019-01-28T03:48:14Z
No. of bitstreams: 1
b190067.pdf: 1850226 bytes, checksum: ab02f2927b60c964ab50767a16b42ae8 (MD5) | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2019-01-28T03:48:14Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b190067.pdf: 1850226 bytes, checksum: ab02f2927b60c964ab50767a16b42ae8 (MD5)
Previous issue date: 2014 | th |
dc.format.extent | 204 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.other | เจ้าหน้าที่ของรัฐ | th |
dc.title | ความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษ | th |
dc.title.alternative | The responsibility of government to government officials who work in special risky areas | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะนิติศาสตร์ | th |