รูปแบบและขั้นตอนการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตในประเทศไทย
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
256 เเผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b196942
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
บารมี พานิช (2016). รูปแบบและขั้นตอนการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตในประเทศไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4131.
Title
รูปแบบและขั้นตอนการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตในประเทศไทย
Alternative Title(s)
Forms and procedures driven bill of same-sex marriage in Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและขั้นตอนการขับเคลื่อน ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาทัศนะต่อการนํากฎหมาย ร่าง พระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ของประชาชนในสังคมไทยมาใช้ การศึกษาใช้ กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ 25 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักตรรกะเทียบเคียงกับแนวคิด ทฤษฎีควบคู่กับบริบทและใช้สถิติเชิง พรรณนาประกอบ
ผลการศึกษาพบว่า
1) รูปแบบและขั้นตอนการขับเคลื่อน ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ใน ประเทศไทย พบว่าเป็นลักษณะการประกอบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใน กฎหมายในระดับการขับเคลื่อนตามรูปแบบสันติวิธีตามจารีตกฎหมาย กล่าวคือมีในระดับประเทศ โดยยึดหลักการและเหตุผลทางกฎหมาย ไม่มีการใช้ความรุนแรงและเคารพระเบียบแนวทางการ จัดทํากฎหมายตามข้อกําหนดของรัฐธรรมนูญ โดยเป็นการพิจารณาแบบเป็นทางการ
2) ทัศนะของการประกาศใช้กฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ของประชาชนในสังคมไทย ประกอบไปด้วย ทัศนะความคิดเห็นที่ผ่านมาจากการใช้เหตุผลของบุคคลผู้ที่ให้ข้อมูลที่สําคัญต่อประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1) ทัศนะต่อความจําเป็นของการมีกฎหมายการสมรสของ บุคคลเพศเดียวกัน 2) ทัศนะต่อความพร้อมในการนํากฎหมายการสมรสของบุคคลเพศเดียวกันมา ประกาศใช้ 3) ทัศนะต่อการยอมรับกฎหมายการสมรสของบุคคลเพศเดียวกันจากสาธารณชน 4) ทัศนะต่อความจริงจังของภาครัฐในการนํากฎหมายการสมรสของบุคคลเพศเดียวกันมาใช้จริง และ 5) ทัศนะต่อผลกระทบจากร่างพระราชบัญญัติ การจดทะเบียนคู่ชีวิตต่อครอบครัวและสังคมไทย ซึ่งพบว่าผู้ที่ให้ข้อมูลสําคัญนั้น ล้วนแล้วแต่ทราบถึงผลกระทบของการไม่ได้รับความ คุ้มครองจากกฎหมาย ทําให้เกิดผลเสียตามมา และสนับสนุนการขับเคลื่อนกฎหมายร่าง พระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตได้อย่างจริงจัง โดยผ่านระบบเครือข่ายที่มีอยู่ในหน่วยงาน กลุ่ม องค์การหลายภาคส่วนที่ให้ความร่วมมืออย่างสม่ําเสมอ
ข้อเสนอแนะสําคัญคือการร่วมสร้างแนวทางการป้องกันแก้ไขและพัฒนาด้านนโยบายได้แก่ภาคประชาสังคมควรส่งเสริมความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศโดย หน่วยงานรัฐและเอกชนหรือองค์การทางกฎหมาย และสถาบันการศึกษาต้องร่วมพัฒนาความเท่า เทียมของมนุษย์ และสถาบันครอบครัวถือเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาด้านการปลูกฝังทัศนคติที่ เข้าใจต่อความแตกต่างหลากหลายของเพศสภาพ ตลอดจนด้านวิชาการ ควรร่วมสร้างองค์ความรู้ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศสภาพ ของสังคมมนุษย์อย่างยั่งยืน
ผลการศึกษาพบว่า
1) รูปแบบและขั้นตอนการขับเคลื่อน ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ใน ประเทศไทย พบว่าเป็นลักษณะการประกอบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใน กฎหมายในระดับการขับเคลื่อนตามรูปแบบสันติวิธีตามจารีตกฎหมาย กล่าวคือมีในระดับประเทศ โดยยึดหลักการและเหตุผลทางกฎหมาย ไม่มีการใช้ความรุนแรงและเคารพระเบียบแนวทางการ จัดทํากฎหมายตามข้อกําหนดของรัฐธรรมนูญ โดยเป็นการพิจารณาแบบเป็นทางการ
2) ทัศนะของการประกาศใช้กฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ของประชาชนในสังคมไทย ประกอบไปด้วย ทัศนะความคิดเห็นที่ผ่านมาจากการใช้เหตุผลของบุคคลผู้ที่ให้ข้อมูลที่สําคัญต่อประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1) ทัศนะต่อความจําเป็นของการมีกฎหมายการสมรสของ บุคคลเพศเดียวกัน 2) ทัศนะต่อความพร้อมในการนํากฎหมายการสมรสของบุคคลเพศเดียวกันมา ประกาศใช้ 3) ทัศนะต่อการยอมรับกฎหมายการสมรสของบุคคลเพศเดียวกันจากสาธารณชน 4) ทัศนะต่อความจริงจังของภาครัฐในการนํากฎหมายการสมรสของบุคคลเพศเดียวกันมาใช้จริง และ 5) ทัศนะต่อผลกระทบจากร่างพระราชบัญญัติ การจดทะเบียนคู่ชีวิตต่อครอบครัวและสังคมไทย ซึ่งพบว่าผู้ที่ให้ข้อมูลสําคัญนั้น ล้วนแล้วแต่ทราบถึงผลกระทบของการไม่ได้รับความ คุ้มครองจากกฎหมาย ทําให้เกิดผลเสียตามมา และสนับสนุนการขับเคลื่อนกฎหมายร่าง พระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตได้อย่างจริงจัง โดยผ่านระบบเครือข่ายที่มีอยู่ในหน่วยงาน กลุ่ม องค์การหลายภาคส่วนที่ให้ความร่วมมืออย่างสม่ําเสมอ
ข้อเสนอแนะสําคัญคือการร่วมสร้างแนวทางการป้องกันแก้ไขและพัฒนาด้านนโยบายได้แก่ภาคประชาสังคมควรส่งเสริมความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศโดย หน่วยงานรัฐและเอกชนหรือองค์การทางกฎหมาย และสถาบันการศึกษาต้องร่วมพัฒนาความเท่า เทียมของมนุษย์ และสถาบันครอบครัวถือเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาด้านการปลูกฝังทัศนคติที่ เข้าใจต่อความแตกต่างหลากหลายของเพศสภาพ ตลอดจนด้านวิชาการ ควรร่วมสร้างองค์ความรู้ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศสภาพ ของสังคมมนุษย์อย่างยั่งยืน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559