การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการทำงานของบุคคล ด้วยวิธีวิเคราะห์อภิมาน
Publisher
Issued Date
2015
Issued Date (B.E.)
2558
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
189 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b190501
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กันยพัชร์ จินายง (2015). การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการทำงานของบุคคล ด้วยวิธีวิเคราะห์อภิมาน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4421.
Title
การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการทำงานของบุคคล ด้วยวิธีวิเคราะห์อภิมาน
Alternative Title(s)
Synthesis of relationship between social support and work behavior: a meta-analysis approach
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มุ่งการสังเคราะห์งานวิจัยทางจิตพฤติกรรมศาสตร์ที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์
ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการทำงานของบุคคล ด้วยวิธีวิเคราะห์อภิมานซึ่งการ
วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุน
ทางสังคมของหัวหน้ากับพฤติกรรมการทำงานของบุคคลว่ามีค่ามากน้อยเพียงใด และพบผลที่
เด่นชัดในตัวแปรปรับประเภทใดบ้าง และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจากคน
รอบข้างกับพฤติกรรมการทำงานของบุคคลว่ามีค่ามากน้อยเพียงใด และพบผลที่เด่นชัดในตัวแปร
ปรับประเภทใด มีตัวแปรอิสระคือการสนับสนุนทางสังคมของหัวหน้า และการสนับสนุนทาง
สังคมของคนรอบข้าง ตัวแปรตามคือ พฤติกรรมการทำงานโดยรวม ซึงประกอบด้วย 4 พฤติกรรม
คือ พฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรม พฤติกรรมการทำงานอย่างปลอดภัย พฤติกรรมการ
ทำงานอย่างพลเมืองดีและพฤติกรรมการทำงานอย่างประหยัดทรัพยากร มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
ค่าสถิติ n, r และ f
กลุ่มตัวอย่าง คือ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ ในระดับบัณฑิตศึกษา รวมถึง งานวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในระหว่างปี พ.ศ. 2542-2557 จาก การสืบค้นได้จากฐานข้อมูลออนไลน์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 53 เรื่อง แบ่งเป็นงานวิจัยในประเทศไทย 29 เล่ม งานวิจัยต่างประเทศ 24 เล่ม ซึ่งมีการคัดเลือกโดยงานวิจัยนั้นต้องเป็นงานวิจัยประเภท ศึกษาสัมพันธ์เปรียบเทียบ (Comparative–correlation Study) และรวบรวมข้อมูลข้อมูลด้วยแบบวัด ชนิดมาตรประเมินรวมค่า (Summates Rating Scale) แบ่งเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสนับสนุน สังคมของหัวหน้าจำนวน ทั้งสิ้น 33 เล่ม (คิดเป็นร้อยละ 62.26) และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสนับสนุนสังคมของคนรอบข้างจำนวน ทั้งสิ้น 20 เล่ม (คิดเป็นร้อยละ 37.74) โดยมีค่าขนาด อิทธิพลรวมทั้งสิ้น 246 ค่า
จากผลการวิเคราะห์อภิมานมีผลการวิจัยที่สำคัญได้ดังนี้ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของหัวหน้า กับพฤติกรรมการทำงาน ของบุคคลโดยรวม เมื่อจำแนกตามตัวแปรปรับตามลักษณะของงานวิจัย จากผลการวิเคราะห์อภิ มาน พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนที่ตัวแปรตามในกลุ่มนักวิจัยเพศหญิงและกลุ่มรายงานการวิจัยใน ต่างประเทศ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของหัวหน้ากับพฤติกรรมการทำงานของ บุคคลโดยรวม เมื่อจำแนกตามตัวแปรปรับตามลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย จากผลการ วิเคราะห์อภิมาน พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนในกลุ่มเพศชาย (ค่าเฉลี่ยของขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.60) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของคนรอบข้าง กับพฤติกรรมการทำงาน บุคคลโดยรวม เมื่อจำแนกตามตัวแปรปรับตามลักษณะของงานวิจัย จากผลการวิเคราะห์อภิมาน พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนที่ตัวแปรตามในกลุ่มผู้วิจัยเพศหญิงและกลุ่มรายงานการวิจัยใน ต่างประเทศ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของของคนรอบข้าง กับพฤติกรรมการ ทำงาน เมื่อจำแนกตามตัวแปรปรับตามลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย จากผล การวิเคราะห์ อภิมาน พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนในกลุ่มรายได้มาก (ค่าเฉลี่ยของขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.70) สาหรับข้อเสนอแนะการปฏิบัติควรส่งเสริมกรสนับสนุนทางสังคมแก่กลุ่มที่มีรายได้มาก และกลุ่มเพศชาย เพราะพบความสัมพันธ์ที่เด่นชัด เพื่อให้เกิดผลดีในการทำงาน ส่วนการวิจัยใน อนาคต ดังนี้ 1) ควรมีการพัฒนานักวิจัยวิจัยในประเทศให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นในการทำงาน วิจัย เพื่อสามารถนำผลการวิจัยมาใช้สังเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์อภิมานได้ 2) ควรมีการแสดงค่า ดัชนีมาตรฐาน ที่หลากหลายค่า เช่น สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Product Moment Correlation) ในกลุ่มย่อยที่แบ่งตามลักษณะชีวสังคมในการวิจัยเพื่อให้งานวิจัยได้แสดงเห็นถึงผล การศึกษาในขั้นที่สูงขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้ในการสังเคราะห์งานวิจัยต่อไปได้
กลุ่มตัวอย่าง คือ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ ในระดับบัณฑิตศึกษา รวมถึง งานวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในระหว่างปี พ.ศ. 2542-2557 จาก การสืบค้นได้จากฐานข้อมูลออนไลน์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 53 เรื่อง แบ่งเป็นงานวิจัยในประเทศไทย 29 เล่ม งานวิจัยต่างประเทศ 24 เล่ม ซึ่งมีการคัดเลือกโดยงานวิจัยนั้นต้องเป็นงานวิจัยประเภท ศึกษาสัมพันธ์เปรียบเทียบ (Comparative–correlation Study) และรวบรวมข้อมูลข้อมูลด้วยแบบวัด ชนิดมาตรประเมินรวมค่า (Summates Rating Scale) แบ่งเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสนับสนุน สังคมของหัวหน้าจำนวน ทั้งสิ้น 33 เล่ม (คิดเป็นร้อยละ 62.26) และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสนับสนุนสังคมของคนรอบข้างจำนวน ทั้งสิ้น 20 เล่ม (คิดเป็นร้อยละ 37.74) โดยมีค่าขนาด อิทธิพลรวมทั้งสิ้น 246 ค่า
จากผลการวิเคราะห์อภิมานมีผลการวิจัยที่สำคัญได้ดังนี้ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของหัวหน้า กับพฤติกรรมการทำงาน ของบุคคลโดยรวม เมื่อจำแนกตามตัวแปรปรับตามลักษณะของงานวิจัย จากผลการวิเคราะห์อภิ มาน พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนที่ตัวแปรตามในกลุ่มนักวิจัยเพศหญิงและกลุ่มรายงานการวิจัยใน ต่างประเทศ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของหัวหน้ากับพฤติกรรมการทำงานของ บุคคลโดยรวม เมื่อจำแนกตามตัวแปรปรับตามลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย จากผลการ วิเคราะห์อภิมาน พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนในกลุ่มเพศชาย (ค่าเฉลี่ยของขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.60) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของคนรอบข้าง กับพฤติกรรมการทำงาน บุคคลโดยรวม เมื่อจำแนกตามตัวแปรปรับตามลักษณะของงานวิจัย จากผลการวิเคราะห์อภิมาน พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนที่ตัวแปรตามในกลุ่มผู้วิจัยเพศหญิงและกลุ่มรายงานการวิจัยใน ต่างประเทศ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของของคนรอบข้าง กับพฤติกรรมการ ทำงาน เมื่อจำแนกตามตัวแปรปรับตามลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย จากผล การวิเคราะห์ อภิมาน พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนในกลุ่มรายได้มาก (ค่าเฉลี่ยของขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.70) สาหรับข้อเสนอแนะการปฏิบัติควรส่งเสริมกรสนับสนุนทางสังคมแก่กลุ่มที่มีรายได้มาก และกลุ่มเพศชาย เพราะพบความสัมพันธ์ที่เด่นชัด เพื่อให้เกิดผลดีในการทำงาน ส่วนการวิจัยใน อนาคต ดังนี้ 1) ควรมีการพัฒนานักวิจัยวิจัยในประเทศให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นในการทำงาน วิจัย เพื่อสามารถนำผลการวิจัยมาใช้สังเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์อภิมานได้ 2) ควรมีการแสดงค่า ดัชนีมาตรฐาน ที่หลากหลายค่า เช่น สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Product Moment Correlation) ในกลุ่มย่อยที่แบ่งตามลักษณะชีวสังคมในการวิจัยเพื่อให้งานวิจัยได้แสดงเห็นถึงผล การศึกษาในขั้นที่สูงขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้ในการสังเคราะห์งานวิจัยต่อไปได้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558