อำนาจและความเป็นเหตุเป็นผลกับการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาของเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
198 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b190489
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ภัคษิมณฐ์ ปานเกตุ (2015). อำนาจและความเป็นเหตุเป็นผลกับการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาของเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4458.
Title
อำนาจและความเป็นเหตุเป็นผลกับการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาของเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา
Alternative Title(s)
Power and rationality towards local development planning a case study of one sub-district municipality in Nakhom Ratchasima Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการกำหนดทิศทางการพัฒนาในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับความเป็นเหตุเป็นผลในกระบวนการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น และ 3) ศึกษาผลลัพธ์จากการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นว่าใครเป็นผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structure Interviewing) จากบุคคลที่มีบทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในท้องถิ่น
การศึกษาพบว่า ชนชั้นนำเป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดเป็นผู้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ซึ่งกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของท้องถิ่นได้อย่างสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดแนวทางการพัฒนาของท้องถิ่น ซึ่งนำแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมามาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง สำหรับกระบวนการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ชนชั้นนำ คือ ข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น และนายทุนท้องถิ่น ใช้อำนาจกดทับความเป็นเหตุเป็นผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การแต่งตั้งองค์กรจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจในการพัฒนาท้องถิ่น การประชุมประชาคมหมู่บ้าน การประชุมประชาคมในระดับตำบล การจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา การพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโดยผู้บริหารท้องถิ่น การอนุมัติและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา การนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติ และการประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ส่วนผลลัพธ์จากการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ชนชั้นนำเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณจำนวนมาก และแบ่งปันผลประโยชน์ส่วนน้อยให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
แนวทางการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น มีดังนี้ 1) การส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้ง ภายใต้ช่องทางและรูปแบบที่มีอยู่ และการพัฒนาช่องทางและรูปแบบใหม่ๆ ให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างหลากหลายและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น 2) การกำหนด กฎหมายให้มีองค์กรที่รับผิดชอบการประเมินผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น เพื่อตรวจสอบความโปร่งใสในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น 3) การปรับปรุงโครงสร้าง ภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านมาตรการทางด้านกฎหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพของสภาท้องถิ่นและเกื้อหนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน 4) การพัฒนาข้าราชการท้องถิ่นโดยจัดฝึกอบรมเพื่อซักซ้อม ทำความเข้าใจ และชี้แจงการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นที่ถูกต้อง รวมทั้งต้องมีระบบการติดตามและประเมินผลจากการฝึกอบรมอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง และ 5) การปรับสัดส่วนและวิธีการคัดเลือกคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ที่มาจากภาคประชาชนให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังทั้งจากราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน
การศึกษาพบว่า ชนชั้นนำเป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดเป็นผู้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ซึ่งกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของท้องถิ่นได้อย่างสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดแนวทางการพัฒนาของท้องถิ่น ซึ่งนำแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมามาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง สำหรับกระบวนการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ชนชั้นนำ คือ ข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น และนายทุนท้องถิ่น ใช้อำนาจกดทับความเป็นเหตุเป็นผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การแต่งตั้งองค์กรจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจในการพัฒนาท้องถิ่น การประชุมประชาคมหมู่บ้าน การประชุมประชาคมในระดับตำบล การจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา การพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโดยผู้บริหารท้องถิ่น การอนุมัติและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา การนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติ และการประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ส่วนผลลัพธ์จากการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ชนชั้นนำเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณจำนวนมาก และแบ่งปันผลประโยชน์ส่วนน้อยให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
แนวทางการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น มีดังนี้ 1) การส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้ง ภายใต้ช่องทางและรูปแบบที่มีอยู่ และการพัฒนาช่องทางและรูปแบบใหม่ๆ ให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างหลากหลายและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น 2) การกำหนด กฎหมายให้มีองค์กรที่รับผิดชอบการประเมินผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น เพื่อตรวจสอบความโปร่งใสในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น 3) การปรับปรุงโครงสร้าง ภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านมาตรการทางด้านกฎหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพของสภาท้องถิ่นและเกื้อหนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน 4) การพัฒนาข้าราชการท้องถิ่นโดยจัดฝึกอบรมเพื่อซักซ้อม ทำความเข้าใจ และชี้แจงการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นที่ถูกต้อง รวมทั้งต้องมีระบบการติดตามและประเมินผลจากการฝึกอบรมอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง และ 5) การปรับสัดส่วนและวิธีการคัดเลือกคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ที่มาจากภาคประชาชนให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังทั้งจากราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558