แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
by ปรัชญา บุญเดช
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for tourism development in Tham Le Khao Kob at Huaiyot District, Trand Province |
ผู้แต่ง: | ปรัชญา บุญเดช |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | แสงแข บุญศิริ |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทความพร้อมของการพัฒนาการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 2) เพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวด้านการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 3) เพื่อประเมินศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 4) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มตัวแทนชุมชนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยศึกษาและสร้างเครื่องมือการวิจัยตามแนวทฤษฎี 5A คือ ด้านความดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว (Attraction) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว (Activities) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว (Amenities) ด้านความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Access) และด้านที่พัก (Accommodation) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ 1) การแจกแจงหาความถี่ร้อยละ 2) การหาค่าเฉลี่ย 3) การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4) สถิติ t-test ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสองกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน 5) สถิติ F-test (One -Way ANOVA) 6) สถิติ Paired Sample t-test สำหรับค่าความแตกต่างหรือช่องว่างระหว่างความต้องการด้านการท่องเที่ยวกับศักยภาพการท่องเที่ยว
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวมีความต้องการด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 กล่าวคือ มีความต้องการในระดับมากที่สุด และนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อศักยภาพด้านความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.97 กล่าวคือ มีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ประกอบด้วย อายุ ภูมิลำเนา และรายได้ต่อเดือนของนักท่องเที่ยว ส่งผลต่อความต้องการด้านการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรังที่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนบุคคลที่ประกอบด้วย รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา และอาชีพของนักท่องเที่ยว ส่งผลต่อความคิดเห็นต่อศักยภาพการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ที่แตกต่างกัน เมื่อคำนวณหาค่าความต่างหรือช่องว่างขององค์ประกอบทางการท่องเที่ยวทั้ง 5 ด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวมีความต้องการด้านการท่องเที่ยวมากกว่าศักยภาพการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ทุกด้าน โดยช่องว่างที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | การท่องเที่ยว -- ไทย -- ตรัง
ถ้ำ -- การท่องเที่ยว ถ้ำ --ไทย -- ตรัง -- ห้วยยอด ถ้ำเลเขากอบ (ตรัง) |
คำสำคัญ: | e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 139 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4468 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|