การสื่อสารนวัตกรรมการพัฒนาของกิจการเพื่อสังคมองค์กรนวัตกรรมชาวบ้าน
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
357 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190085
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ขวัญชนก หมั่นหมาย (2015). การสื่อสารนวัตกรรมการพัฒนาของกิจการเพื่อสังคมองค์กรนวัตกรรมชาวบ้าน. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4831.
Title
การสื่อสารนวัตกรรมการพัฒนาของกิจการเพื่อสังคมองค์กรนวัตกรรมชาวบ้าน
Alternative Title(s)
Innovative development communication of social enterprises : grassroots innovation organization
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสาร กลยุทธ์ การสื่อสารขององค์กรนวัตกรรมชาวบ้าน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน(2) ศึกษาบทบาทการสื่อสาร ขององค์กรนวัตกรรมชาวบ้านในการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม (3) ศึกษาปัจจัย การสื่อสารที่มีผลต่อการพัฒนาขององค์กรนวัตกรรมชาวบ้าน รวมถึงแนวโน้มการสื่อสารใน อนาคตขององค์กรนวัตกรรมชาวบ้าน (4) ศึกษาประสิทธิผลการใช้นวัตกรรมขององค์กรนวัตกรรม ชาวบ้าน งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) ผลการศึกษาพบว่า :
1) องค์กรนวัตกรรมชาวบ้านมีการสื่อสารตามพัฒนาการขององค์กรได้แก่การรวมกลุ่ม เกษตรกร เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน บริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้และ กองทุนนวัตกรรมชาวบ้าน ตามลําดับ โดยมีกระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาและจัดการองค์กร และเพื่อสร้างการยอมรับนวัตกรรม ในหลากหลายรูปแบบการสื่อสาร และมีการใช้กลยุทธ์การ สื่อสารได้แก่กลยุทธ์เกี่ยวกับผู้ส่งสารกลยุทธ์การสร้างสารและกลยุทธ์การใช้สื่อ
2) องค์กรนวัตกรรมชาวบ้านทำให้เกิดการพัฒนา 3 มิติได้แก่ (1) การพัฒนามิติสังคมด้วย กระบวนการนวัตกรรมสังคม โดยการสื่อสารมีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมสังคม บูรณาการ นวัตกรรมสังคม และขยายผลนวัตกรรมสังคม (2) สําหรับการพัฒนามิติเศรษฐกิจมีการพัฒนาตาม ลักษณะกิจการเพื่อสังคมของสํานักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ โดยการสื่อสารมี บทบาท คือการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ, การวางแผนและกำหนดทิศทางธุรกิจ, การสร้างความ มั่นคงในการประกอบอาชีพ และการเสริมประสิทธิภาพการผลิต (3) การพัฒนามิติสิ่งแวดล้อมยึด ตามข้อกำหนดของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements-IFOAM) โดยการสื่อสารมีบทบาท คือ การเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี, การเสริมศักยภาพและให้ความรู้เกี่ยวกบั สิ่งแวดล้อม, การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ในการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม, การปลูกฝังแนวคิดการรักและใส่ใจธรรมชาติ
3) ปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อการพัฒนาขององค์กรนวัตกรรมชาวบ้าน คือ ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างและพัฒนาเครือข่ายการสื่อสาร, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน และบริหารจัดการองค์กร, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเกษตรแบบใหม่,และปัจจัยที่มีผลต่อการมี ส่วนร่วมของเกษตรกร ส่วนปัจจัยอุปสรรค ได้แก่ ปัญหาและขอ้จำกัดของการพัฒนาเครือข่าย, ปัญหาและข้อจำกัดของการยอมรับเกษตรแบบใหม่, ปัญหาและข้อจำกัด ด้านการบริหารจดัการ, ข้อจำกัดทางการสื่อสาร นอกจากนี้ผลการศึกษาแนวโน้มการสื่อสารในอนาคตขององค์กร นวัตกรรมชาวบ้าน ได้แก่การขยายองค์กรเพื่อความยั่งยืน, การบริหารจัดการองค์กร, การขยายผล ระดับปัจเจกเป็นระดับสังคม,การยกระดับการเปลี่ยนแปลง,การสร้างทายาทเกษตร, ประเด็นการ พัฒนาในอนาคต, การพัฒนาการสื่อสาร,และการพัฒนาการตลาด
4) ประสิทธิผลการใช้นวัตกรรมขององค์กรนวัตกรรมชาวบ้าน พบว่า (1) โครงการที่มี ผู้เข้าร่วมมากที่สุดคือ นาอินทรีย์ (2) องค์ประกอบนวัตกรรมที่เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเจ้าของ ได้แก่ แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ตามลําดับ (3) ขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรมพื้นฐานที่เกษตรกรมีร่วมกัน ได้แก่การรู้จักนวัตกรรมชาวบ้าน การสมัคร การรู้จักเกษตรอินทรีย์ การทําเกษตรอินทรีย์ ตามลําดับ (4) ผู้ส่งสารและสื่อเป็นปัจจัยการสื่อสารที่ทำให้เกิดการยอมรับนวัตกรรมได้มาก นอกจากนี้ (5) บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการรับนวัตกรรมในเชิงบวกได้แก่ สามีหรือภรรยา ส่วนบุคคล ที่คัดค้านการรับนวัตกรรมมากที่สุด ได้แก่ เพื่อนบ้าน และสําหรับ (6) การวัดการยอมรับนวัตกรรม โดยรวมอยู่ในนระดับปานกลางและพบว่า เกษตรกรมีความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคลมาก
1) องค์กรนวัตกรรมชาวบ้านมีการสื่อสารตามพัฒนาการขององค์กรได้แก่การรวมกลุ่ม เกษตรกร เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน บริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้และ กองทุนนวัตกรรมชาวบ้าน ตามลําดับ โดยมีกระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาและจัดการองค์กร และเพื่อสร้างการยอมรับนวัตกรรม ในหลากหลายรูปแบบการสื่อสาร และมีการใช้กลยุทธ์การ สื่อสารได้แก่กลยุทธ์เกี่ยวกับผู้ส่งสารกลยุทธ์การสร้างสารและกลยุทธ์การใช้สื่อ
2) องค์กรนวัตกรรมชาวบ้านทำให้เกิดการพัฒนา 3 มิติได้แก่ (1) การพัฒนามิติสังคมด้วย กระบวนการนวัตกรรมสังคม โดยการสื่อสารมีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมสังคม บูรณาการ นวัตกรรมสังคม และขยายผลนวัตกรรมสังคม (2) สําหรับการพัฒนามิติเศรษฐกิจมีการพัฒนาตาม ลักษณะกิจการเพื่อสังคมของสํานักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ โดยการสื่อสารมี บทบาท คือการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ, การวางแผนและกำหนดทิศทางธุรกิจ, การสร้างความ มั่นคงในการประกอบอาชีพ และการเสริมประสิทธิภาพการผลิต (3) การพัฒนามิติสิ่งแวดล้อมยึด ตามข้อกำหนดของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements-IFOAM) โดยการสื่อสารมีบทบาท คือ การเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี, การเสริมศักยภาพและให้ความรู้เกี่ยวกบั สิ่งแวดล้อม, การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ในการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม, การปลูกฝังแนวคิดการรักและใส่ใจธรรมชาติ
3) ปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อการพัฒนาขององค์กรนวัตกรรมชาวบ้าน คือ ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างและพัฒนาเครือข่ายการสื่อสาร, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน และบริหารจัดการองค์กร, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเกษตรแบบใหม่,และปัจจัยที่มีผลต่อการมี ส่วนร่วมของเกษตรกร ส่วนปัจจัยอุปสรรค ได้แก่ ปัญหาและขอ้จำกัดของการพัฒนาเครือข่าย, ปัญหาและข้อจำกัดของการยอมรับเกษตรแบบใหม่, ปัญหาและข้อจำกัด ด้านการบริหารจดัการ, ข้อจำกัดทางการสื่อสาร นอกจากนี้ผลการศึกษาแนวโน้มการสื่อสารในอนาคตขององค์กร นวัตกรรมชาวบ้าน ได้แก่การขยายองค์กรเพื่อความยั่งยืน, การบริหารจัดการองค์กร, การขยายผล ระดับปัจเจกเป็นระดับสังคม,การยกระดับการเปลี่ยนแปลง,การสร้างทายาทเกษตร, ประเด็นการ พัฒนาในอนาคต, การพัฒนาการสื่อสาร,และการพัฒนาการตลาด
4) ประสิทธิผลการใช้นวัตกรรมขององค์กรนวัตกรรมชาวบ้าน พบว่า (1) โครงการที่มี ผู้เข้าร่วมมากที่สุดคือ นาอินทรีย์ (2) องค์ประกอบนวัตกรรมที่เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเจ้าของ ได้แก่ แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ตามลําดับ (3) ขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรมพื้นฐานที่เกษตรกรมีร่วมกัน ได้แก่การรู้จักนวัตกรรมชาวบ้าน การสมัคร การรู้จักเกษตรอินทรีย์ การทําเกษตรอินทรีย์ ตามลําดับ (4) ผู้ส่งสารและสื่อเป็นปัจจัยการสื่อสารที่ทำให้เกิดการยอมรับนวัตกรรมได้มาก นอกจากนี้ (5) บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการรับนวัตกรรมในเชิงบวกได้แก่ สามีหรือภรรยา ส่วนบุคคล ที่คัดค้านการรับนวัตกรรมมากที่สุด ได้แก่ เพื่อนบ้าน และสําหรับ (6) การวัดการยอมรับนวัตกรรม โดยรวมอยู่ในนระดับปานกลางและพบว่า เกษตรกรมีความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคลมาก
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558