• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

by ตฤณธวัช วงษ์ประเสริฐ

Title:

ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Attitude and behavior using on facebook of working people in Bnagkok

Author(s):

ตฤณธวัช วงษ์ประเสริฐ

Advisor:

กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

Degree department:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) และ 3) เพื่อศึกษาถึงผลกระทบจากการ ใช้งานเฟซบุ๊ก(Facebook) ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ วัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุระหวา่ง 22 – 59 ปี จำนวน 400 คน ที่เคยใช้บริการงาน เฟซบุ๊ก (Facebook) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย t-test, F-test และทำการทดสอบด้วย LSD และวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ด้วย Pearson Correlation
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 40 - 49 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาโท เป็นพนักงานบริษัท/พนักงานของรัฐ /ข้าราชการ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเฉลี่ยต่อ เดือน 30,001 – 40,000 บาท พฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก(Facebook) พบว่า ส่วนใหญ่ใช้งาน 7 วันต่อสัปดาห์ มีการใช้งานมากกว่า 10 ครั้งต่อวันสถานที่ใช้งานและการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ก (Facebook) ผู้ใช้บริการใช้ที่บ้าน/หอพัก/ที่พักอาศัยส่วนใหญ่ผ่านโทรศัพท์มือถือ ช่วงเวลาที่ใช้ 16.01 น.-20.00 น. และพฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับานกลางโดยมีการกดปุ่ม (Like) เพื่อแสดงความชื่นชอบหัวข้อ, รูปภาพ, วีดีโอ, หรือ โพสต์ต่าง ๆ ของเพื่อน ๆ ส่วนทัศนคติในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวม พบว่า มีทัศนคติที่ชอบ ได้แก่ เฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในปัจจุบัน ผลกระทบที่ได้จากการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมอยู่ในระดับมากในด้านทำให้เกิดการล่วงละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้นเช่นการบันทึกรูปข้อมูลหรือนำรูป, ข้อมูลของ ผู้อื่นมาเผยแผ่ , โพสต์หรือแชร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจา้ของรูปภาพหรือข้อมูลนั้น ๆ เมื่อ ทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุและรายได้ต่อเดือน มีทัศนคติในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนทัศนคติ ในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใชง้านเฟซบุ๊ก (Facebook) อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลกระทบในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ในระดับต่ำโดยมีค่าสหสัมพันธ์ r = .196 อยา่งมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และรักษาความปลอดภัยใน การทำธุรกรรม และการปรับปรุงคุณภาพเนื้อหาขอ้มูลข่าวสารมีความน่าเชื่อถือทันยุคทันเหตุการณ์ และมีการคัดกรองผู้ที่ประสงค์ร้ายกับผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) รวมทั้งควรศึกษาเปรียบเทียบ การใชสื่อสังคมออนไลน์ประเภทอื่น เช่น Line , Instragram เพราะเป็นเครือข่ายสังคมที่มีอิทธิพล ในการใช้บริการ

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

สื่อสังคมออนไลน์

Keyword(s):

เฟซบุ๊ก
วัยทำงาน
Facebook

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

114 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4924
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b190104.pdf ( 2,002.62 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [175]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×