• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

อิทธิพลของการลงโทษจำคุกกับลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง

by ฌ.กะเฌอ มณีเทพ

Title:

อิทธิพลของการลงโทษจำคุกกับลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง

Other title(s):

The effects of imprisonment on the characteristics related to the tendency to repeat criminal offenses by inmates

Author(s):

ฌ.กะเฌอ มณีเทพ

Advisor:

เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องอิทธิพลจากการลงโทษจำคุกต่อลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการถูกตีตราทางสังคมด้วยการลงโทษจำคุกต่อลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมระหว่างอายุและโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูกับลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง โดยการศึกษาจากเอกสารแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ต้องขังชายที่ต้องขังในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด จำนวน 444 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขังในระดับน้อย แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ต้องขังมีลักษณะของการต่อต้านค่านิยมของสังคม และการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ลักษณะด้านการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง และการมีความสามารถในการควบคุมตนเองต่ำอยู่ในระดับน้อย โดยมีลักษณะด้านการขาดกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในระดับน้อยที่สุด 2) จำนวนครั้งในการจำคุกและอายุของผู้ต้องขัง เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง โดยผู้ต้องขังที่มีจำนวนครั้งมากกว่าจะมีลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขังมากกว่า ซึ่งสะท้อนจำนวนครั้งในการมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนของบุคคลนั้น ๆ ส่งผลให้เกิดการตีตราซ้ำจากสังคมและถูกปฏิเสธจากสังคม และผู้ต้องขังที่มีอายุที่น้อยกว่าจะมีระดับการตีตราตนเองเป็นอาชญากรมากกว่าผู้ต้องขังที่มีอายุมากกว่า เนื่องจากผู้ที่มีอายุมากกว่ามีความมั่นคงทางด้านอารมณ์ ความคิด ทำให้มีภูมิคุ้มกันปฏิกิริยาตอบโต้จากสังคมมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 3) ไม่พบว่ามีอิทธิพลร่วมระหว่างอายุและโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูต่อลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง
The objective of the research entitled “The Effects of Imprisonment on the Characteristics Related to the Tendency to Repeat Criminal Offenses by Inmates” was to study: 1) the characteristics related to the tendency to repeat criminal offenses by inmates, 2) the effects of imprisonment-related social stigmatization on the characteristics related to the tendency to repeat criminal offenses by inmates, and 3) the interaction effects between age plus rehabilitation programs and the characteristics related to the tendency to repeat criminal offenses by inmates. This research involved the review of literature on relevant theories as well as questionnaire-based surveys with 444 drug-related inmates. The research found that most of the inmates possessed characteristics related to the tendency to repeat criminal offenses at a low level. However, in all aspects, they had anti-social values and entitlement at a high level, while their rationalization and low self-control were at a low level. Their cognitive laziness was at the lowest level. The number of times being imprisoned and age were factors which contributed to their characteristics related to the tendency to repeat criminal offenses. The higher the number of times of being imprisoned, the more likely the inmates had characteristics related to the tendency to repeat criminal offenses. This reflected the number of times of deviant behaviors they implemented, which resulted in them experiencing repeated social stigmatization and social rejection. The research revealed that the younger inmates had a higher level of self-stigmatization related to being criminals than their older counterparts. This was derived from the fact that the older inmates had more emotional and cognitive stability; thus, they were more immune to social reactions than the younger ones. No interaction effects between age plus rehabilitation programs and the characteristics related to the tendency to repeat criminal offenses by inmates were identified.

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

Subject(s):

นักโทษ
การลงโทษ
จิตวิทยาอาชญากร
พฤติกรรมอาชญากร

Keyword(s):

e-Thesis
อาชญากร
ผู้ต้องขัง
การตีตรา

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

116 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5038
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b208166.pdf ( 2,942.92 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×