Title:
| การคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราว กรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย |
Other title(s):
| Labour protection on temporary suspension of business operation in case employer's business affected by flood disaster |
Author(s):
| ประภัสสร รัตนวิเชียร |
Advisor:
| วริยา ล้ำเลิศ |
Degree name:
| ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level:
| Master's |
Degree discipline:
| กฎหมายและการจัดการ |
Degree department:
| คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date:
| 2016 |
Publisher:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract:
|
มหาอุทกภัยปี 2554 นับได้ว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยสร้างความเดือดร้อนเสียหายทั้งทรัพย์สิน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนการสูญเสียชีวิตโดยเฉพาะสถานประกอบกิจการที่ได้รับความเสียหายส่งผลให้นายจ้างจำนวนไม่น้อยตัดสินใจหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยครั้งนั้นจนไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ โดยมิได้ประสงค์จะหยุดกิจการเป็นการถาวร เมื่อกิจการนายจ้างประสบอุทกภัยก็ย่อมส่งผลต่อสถานภาพของแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การหยุดกิจการชั่วคราวกรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย เป็นการหยุดกิจการซึ่งไม่ได้เกิดจากความผิดของลูกจ้าง แต่นายจ้างมีความจำเป็น ซึ่งการหยุดกิจการชั่วคราวถือเป็นมาตรการในการชะลอการเลิกจ้าง เพื่อไม่ให้ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนมากเกินควรในขณะที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 มาตรา 75 ได้กำหนดการคุ้มครองลูกจ้างกรณีนายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะจากเดิมที่ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 6 ว่าด้วยการจ้าแรงงานซึ่งไม่มีลักษณะเป็นการคุ้มครองแรงงาน ประภัสสร รัตนวิเชียร
ผลจากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 กำหนดถึงการให้ความคุ้มครองลูกจ้างในกรณีมีความจำเป็นซึ่งไม่ใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างมีหน้าที่ในการจ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการซึ่งไม่ใช่ค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน อีกทั้งกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ในการแจ้งแก่ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้านั้น อย่างไรก็ตามการคุ้มครองแรงงานดังกล่าวก็ยังมีช่องว่างให้นายจ้างบางรายยกเหตุมหาอุทกภัยอันเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อความเป็นเหตุสุดวิสัยผ่านพ้นไปแล้วแต่นายจ้างอ้างเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นจริงยังคงมีอยู่ เพื่อเลี่ยงไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการกำหนดความหมายและระยะเวลาของการหยุดกิจการชั่วคราวและอีกหน้าที่หนึ่งของนายจ้าง คือ หน้าที่การแจ้งแก่ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าหากเป็นกรณีที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัย นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งแก่พนักงานตรวจแรงงานทราบกำหนดให้แจ้งเพียงเฉพาะเป็นหนังสือให้ทราบล่วงหน้าเท่านั้น ผู้วิจัยเห็นควรให้มีการเพิ่มช่องทางการแจ้งด้วยวิธีอื่น ๆ โดยนำช่องทางการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ลูกจ้างทราบโดยสะดวก รวดเร็วกว่า นอกจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 แล้ว ยังมีมาตรการให้ความช่วยเหลือแรงงานโดยภาครัฐผ่านโครงการต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่บรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างครอบคลุมในทุกด้านตามความเมาะสมเท่าที่ควรด้วยหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในแต่ละโครงการ ดังนั้นการศึกษาการคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราวกรณีนายจ้างประสบอุทกภัย เพื่อประโยชน์ในการให้ความคุ้มครอง ดูแล และให้ความช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งนับเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป
|
Description:
|
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (กฎหมายและการจัดการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559
|
Subject(s):
| กฎหมายแรงงาน |
Keyword(s):
| นายจ้าง
ลูกจ้าง |
Resource type:
| วิทยานิพนธ์ |
Extent:
| 109 แผ่น |
Type:
| Text |
File type:
| application/pdf |
Language:
| tha |
Rights:
| ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s):
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI:
| https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5043 |