• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับฟิชชิ่ง

by กุลธิดา อาธิเจริญสุข

Title:

การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับฟิชชิ่ง

Other title(s):

Law enforcement related to phishing

Author(s):

กุลธิดา อาธิเจริญสุข

Advisor:

วราภรณ์ วนาพิทักษ์

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันพัฒนามาจากอาชญากรรมแบบเดิมโดยมีความ ร้ายแรงและสะดวกรวดเร็วทั้งยังแนบเนียนกว่าอาชญากรรมแบบเดิม โดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่าง รวดเร็วเป็นเครื่องมือ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีหลากหลายและทวีความรุนแรงก่อให้เกิด ความเสียหายมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบฟิชชิ่ง (Phishing) ได้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจํานวนมหาศาลรวมไปถึงขัดต่อหลักความสงบ เรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สําหรับการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษา แนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และฟิชชิ่ง 2. ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ฟิชชิ่งของประเทศไทยและต่างประเทศ 3. วิเคราะห์ถึงแนวทางปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ บทลงโทษ ค่าเสียหาย และสิทธิในการดําเนินคดีของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ 4. นําเสนอแนวทางในการ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับฟิชชิ่งของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ
วิธีการศึกษา วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะศึกษาถึงข้อบกพร่องของกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบฟิชชิ่ง ในส่วนที่เป็นกฎหมายสารบัญญัติ อันเป็นสาเหตุที่ ก่อให้เกิดปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้องในการบังคับใช้ของ 1. ประมวลกฎหมายอาญา 2. พระราช บัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 3. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... เสนอโดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร 4. ร่างพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ฉบับ สพธอ. 2556 5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... ฉบับสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณา แล้วเรื่องเสร็จที่ 919/2558 และ 6. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... ฉบับประชุม สนช. ครั้งที่ 26/2559 (อ.พ.28/2559) นอกจากนี้ ก็ยังศึกษาหา มาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางด้านอื่นๆ ของนานาอารยะประเทศเพื่อแสวงหาแนวทางใน การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกําหนดมาตรการอื่น ๆ
จากการศึกษา พบว่ากฎหมายสารบัญญัติของไทยที่มีอยู่สามารถใช้บังคับได้กับอาชญากรรม คอมพิวเตอร์ในรูปแบบฟิชชิ่งได้เพียงบางส่วน อันเนื่องจากอาชญากรรมประเภทนี้มีรูปแบบขั้นตอน ต่างจากอาชญากรรมการกระทําความผิดแบบดั้งเดิม และการตีความของบทบัญญัติของกฎหมาย ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายที่ผิดเจตนารมณ์ที่แท้จริง ฉะนั้นจึงควรบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ให้มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น โดยผู้เขียนเห็นว่าควรนํากฎหมายฟิชชิ่งของรัฐเทนเนสซีมาประยุกต์ใช้ ซึ่งมีหลักการคล้าย กับรัฐนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐยูทาห์ แต่ของรัฐเทนเนสซี มีความละเอียดกว่าเนื่องจาก สามารถปรับใช้ได้กับการกระทําความผิดฐานฟิชชิ่งในทุกขั้นตอนรวมไปถึงการฟาร์มมิ่ง และการ พยายามกระทําความผิดถือเป็นความผิด ตลอดจนกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการที่ผู้เสียหายมีสิทธิ เรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมจากค่าเสียหายที่แท้จริงได้ ซึ่งกฎหมายไทยเป็นบทบัญญัติทางอาญา จึงควรมี การกําหนดพิจารณาแก้ไขเพิ่มโทษปรับเป็นจํานวนเท่าของผลประโยชน์ที่ได้รับ เนื่องจากเมื่อเวลาผ่าน ไปอัตราโทษปรับหากมีการกําหนดจํานวนอาจมีการลดค่าไปตามกาลเวลา รวมถึงสิทธิในการ ดําเนินคดีของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผู้ทีได้รับผลกระทบจากการฟิชชิ่ง ซึ่งไม่ได้มีเพียงแต่ผู้เสียหายที่เป็น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือเจ้าของทรัพย์เท่านั้น แต่ยังคงมีบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการ ให้บริการอินเทอร์เน็ต เจ้าของเว็บไซต์ เจ้าของเว็บเพจ หรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าและฟิชชิ่งเป็น ความผิดที่กระทบต่อส่วนรวม ควรถือการการะทําดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐโดยตรง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับฟิชชิ่งได้ประโยนชน์สูงสุดและรักษาไว้ซึ่งระบบเศรษฐกิจของประเทศที่กําลัง ก้าวสู่ยุคดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมั่นคงและปลอดภัย

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
คอมพิวเตอร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์

Keyword(s):

ฟิชชิ่ง

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

295 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5046
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b194174.pdf ( 2,198.67 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×