การศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์
Files
Publisher
Issued Date
2019
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
83 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b208174
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
เผ่าพันธุ์ แย่งคุณเชาว์ (2019). การศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ . Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5056.
Title
การศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์
Alternative Title(s)
A study on consumers willingness to pay for organic rice products
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าคุณลักษณะที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพและด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ และทำการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นของผู้บริโภค โดยใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ด้วยเทคนิคสมมติเหตุการณ์ด้วยการถามคำถามปลายปิดแบบสองคำถาม (The Double bounded Contingent Valuation Method) โดยใช้แบบจำลองผลต่างของอรรถประโยชน์ (Utility difference model) ในการคำนวณค่าเฉลี่ยความเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 620 ราย ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล ซึ่งได้ทำการแบ่งวิธีการสำรวจข้อมูลภาคสนาม ออกเป็น สองวิธีการ ได้แก่ วิธีการสำรวจแบบออนไลน์ (Online survay) และวิธีการสำรวจโดยการสัมภาษณ์ต่อหน้า (Face to face survay) พร้อมทั้ง แบ่งคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ หรือคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ออกเป็นสองประเภท คือ คุณลักษณะที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพ และคุณลักษณะที่เป็นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม
ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล มีความเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นต่อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่มีคุณลักษณะที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพ อาจกล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์ส่วนตัว(private benefit)ของผู้บริโภค ที่สูงกว่าคุณลักษณะที่เป็นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถือว่า เป็นมูลค่าของค่าตอบแทนคุณนิเวศบริการ (Payment for Ecosystem Services) อีกทั้งพบว่า อาชีพ ระดับราคา ระดับรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อหัว เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญกับความเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์
This study aims to evaluate the health and environmental benefits of organic rice products using the environmental economics valuation technique. By introducing the double bounded contingent valuation method and the utility difference model to elicit willingness to pay of organic rice consumers and to investigate the socioeconomic determinants of the willingness to pay from 620 samples, of Bangkok and Metropolis consumers. the study surveyed by using online and face to face survey approach and also divided into two categories in accordance with the characteristics of the products The results show that Bangkok and Metropolis consumers are willing to pay more for organic rice products with features that are beneficial to health, can call the value are private or individual benefits than environmental, which can interpret the value are the Payment for Ecosystem Services. In addition, the socioeconomic factors: status of works, initial bid (price), average household income per head show statistical significance on consumers willingness to pay.
This study aims to evaluate the health and environmental benefits of organic rice products using the environmental economics valuation technique. By introducing the double bounded contingent valuation method and the utility difference model to elicit willingness to pay of organic rice consumers and to investigate the socioeconomic determinants of the willingness to pay from 620 samples, of Bangkok and Metropolis consumers. the study surveyed by using online and face to face survey approach and also divided into two categories in accordance with the characteristics of the products The results show that Bangkok and Metropolis consumers are willing to pay more for organic rice products with features that are beneficial to health, can call the value are private or individual benefits than environmental, which can interpret the value are the Payment for Ecosystem Services. In addition, the socioeconomic factors: status of works, initial bid (price), average household income per head show statistical significance on consumers willingness to pay.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562