การส่งผ่านผลกระทบจากความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจต่างประเทศต่อตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย
by อัสมา โมรา
Title: | การส่งผ่านผลกระทบจากความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจต่างประเทศต่อตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย |
Other title(s): | The spillover effects of global economic policy uncertainty (GEPU) on emerging equity markets : evidence from Thailand |
Author(s): | อัสมา โมรา |
Advisor: | ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์ |
Degree name: | เศรษฐศาตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
Degree department: | คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการส่งผ่านผลกระทบของความเสี่ยงจากต่างประเทศในรูปของความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจโลก ที่มีต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยวิเคราะห์ทั้งในระดับดัชนีตลาดหลักทรัพย์โดยรวมและดัชนีรายอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงก่อนปี 2553 ดัชนีความไม่แน่นอนทางนโยบายเศรษฐกิจโลก และดัชนีความกลัว (VIX) สามารถอธิบายการส่งผ่านผลกระทบจากต่างประเทศมายังผลตอบแทนการลงทุนในตลาดฯ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในช่วงหลังปี 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาเริ่มใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ (Quantitative Easing : QE) ดัชนี VIX มีการปรับตัวลดลงสวนทางกับดัชนีความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีค่าสูงตามความเสี่ยงทางการเมืองที่ยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก โดยในช่วงนี้ดัชนี VIX เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบมายังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งต่อผลตอบแทนและความผันผวนของการลงทุน ส่วนดัชนีความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจโลกไม่ส่งผลต่อการลงทุนในตลาดฯ อย่างมีนัยสำคัญในช่วงนี้ ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าดัชนี VIX เป็นตัวแปรสำคัญในการจับตาการส่งผ่านผลกระทบมายังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งในด้านผลตอบแทนและความผันผวนการลงทุน ส่วนดัชนีความไม่แน่นอนทางนโยบายเศรษฐกิจโลกมีบทบาทเสริมในการอธิบายการส่งผ่านผลกระทบในช่วงที่ปรับตัวไปพร้อมกับดัชนี VIX ทั้งนี้เมื่อพิจารณาพบว่าหลักทรัพย์กลุ่มทรัพยากรได้รับผลกระทบทั้งในด้านผลตอบแทนและความผันผวนการลงทุน จากทั้งดัชนี VIX และดัชนีความไม่แน่นอนทางนโยบายเศรษฐกิจโลกชัดเจนที่สุด ในส่วนของการวิเคราะห์ผลที่มีต่อความเสี่ยงที่เป็นระบบของหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า ตัวแปรที่สะท้อนความเสี่ยงจากต่างประเทศที่ทำการศึกษาไม่ได้ส่งผลให้ความเสี่ยงที่เป็นระบบของหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแตกต่างจากความเสี่ยงโดยรวมของตลาดอย่างมีนัยยะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงโดยรวมของการลงทุนในหลักทรัพย์แต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม แต่ไม่ได้ทำให้หลักทรัพย์กลุ่มใดมีความเสี่ยงแตกต่างจากตลาดโดยรวมอย่างชัดเจน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นโยบายเศรษฐกิจ -- ไทย |
Keyword(s): | e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 60 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5057 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|