• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

ปัญหาและผลกระทบของการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานในเขตต่อเนื่องของประเทศไทย

by วัฒนัน พรเลิศพงศ์

ชื่อเรื่อง:

ปัญหาและผลกระทบของการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานในเขตต่อเนื่องของประเทศไทย

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Problem and impacts on the smuggling of migrants in the contiguous zone of Thailand

ผู้แต่ง:

วัฒนัน พรเลิศพงศ์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

เกียรติพร อำไพ

ชื่อปริญญา:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

กฎหมายเพื่อการบริหาร

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2562

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาสถานการณ์ในปัญหาการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ขอบเขตการให้อำนาจและการบังคับใช้กฎหมายในเขตต่อเนื่องของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมต่อประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ปัญหาและผลกระทบของการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานในเขตต่อเนื่องของประเทศไทย เกิดจากกฎหมายภายในยังขาดความชัดเจน และความกำกวมในข้อ 33 ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ส่งผลให้ประเทศไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาและผลกระทบดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ผู้เขียนมีความเห็นว่า ต้องสร้างกฎเกณฑ์ มาตรการ หรือกฎหมายบังคับใช้ในเขตต่อเนื่องเป็นการเฉพาะหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องใน 4 เรื่อง ได้แก่ การศุลกากร การคลัง การเข้าเมือง และการสุขาภิบาล ให้ครอบคลุมบริเวณเขตต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเข้าเมืองซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน นอกจากนี้ การตีความข้อ 33 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย ควรใช้แนวปฏิบัติของนานาชาติในแนวทางที่ 3 คือ การกำหนดให้การกระทำว่าด้วยการศุลกากร การคลัง การเข้าเมือง และการสุขาภิบาล สามารถป้องกันและลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนการป้องกันในเขตต่อเนื่องได้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อ 33 มากที่สุด ตลอดจนสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการมีเขตต่อเนื่องในการเป็นพื้นที่กันชนและตรวจสอบ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาและผลกระทบของการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานในเขตต่อเนื่องของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
This research aims to study the situation of migrants smuggling problem, scope of jurisdiction and law enforcement in the contiguous zones between Thailand and neighbouring countries in order to find appropriate practical guidelines for Thailand. Upon the study, it has been found that the causes of migrants smuggling problem are; the domestic law on contiguous zones remains inexplicit as well as ambiguous contained in the Article 33 of the United Nations Convention on the Law of the Sea, 1982. The aforesaid causes not only create problem but also reproduce negative consequences, so the government required to work out on the issue hastily to protect national interests. The author suggests that the specific rules, measures and laws shall be enforced among the contiguous zones. Either, the relevant laws in 4 areas, namely, customs law, financial law, immigration law and sanitary law required to be amended in terms of extending their coverage to the contiguous zones. Particularly, the immigration law amendment as it is directly concerned to the migrants smuggling problem. In addition, the government should imply meaning of the Article 33 for the upmost benefit of the state; the third practice of International guidelines should be implemented to empower the customs law, financial law, immigration law and sanitary law as measures for both prevention and punishment in case any offense occurred in contiguous zones.  Furthermore, due to the third practice is match to the purpose of the Article 33 the most as it defines the contiguous zones as a buffer and checking zone and able to effectively solve the migrants smuggling problem in the Contiguous Zone of Thailand.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (กฎหมายเพื่อการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การย้ายถิ่น
การลักลอบขนผู้ย้ายถิ่น -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

คำสำคัญ:

e-Thesis
ผู้โยกย้ายถิ่นฐาน

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

162 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5098
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b210739.pdf ( 3,696.04 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [187]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×