แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน : เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
by ศาลิมาร์ เกิดกลิ่นหอม
Title: | แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน : เทศบาลนครนครศรีธรรมราช |
Other title(s): | Guidelines for public participation in municipal solid waste management : Nakhon Si Thammarat municipality |
Author(s): | ศาลิมาร์ เกิดกลิ่นหอม |
Advisor: | ณพงศ์ นพเกตุ |
Degree name: | วิทยาศาตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมระหว่างคุณภาพและปริมาณโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และใช้แบบสอบถามกับผู้มีบทบาทในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน 400 ครัวเรือน ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน รวมถึงการทำ SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลนครนครศรีธรรมราชมีขยะมูลฝอยตกค้างในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย 1.12 ล้านตัน ใช้วิธีการกำจัดแบบเทกอง ระบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและการกำจัดขยะมูลฝอย แต่ยังขาดแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนและไม่มีระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยชุมชนที่ต้นทาง 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์อยู่ในระดับสูง ส่วนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการมีส่วนร่วมในการประเมินผลอยู่ในระดับต่ำ และ 3) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ เทศบาลต้องสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนตั้งแต่การตัดสินใจร่วมวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล โดยแบ่งเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ 1) ผลักดันนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนให้เป็นรูปธรรม และ 2) กำหนดปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โดยมุ่งเน้นระดับ “ครัวเรือนและชุมชน” ให้ได้ตระหนักถึงปัญหาขยะมูลฝอยชุมชนร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “ตั้งแต่ต้นทาง” และให้ชุมชนเป็นผู้จัดการขยะมูลฝอยด้วยตัวเอง โดยเทศบาลให้การสนับสนุนความรู้ งบประมาณ อุปกรณ์ พร้อมใช้เครื่องมือทางการเงินและการบังคับใช้กฎระเบียบ เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราชเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | การจัดการขยะ -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Keyword(s): | e-Thesis
การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 179 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5114 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|