• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีจากมุมมองการรับรู้องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ทัศนคติ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

by กมล เกียรติพงษ์

Title:

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีจากมุมมองการรับรู้องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ทัศนคติ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

Other title(s):

The structural equation model of causal factors affecting on royalty perceived tourism attributes destination image, attitude and destination satisfaction of Thai tourist in Amphoe Mae Moh Lampang Province

Author(s):

กมล เกียรติพงษ์

Advisor:

พัทรียา หลักเพ็ชร

Degree name:

การจัดการมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2020

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ ทัศนคติ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีจากมุมมองการรับรู้องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ ทัศนคติ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์จากมุมมองการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีผลต่อความจงรักภักดีในพื้นที่การท่องเที่ยวอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยผสานวิธี (Mixed Methodology) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 660 ตัวอย่าง ใช้การคัดเลือกตัวอย่างแบบโควต้าคำนึงถึงสัดส่วนองค์ประกอบของประชากร  ซึ่งทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (structural Equation Modeling (SEM) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interviews) จำนวน 14 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่มีการรับรู้ต่อองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ ทัศนคติ และความพึงพอใจที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง อยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงอย่างมากในทุกปัจจัย นอกจากนั้น ปัจจัยองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว ปัจจัยด้านทัศนคติต่อแหล่งท่องเที่ยว และปัจจัยส่งผ่านความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวมีอิทธิพลทางบวกต่อความจงรักภักดี  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ปัจจัยภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไม่มีอิทธิพลทางบวกต่อความจงรักภักดี ข้อค้นพบสำคัญ พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควรมุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงส่งเสริมกลยุทธ์ทางการตลาดด้วยการศึกษาทัศนคติที่มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดของนักท่องเที่ยวชาวไทย นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรมและความโดดเด่นด้านภาพลักษณ์ที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจ ดังนั้นการนำผลเสนอการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวจึงสามารถนำไปประยุกต์ต่อการกำหนดนโยบายเชิงการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่อไป โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวอำเภอแม่เมาะ 4 ด้าน ได้แก่ 1) แนวทางการบูรณาการท่องเที่ยวและการสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีมาตรฐาน 3) แนวทางเพิ่มขีดความสามารถการรองรับของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก และ 4) แนวทางส่งเสริมตลาดเฉพาะกลุ่มและส่งเสริมการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว
The objectives of this study were 1) to examine the extent of Thai tourists’ perception toward tourism attributes, destination Image, attitude and destination satisfaction that have an effect on their  destination loyalty in Mae Moh, Lampang province; 2) to develop the causal relationship of determinant factors that have an effect on their destination loyalty based on their perceived tourism attributes, destination Image, attitude and destination satisfaction in Mae Moh, Lampang province, and 3) to study guidelines for promoting destination Image from Thai tourists’ perception toward their destination loyalty in Mae Moh, Lampang province.  The study was conducted with mixed methodology. It was quantitively conducted by the questionnaires through 660 respondents by using Quota sampling and considering the proportion of the population which was selected from the Convenience Sampling with confirmatory factor analysis (CFA) and the structural Equation Modeling (SEM) techniques, together with in-depth interviews from 14 key informants The results of the research concluded that most Thai tourists are aware of  tourist attractions, its image, attitudes, and satisfaction which affect the loyalty of tourism in Mae Moh District, Lampang Province, are marked a “very high” level in all factors. Moreover, the result found that tourism attributes, attitude, destination satisfaction have positive influence on destination loyalty at statistically significant 0.05. On the other hand, destination image has no influence on destination loyalty. Key findings indicate that the stakeholders should focus on enhancing the capabilities of tourist attractions and adopt marketing promotion strategies by studying the attitudes influencing Thai tourists’ sentiments. Additionally, it is crucial to consider the suitability of the activities and image prominence that possibly influence satisfaction levels. The proposed results of the causal relationship of determinant factors that have an effect on Thai tourists’ destination loyalty can therefore be applied to the policymaking regarding tourism in the areas afterwards. In this study, the following policy suggestions for promoting at Mae Moh, Lampang province are hereby proposed based on 4 components; 1) to integrate tourism development and network collaboration; 2) to promote potential development and upgrade tourist attractions’ standardization; 3) to increase the carrying capacity of infrastructures and facilities, and 4) to provide guidelines for niche markets and promote tourist attractions.

Description:

วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563

Subject(s):

ทัศนคติ
ความพึงพอใจ

Keyword(s):

e-Thesis
ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว
องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว
ความจงรักภักดี

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

365 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5121
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b210699.pdf ( 9,173.24 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [129]

Related items

Showing items related by title, author, creator and subject.

  • Thumbnail

    การศึกษาเชิงสำรวจระดับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและขีดความสามารถในการบริหารจัดการการรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กรณีศึกษา กลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียในเขตเมืองพัทยา 

    เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา; พัทรียา หลักเพ็ชร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การศึกษาเชิงสํารวจระดับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและขีดความสามารถในการบริหาร จัดการการรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กรณีศึกษา กลุ่มนักท่องเที่ยว อินเดียในเขตเมืองพัทยา กาหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของ นักท่องเที่ยวต่อระดับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและขีดความสามารถในการบริหารจัดการการ รองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กรณีศึกษากลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียในเขต เมืองพัทยา 2) เพื่อสํารวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวด้านศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและขีด ความสามารถในการบริหารจัดการการรองร ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพศหญิงชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร 

    นรินทร์สิรี เชียงพันธ์; รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจลักษณะปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยผลักดันทางการท่องเที่ยวจากภายใน ปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวจากภายนอก ปัจจัยประสบการณ์การท่องเที่ยวในอดีต และปัจจัยอุปสรรคทางการท่องเที่ยว 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยผลักดันทางการท่องเที่ยวจากภายใน ปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวจากภายนอก ปัจจัยประสบการณ์การท่องเที่ยวในอดีต และปัจจัยอุปสรรคทางการท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพศหญิงชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานคร โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 325 ชุด จากนักท่องเที่ยวเพศหญิง ...
  • Thumbnail

    องค์ประกอบการท่องเที่ยวปั่นจักรยานและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการท่องเที่ยวปั่นจักรยาน : กรณีศึกษาเขตธนบุรี 

    รุ่งรัตน์ วรรณะอยู่; เจริญชัย เอกมาไพศาล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนากิจกรรมทางการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว สำหรับประเทศไทยนั้นการท่องเที่ยวโดยจักรยานจึงถือเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มุ่งเน้นการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวด้วยตนเองจากท้องถิ่นที่มีความแตกต่าง และจากความโดดเด่นในแง่เมืองท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร เขตธนบุรีจึงถือเป็นสถานที่ที่สำคัญอ ...

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×