• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

A Critical Study of the Influence of Investigative Journalism News Programs on the Performance of the Police

การศึกษาอิทธิพลของรายการโทรทัศน์เชิงสืบสวนต่อการบริหารงานคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

by Wannipa Bhumithavara

Title:

A Critical Study of the Influence of Investigative Journalism News Programs on the Performance of the Police
การศึกษาอิทธิพลของรายการโทรทัศน์เชิงสืบสวนต่อการบริหารงานคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

Author(s):

Wannipa Bhumithavara

Contributor(s):

NIDA. School of Public Administration

Advisor:

Dhiyathad Prateeppornnarong

Degree name:

Master of Public Administration

Degree level:

Thesis

Degree discipline:

Public Administration

Degree grantor:

National Institute of Development Administration

Issued date:

6/9/20

Publisher:

NIDA

Abstract:

The objectives of this research were: 1) to study the methods of case management of the relevant police department, especially the police officers responsible for the case that the public is very interested in (High-profile Cases) 2) to study the role of Investigative Journalism News Programs in working on case that the public is very interested in; and 3) to study the Influence of Investigative Journalism News Programs on the performance of the police. This research uses qualitative research methodology. Which uses in-depth interview method, relying on analytical insights, understanding the views of the sample groups, and understanding the process of relations between the media and the performance of the police. This research uses a purposive sampling technique to choose samples, by selecting from 3 cases that the media and Investigative Journalism News Programs took active role by followed and widely discussed. The total of samples were 30 samples. These include police officers, representatives from the moderator or Investigative Journalism News Programs producer, lawyer with experience in criminal cases, Criminal Justice academics and representatives from the people involved in case studies. The empirical findings of this research indicated that: 1) the relevant police department and police officers responsible for the case that the public is very interested in, will be ordered to establish a working group for temporary. Consisting of the inquiry department and the investigation department. 2) Investigative Journalism News Programs plays important roles in working on cases that the public is very interested in by monitoring on the performance of the police for drive the case forward and urged the justice system to move forward with accuracy and fairness.; and 3) Investigative Journalism News Programs plays important roles in working on cases that the public is very interested in by monitoring the progress of litigation, that causing people and the higher commissioner to pay attention and follow the results of the proceedings. These will be causing police officers responsible for the case to be actively involved in litigation and regularly report progress. However, these influences might be causing the mistake in prosecution and making the offenders escape. Also, it might be making a copy-cat as well. Moreover, the finding from this research reflecting that the relationship between the media and the police officers would be mutually beneficial, also there are others influence that comes along the prosecution.
การศึกษาอิทธิพลของรายการโทรทัศน์เชิงสืบสวนต่อการบริหารงานคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานคดีของหน่วยงานตำรวจที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบคดี ในคดีที่สาธารณชนให้ความสนใจมาก (High-profile Cases) ศึกษาบทบาทของรายการโทรทัศน์เชิงสืบสวนในการทำงานเกี่ยวกับคดีที่สาธารณชนให้ความสนใจมาก และศึกษาอิทธิพลของรายการโทรทัศน์เชิงสืบสวนในเชิงการสร้างแรงกดดันในการปฏิบัติหน้าที่แก่เจ้าพนักงานตำรวจ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ในการอาศัยข้อมูลเชิงลึกในการวิเคราะห์ ทำความเข้าใจทัศนะของกลุ่มตัวอย่าง และทำความเข้าใจกระบวนการความสัมพันธ์ระหว่างสื่อและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ ได้มาจากวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากคดีที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมาทั้งสิ้น 3 คดี โดยคัดเลือกจากคดีที่สื่อและรายการโทรทัศน์เชิงสืบสวน เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง กำกับติดตาม และกล่าวถึงอย่างแพร่หลาย รวมทั้งสิ้น 30 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ดำเนินรายการ หรือผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์เชิงสืบสวน นักกฎหมายที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับคดีอาญา นักวิชาการด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และ ประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีที่ศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) หน่วยงานตำรวจที่เกี่ยวข้องและ/หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับผิดชอบคดีที่สาธารณชนให้ความสนใจมาก จะมีการออกคำสั่งให้จัดตั้งคณะทำงาน ที่ประกอบด้วยฝ่ายสอบสวนและฝ่ายสืบสวนปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน 2) รายการโทรทัศน์เชิงสืบสวน มีบทบาทสำคัญในการทำงานเกี่ยวกับคดีที่สาธารณชนให้ความสนใจมาก ในการติดตามตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนให้คดีคืบหน้า และเร่งให้กระบวนการยุติธรรมนั้นเดินหน้าด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม และ 3) รายการโทรทัศน์เชิงสืบสวน มีบทบาทสำคัญในการติดตามตรวจสอบความคืบหน้าในการดำเนินคดี ทำให้ประชาชนจะให้ความสนใจและติดตามผลของการดำเนินคดี รวมทั้งผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไป ที่จะติดตามความคืบหน้าของคดี ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับผิดชอบคดีต้องกระตือรือร้นในการดำเนินคดีและรายงานความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ แต่ทั้งนี้จากการสร้างความกดดันดังกล่าว อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการดำเนินคดี และอาจเป็นช่องทางให้ผู้กระทำความผิดหลบหนี รวมทั้งทำให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบได้เช่นกัน นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ยังสะท้อนให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีลักษณะเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน และยังพบอิทธิพลที่เข้ามาแทรกแซงการทำงานของทั้งสองฝ่ายอีกด้วย

Description:

NIDA, 2019

Subject(s):

Social Sciences

Keyword(s):

อิทธิพลของสื่อ
การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ
แรงกดดันตำรวจ

Type:

Thesis

Language:

th

Rights holder(s):

NIDA

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5140
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
5910111011.pdf ( 2,612.26 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [137]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×