กลยุทธ์การจัดการแฟนคลับที่ส่งผลต่อการรับรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมกับบอยแบนด์ไทยของแฟนคลับ
by ณัฏฐนิตย์ ปกป้อง
Title: | กลยุทธ์การจัดการแฟนคลับที่ส่งผลต่อการรับรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมกับบอยแบนด์ไทยของแฟนคลับ |
Other title(s): | Fanclub management strategies affecting perception, attitude and fanclub's participation with Thai boyband |
Author(s): | ณัฏฐนิตย์ ปกป้อง |
Advisor: | พรพรรณ ประจักษ์เนตร |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การสร้างแบรนด์บุคคลและการจัดการแฟนคลับของผู้ผลิตวงบอยแบนด์ไทย 2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ การเพิ่มการรับรู้ตัวตน การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับวงบอยแบนด์ไทยของแฟนคลับ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการการเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับวงบอยแบนด์ไทย การเพิ่มการรับรู้ตัวตน การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับวงบอยแบนด์ไทยของแฟนคลับ งานวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเอกสารจากบทสัมภาษณ์ผ่านสื่อออนไลน์ของผู้ผลิตวงบอยแบนด์ไทย และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การเก็บแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแฟนคลับวงบอยแบนด์ไทย อายุตั้งแต่ 15 -35 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การสร้างวงบอยแบนด์ไทย เริ่มจากการสร้างตัวตนของวงบอยแบนด์ เริ่มจากการคัดเลือก มุ่งเน้นไปที่ความมุ่งมั่น ผ่านขั้นตอนการคัดเลือกที่มีทั้งรายการเรียลลิตี้ และการออดิชั่น การฝึกซ้อม ใช้มืออาชีพมาช่วยฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ด้านการสร้างความประทับใจ ได้นำเสนอภาพลักษณ์ผ่านบทบาทต่าง ๆ และจุดยืนของวง ด้านแนวเพลง ส่วนใหญ่เป็นแนว
“ป็อป” และเนื้อหามักพูดถึงความรัก กับแฟนคลับ ด้านการเต้น จะต้องมี ท่าจำ และเมื่ออยู่ต่อหน้าสื่อมวลชนจะให้สัมภาษณ์ด้วยถ้อยคำสุภาพ แต่เมื่ออยู่กับแฟนคลับ จะเป็นกันเอง ด้านการจัดการภาพลักษณ์ ได้พัฒนาทักษะผ่านการแสดงและพรีเซ็นเตอร์ และเมื่อเกิดวิกฤต จะใช้การให้สัมภาษณ์ผ่านอีเว้นท์ แล้วจึงแถลงข่าว ด้านการจัดการแฟนคลับ พบว่า ใช้สื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์ผลงาน อีกทั้งมีการตั้งชื่อและจัดระบบแฟนคลับ ด้านผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ตัวแปรอิสระทุกตัว มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับวงบอยแบนด์ไทย แต่มีเพียงตัวแปรการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับวงบอยแบนด์ไทยได้ ตามการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Keyword(s): | วงบอยแบนด์
e-Thesis กลยุทธ์การจัดการแฟนคลับ แฟนคลับ วงบอยแบนด์ไทย การเปิดรับสื่อ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 257 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5141 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|