ปัจจัยการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีภายใต้วิกฤตการศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยเอกชน
by เอกลักษณ์ วิริยะยุทมา
Title: | ปัจจัยการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีภายใต้วิกฤตการศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยเอกชน |
Other title(s): | Communication factors influencing the decision to study for a bachelor's degree in private universities during Thai education crisis |
Author(s): | เอกลักษณ์ วิริยะยุทมา |
Advisor: | พรพรรณ ประจักษ์เนตร |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยเรื่องปัจจัยการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีภายใต้วิกฤตการศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารความเสี่ยงและการจัดการภาวะวิกฤตภายใต้วิกฤตการศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยเอกชน (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าตราสินค้า กับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีภายใต้วิกฤตการศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยเอกชน (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ กับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีภายใต้วิกฤตการศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยเอกชน ตลอดจน (4) ศึกษาปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีภายใต้วิกฤตการศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยเอกชน
งานวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคลากรฝ่ายสื่อสารองค์กรหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนนโยบายการดำเนินงาน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือกิจกรรมเพื่อวางแผนการรับนักศึกษาใหม่ ของมหาวิทยาลัยเอกชนได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยธนบุรี และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รวมทั้งสิ้นจำนวน 5 คน และในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ด้วยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชนทั้ง 5 แห่ง จำนวน 400 คน
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่า ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยมากที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรทำให้มีอัตราการเกิดน้อยลง ซึ่งเมื่อประเมินความเสี่ยงแล้ว ถือว่าได้รับผลกระทบในระดับน้อยถึงมาก อีกทั้งมีการแก้ไขภาวะวิกฤตด้วยการมองหากลุ่มเป้าหมายใหม่ การนำสื่อออนไลน์มาประยุกต์ใช้ การดำเนินกิจกรรมทางตลาด การส่งเสริมการขาย และที่สำคัญมีการสร้างการรับรู้คุณค่าตราสินค้าของมหาวิทยาลัยในภาวะวิกฤต
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า การรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการด้านการตลาดเชิงกิจกรรม ด้านการโฆษณา และการรับรู้คุณค่าตราสินค้า ด้านการเชื่อมโยงต่อตราสินค้า การรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการประชาสัมพันธ์ และการรับรู้คุณค่าตราสินค้าด้านการตระหนักรู้ในตราสินค้า สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ได้ร้อยละ 59.8 |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยเอกชน |
Keyword(s): | e-Thesis
วิกฤตการศึกษา |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 207 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5146 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|