อัตลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกาดข่วงเมืองน่าน (ถนนคนเดินวัดภูมินทร์)
by ปาริชาติ ยาน้อย
Title: | อัตลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกาดข่วงเมืองน่าน (ถนนคนเดินวัดภูมินทร์) |
Other title(s): | Brand identity and marketing communication by participation of community for promoting tourism Kad Kuang Mueng Nan (Wat Phumin Walking Street) |
Author(s): | ปาริชาติ ยาน้อย |
Advisor: | บุหงา ชัยสุวรรณ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกาดข่วงเมืองน่าน (ถนนคนเดินวัดภูมินทร์) รวมทั้งศึกษาการรับรู้อัตลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารการตลาด ความพึงพอใจ พฤติกรรมการบอกต่อ และความตั้งใจในการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวในกาดข่วงเมืองน่าน (ถนนคนเดินวัดภูมินทร์) เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยจะใช้การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มผู้สนับสนุนภาคเอกชน และกลุ่มผู้ประกอบการ รวมทั้งสิ้น 12 คน อีกทั้งการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยท่องเที่ยวกาดข่วงเมืองน่าน (ถนนคนเดินวัดภูมินทร์) ภายในปี พ.ศ. 2562 และผลจากการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้
1) ผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า
1.1 การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารการตลาด ของหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มผู้ส่งเสริมภาคเอกชน และกลุ่มผู้ประกอบการในกาดข่วงเมืองน่าน ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในฐานะเป็นผู้ร่วมวางแผนและกำหนดนโยบาย โดยมีการแสดงความคิดเห็นในการวางแผนหรือกำหนดนโยบายต่าง ๆ การหาข้อตกลง สร้างกฎกติกาหรือมาตรการร่วมกันนำนโยบายมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนา การจัดสรรงบประมาณ และจัดสรรพื้นที่ อีกทั้งมีการใช้รูปแบบการสื่อสารเป็นแบบสองทาง (Two-Way Communication) ซึ่งจะนิยมใช้สื่อบุคคลเป็นหลักเพื่อเน้นการแสดงความคิดเห็นตอบโต้กลับไปกลับมาจากทุกภาคส่วน ผ่านการจัดประชุม การจัดอบรม การสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมอีกหลากหลายช่องทาง อาทิ เฟซบุ๊ก ไลน์ เพื่อเป็นการกระจายข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่ม
ต่าง ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับกาดข่วงเมืองน่าน (ถนนคนเดินวัดภูมินทร์)
1.2 กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้า ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ แก่นอัตลักษณ์ (Core Identity) คือ กาดข่วงเมืองน่านเปรียบเสมือนเป็นห้องรับแขกขนาดใหญ่ใจกลางเมืองน่าน และเป็นตลาดต้องชมอันมีเอกลักษณ์พาณิชย์และอัตลักษณ์ของชาวน่าน ที่พร้อมต้อนรับและสร้างความประทับใจให้กับแขกที่มาเยือน และส่วนขยายอัตลักษณ์ (Extended Identity) เป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมให้ตราสินค้ามีลักษณะรูปแบบที่เฉพาะตัวและมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จำแนกออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ อัตลักษณ์ด้านสถานที่ อัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ของสินค้าและบริการ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเกื้อกูลกันนำมาประกอบเป็นอัตลักษณ์ตราสินค้า
1.3 กระบวนการสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พบว่า มีการใช้เครื่องมือในการสื่อสารการตลาด ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การตลาดทางตรง และการตลาดเชิงกิจกรรม โดยเป็นการใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และมีความหลากหลายในด้านช่องทางของการสื่อสารการตลาดไม่ว่าจะเป็นสื่อบุคคล สื่อโทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ อาทิ เฟซบุ๊ก ยูทูบ เว็บไซต์ รวมถึงแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ โดยสื่อสารเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกัน คือ การโฆษณาเชิญชวนให้มาท่องเที่ยวกาดข่วงเมืองน่าน (ถนนคนเดินวัดภูมินทร์) การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ และผลักดันให้อัตลักษณ์ตราสินค้าเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยว
2) ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เมื่อนักท่องเที่ยวมีการรับรู้อัตลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดจากการท่องเที่ยวกาดข่วงเมืองน่านจากช่องทางต่าง ๆ อาทิ สื่อออนไลน์ สื่อบุคคล สื่อสารมวลชน และสื่อเฉพาะกิจ ที่เป็นข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยว และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ จะทำให้นักท่องเที่ยวมีการนำข้อมูลอัตลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดไปใช้ในการบอกต่อไปยังบุคคลอื่นต่อไป อันจะนำมาสู่การมาท่องเที่ยว และท่องเที่ยวซ้ำ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนได้
3) การสร้างโมเดลกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกาดข่วงเมืองน่าน (ถนนคนเดินวัดภูมินทร์) เพื่อให้เป็นกรณีศึกษาแก่พื้นที่อื่น ๆ ในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | ตราสินค้า
การท่องเที่ยว -- น่าน |
Keyword(s): | e-Thesis
อัตลักษณ์ตราสินค้า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม กาดข่วงเมืองน่าน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 208 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5149 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|