ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมยาเสพติดและอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์
by ศุภาพิชญ์ มณีนาค
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมยาเสพติดและอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ |
Other title(s): | The relationship between drug crime and property crime |
Author(s): | ศุภาพิชญ์ มณีนาค |
Advisor: | ทองใหญ่ อัยยะวรากูล |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
Degree department: | คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมยาเสพติดและการปราบปรามยาเสพติด ที่ส่งผลต่ออาชญากรรมในประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ โดยวางสมมติฐานไว้ใน 2 รูปแบบที่ต่างกัน คือ ยาเสพติดเป็นต้นเหตุของการก่อคดีอาชญากรรม ซึ่งอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์จำนวนมากมีการก่อเหตุโดยผู้เสพยาเสพติด สมมติฐานนี้จึงมองว่า ‘การเสพยาเสพติดก่อให้เกิดอาชญากรรมประทุษร้ายต่อทรัพย์ เนื่องจากผู้เสพกระทำเพื่อหาเงินมาสนองการเสพติดของตน’ อีกสมมติฐานหนึ่ง คือ อิทธิพลของอาชญากรรมยาเสพติดที่มีต่ออาชญากรรมอื่นอาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากทรัพยากรที่ใช้เพื่อบังคับใช้กฎหมายมีไม่เพียงพอ โดยความพยายามในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมหนึ่ง (A) ที่เพิ่มขึ้น จะลดสิ่งกระตุ้นให้ก่ออาชญากรรม (A) นั้นน้อยลงก็จริง แต่จะกระตุ้นให้เกิดการก่ออาชญากรรมอื่น (B) ขึ้นแทน ทำให้เกิดข้อสมมติฐานว่า ‘การบังคับใช้กฎหมายเพื่อการปราบปรามยาเสพติดชักนำให้เกิดอาชญากรรมประทุษร้ายต่อทรัพย์เป็นสิ่งทดแทน เนื่องจากเกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากอาชญากรรมหนึ่งสู่อีกอาชญากรรมหนึ่ง’
ผู้วิจัยได้ใช้แบบจำลอง Economic Model of Crime ในการศึกษาความสัมพันธ์ทางสถิติจะหว่างคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์และตัวกำหนดอาชญากรรมต่าง ๆ ซึ่งแบบจำลองได้ทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีประมาณค่า Two-stage least square (2SLS) โดยรวบรวมข้อมูลภาคตัดขวาง (Panel Data) รายจังหวัด 77 จังหวัดในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2558
จากผลการคาดประมาณสมการตัวกำหนดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ พบส่วนที่สำคัญของงานชิ้นนี้ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ และการกระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยพบว่าขนาดตลาดยาเสพติดมีผลทำให้อัตราการเกิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์นั้นลดลง ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ในเรื่อง ‘Drugs cause crime’ หรือยาเสพติดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนก่ออาชญากรรม อีกทั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นไปได้ในการจับกุมคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์และการจับกุมกลุ่มคดีผิด พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งการจับกุมกลุ่มคดีผิด พ.ร.บ. ยาเสพติดมีผลทำให้ความเป็นไปได้ในการจับกุมคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์นั้นลดลง ซึ่งพิสูจน์สมมติฐานที่ว่าเมื่อมีการกระจายกำลังตำรวจหรือจัดสรรทรัพยากรใหม่ไปเพื่อการปราบปรามยาเสพติดมากขึ้น ทำให้มีความสนใจและมีการป้องกันและปราบปรามในคดีอื่นๆ ลดน้อยถอยลงไป
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาจากแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า เมื่อมีความเป็นไปได้ในการจับกุมคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้น อัตราการเกิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์จะลดลงไปด้วย ทั้งนี้ เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพิ่มขึ้น มีส่วนทำให้อัตราการเกิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้น เนื่องจากความมั่งคั่งของคนในพื้นที่จังหวัดแสดงถึงการที่ประชาชนมีทรัพย์สินสะสมและความเป็นอยู่ที่ดี ย่อมเป็นที่ดึงดูดต่ออาชญากรในการก่อคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ในขณะเดียวกัน เมื่อรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้อัตราการเกิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์นั้นลดลง เนื่องจากรายได้ต่อหัวของประชากรถือเป็นต้นทุนเสียโอกาสอย่างหนึ่งของอาชญากรเมื่อเลือกที่จะประกอบอาชญากรรม นอกจากนี้ ยังพบว่าเมื่อสัดส่วนของประชากรชายเพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราการเกิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ลดลงไปด้วย |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | อาชญากรรมและอาชญากร
ยาเสพติด |
Keyword(s): | อาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์
อาชญากรรมยาเสพติด e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 65 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | plication/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5243 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|