ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ ด้วยแบบจำลอง Panel VAR
by เจตรัฐ สหนันท์พร
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ ด้วยแบบจำลอง Panel VAR |
Other title(s): | The relationship between financial ratios and stock prices : a Panel VAR approach |
Author(s): | เจตรัฐ สหนันท์พร |
Advisor: | สรศาสตร์ สุขเจริญสิน |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | เศรษฐศาสตร์การเงิน |
Degree department: | คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2020 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2020.106 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ ด้วย Panel VAR Approach โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินทั้งหมด 16 อัตราส่วนที่เผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย ได้แก่ อัตราส่วนหมุนเวียน (CR) อัตราส่วนหมุนเวียนเร็ว (QR) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DE) อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ย (INTCO) อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) อัตรากำไรสุทธิ (NPM) อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ (ROA) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (ART) ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (ACP) อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร (FAT) อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (IT) ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (ASP) และอัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ (TAT) โดยเก็บข้อมูลเป็นรายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2550 ถึงไตรมาส 4 พ.ศ. 2559 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด SET และ ตลาด mai เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระยะเวลา ทิศทาง การเป็นส่วนประกอบความแปรปรวนของอัตราส่วนทางการเงินมีต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ระหว่างตลาดการจดทะเบียน และเปรียบเทียบกับแนวคิดทฤษฎี ซึ่งผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของทั้ง 2 ตลาดมีความแตกต่างกันทั้งระยะเวลาและทิศทางของความสัมพันธ์ แต่ยังคงเป็นไปตามแนวคิดทฤษฎี และพบว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ในอดีตเป็นสำคัญ โดยเฉลี่ยส่งผลถึงร้อยละ 96 และอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ ส่งผลเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังไม่มีความสมเหตุสมผลตามทฤษฎีงบการเงิน และไม่ได้สนับสนุนทฤษฎีความมีประสิทธิภาพของตลาดทั้งในระดับต่ำและระดับปานกลาง ดังนั้น การใช้วิธีวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคในการพยากรณ์ราคาหลักทรัพย์ไทยอาจใช้พยากรณ์ราคาหลักทรัพย์ได้ดีกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การเงิน))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
Subject(s): | ราคาหลักทรัพย์
ตลาดทุน |
Keyword(s): | e-Thesis
อัตราส่วนทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ แบบจำลอง Panel VAR |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 98 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5246 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|