การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาโดยประชาชน
by ทวีพงศ์ จิตมั่น
Title: | การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาโดยประชาชน |
Other title(s): | Impeachment of the member of parliament by the people |
Author(s): | ทวีพงศ์ จิตมั่น |
Advisor: | สุนทร มณีสวัสดิ์ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2016.49 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการถอดถอน ผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกรัฐสภาโดยประชาชน การถอดถอนเป็นกระบวนการตรวจสอบการใช้อํานาจ รัฐที่สําคัญที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทางการเมือง โดยการถอดถอนนั้นมี 2 ประเภท คือ การ ถอดถอนแบบการขับออกจากตําแหน่ง (Impeachment) และการปลดออกจากตําแหน่ง (Recall) ในแต่ละประเทศการถอดถอนผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกรัฐสภาในประเทศต่างๆใช้รูปแบบการถอดถอนที่ แตกต่างกันไป โดยในที่นี้ได้ยกถึงประเทศที่ใช้รูปแบบการขับออกจากตําแหน่ง (Impeachment) ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเกาหลีใต้ ส่วนประเทศที่ใช้การถอดถอน ในรูปแบบการปลดออกจากตําแหน่ง (Recall) ได้ยกตัวอย่างของประเทศเวเนซุเอลา และประเทศ แคนาดา เพื่อหารูปแบบการถอดถอนที่ดีที่สุดมาใช้กับการถอดถอนผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกรัฐสภาใน ประเทศไทยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทางการเมืองและการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าในประเทศไทยการถอดถอนผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกรัฐสภา อัน ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาใช้รูปแบบการขับออกจากตําแหน่ง (Impeachment) ซึ่งการใช้รูปแบบการถอดถอนในลักษณะดังกล่าวมีจุดอ่อนที่ยังไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย หลายประการ เนื่องจากกระบวนการถอดถอนเป็นการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ โดยหลักแล้ว อํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศซึ่งได้แก่อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เมื่อประชาชนเลือก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปทําหน้าที่แล้ว หากกระทําการขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชนหรือใช้ อํานาจโดยมิชอบอันเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนย่อมมีอํานาจที่เข้าชื่อ ถอดถอนได้โดยตรง แต่ลักษณะการถอดถอนแบบการขับออกจากตําแหน่ง (Impeachment) ประชาชนนั้นไม่อาจเข้าชื่อถอดถอนสมาชิกรัฐสภาที่ตนเลือกได้โดยตรงแต่ต้องกระทําโดยเสนอเรื่อง ต่อประธานวุฒิสภา และวุฒิสภาจะทําหน้าที่ในการตัดสิน ที่สําคัญการถอดถอนแบบการขับออกจาก ตําแหน่ง (Impeachment) เป็นรูปแบบที่ประชาชนต้องระบุถึงสาเหตุแห่งการถอดถอนตามที่ กฎหมายกําหนดไว้ หมายความว่า หากไม่เข้าเหตุแห่งการถอดถอนที่กฎหมายกําหนดแล้วประชาชน ไม่สามารถถอดถอนผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกรัฐสภาได้เลย ทําให้การถอดถอนแบบการขับออกจาก ตําแหน่ง (Impeachment) เป็นการถอดถอนที่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐได้ โดยตรง หากท้ายที่สุดแล้ววุฒิสภามีมติไม่ถอดถอน ส่งผลให้ผู้นั้นยังคงอยู่ในตําแหน่งต่อไปอันเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย การถอดถอนในรูปแบบนี้เองที่ทํา ให้เกิดปัญหาอย่างมากกับประเทศที่ใช้รูปแบบการถอดถอนในลักษณะดังกล่าวจนเกิดการประท้วง โดยประชาชนให้ผู้ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนออกจากตําแหน่ง ซึ่งมักใช้วิธีการชุมนุมแล้วทํา ให้เกิดความเสียหายที่ตามมาอย่างมากมาย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมือง ด้านการตรวจสอบการใช้ อํานาจรัฐในเรื่องของการถอดถอนนั้นโดยประชาชนควรที่จะมีกรอบกติกาของกฎหมายซึ่งการถอด ถอนที่ให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อถอดถอนได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านองค์กรและประชาชนส่วนใหญ่ เห็นเพียงว่าผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกรัฐสภาคนใดที่ตนเลือกไม่สมควรดํารงตําแหน่งย่อมสามารถเข้าชื่อ ถอดถอนได้ คือ การถอดถอนแบบการปลดออกจากตําแหน่ง (Recall) ทั้งนี้ควรต้องกําหนด หลักเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมเพื่อให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตยตรวจสอบการใช้ อํานาจรัฐโดยการถอดถอนได้โดยตรง เพื่อให้อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง และ ส่งผลให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | สมาชิกรัฐสภา -- ไทย
รัฐสภา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Keyword(s): | การถอดถอนสมาชิกรัฐสภา |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 159 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5294 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|