กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซ็นของพระติช นัท ฮันห์
by ณัฐภัทร์ พงษ์เสาร์
Title: | กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซ็นของพระติช นัท ฮันห์ |
Other title(s): | The communication strategy of Thich Nhat Hanh To propagate Zen |
Author(s): | ณัฐภัทร์ พงษ์เสาร์ |
Advisor: | ประทุม ฤกษ์กลาง |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2016.19 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษากลยุทธ์ การสื่อสารเพื่อเผยแผ่ ศาสนาพุทธ นิกายเซ็นของพระติช นัท ฮันห์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของพระติช นัท ฮันห์ 2) ศึกษากลยุทธ์การสร้างสารของพระติช นัท ฮันห์ 3) ศึกษาคุณสมบัติพระติช นัท ฮันห์ ในฐานะผู้ ส่งสาร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ผ่ านหนังสือที่พระติช นัท ฮันห์เขียนเพื่อเผยแผ่ศาสนา ที่มีการแปลออกมาเป็นภาษาไทยและมีจำหน่ายในร้านหนังสือ พบทั้งหมด 15 เล่ม และศึกษาผ่านคลิปรายการโทรทัศน์ในยูทูป ( Youtube) ที่มีการนำเสนอ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระติช นัท ฮันห์ในปีพ.ศ.2551–พ.ศ.2557 พบมีจำนวน 4 รายการ ซึ่ง ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเผยแผ่ศาสนาของพระติช นัท ฮันห์ที่ใช้เป็นหลักคือกลยุทธ์ โฆษณา ชวนเชื่อ พระติช นัท ฮันห์ ใช้วิธีการอ้างอิงถึงบุคคลสำคัญเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ บุคคลสำคัญ ส่วนใหญ่ที่อ้างอิงคือหลักคำสอนคำพูดของพระพุทธเจ้ า หลักแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์และ นักปราชญ์ โน้มน้าวใจชี้ให้เห็นถึงประโยชน์และสิ่งที่จะได้รับจากการฝึกปฏิบัติ และสิ่ งที่จะได้ หาก ยังไม่ลงมือปฏิบัติธรรม การโน้มน้าวใจด้วยการเสนอหลักธรรมหลักปฏิบัติง่ ายๆ การโน้มน้าวใจให้ มาร่วมปฏิบัติเพื่อได้มีชีวิตที่ดีขึ้น การอ้างถึงลูกศิษย์และผู้ ที่ได้ลองร่วมฝึกธรรมะและลองทำตาม หลักคำสอนมาเล่าให้กลุ่มเป้าหมายใหม่ฟัง และมีวิธีการสร้างความแตกต่างจากเดิมคิดหลักธรรม หลักปฏิบัติที่ใหม่ ปรับเปลี่ยนตามเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจกลยุทธ์การสร้างสารที่ใช้ในการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซ็นของพระติช นัท ฮันห์ ที่พบ มากคือกลยุทธ์การสร้างสารด้วยความง่าย การใช้ การสร้ างสารด้วยภาษาทั่วไปหลีกเลี่ยงการใช้ ภาษาบาลีสร้างสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย การใช้คือกลยุทธ์การสร้างสารด้วยข้อความไพเราะการ ใช้วิธีการสร้างสารด้วยการเขียนกลอนที่มีความไพเราะ การสร้างบทกลอนมีการใช้ ภาษาที่สวยงาม และเข้าใจได้ง่าย การสร้างสารและการจูงใจ สร้างสารด้วยการอ้ งอิงถึงความรัก ความรักชาติ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดอารมณ์ร่วมแล้วรู้สึกว่าเป็นสิ่งใกล้ ตัว สร้างสารด้วย การทำให้กลุ่มเป้าหมายนึกถึงบุคคลที่มีบุญคุณในอดีตที่ผ่านมา และการสร้างสารด้วยการสร้างให้ กลุ่มเป้าหมายเกิดอารมณ์ ร่วม และเกิดความกลัว คุณสมบัติพระติช นัท ฮันห์ในฐานะผู้ ส่งสารในการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซ็น ในแต่ละ วันพระติช นัท ฮันห์มีการปฏิบัติตนสอดคล้องกับหลักคำสอนและหลักปฏิบัติที่นำมาสอน ทำให้ มีความน่าเชื่อถือ การเผยแผ่ ศาสนาจะไม่มองข้ามความคิดเห็นของผู้ นำสังคมหรือของสังคม สามารถปรับหลักคำสอนให้เข้ากับบุคคลโดยทั่วไปและหลักคำสอนเดิม พระติช นัท ฮันห์เป็น บุคคลที่มีการใช้เหตุผล หลักคำสอนมีการอ้างอิงหรือผ่ านการทดสอบทดลองมาแล้ว อีกทั้งเป็ น นักบวชมีการถือศีลจึงมีคุณธรรม มีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นมิตรความเอื้อเฟื้อเข้ากับบุคคลอื่น ได้ง่าย และสุดท้ายพระติช นัท ฮันห์ผ่านการศึกษาฝึกฝนฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับศาสนา จึงมีคุณสมบัติ เป็นผู้ ที่มีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์จริง เกี่ยวกับศาสนาพุทธนิกายเซ็น |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | นิกายเซน
นัท ฮันห์, ติช, ค.ศ. 1926- พุทธศาสนามหายาน พุทธศาสนา -- การเผยแพร่ศาสนา |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 176 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5364 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|