• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

กระบวนการเปลี่ยนแปลงสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน

by วลัญช์ภัทร จียังศุวัต

Title:

กระบวนการเปลี่ยนแปลงสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน

Other title(s):

Process of changes in folk media “Fawn Leb/Fawn Tian”

Author(s):

วลัญช์ภัทร จียังศุวัต

Advisor:

พรพรรณ ประจักษ์เนตร

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

Degree department:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2016.21

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการเปลี่ยนแปลงสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน” มี วัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางองค์ประกอบของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงบทบาทของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน งานวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 16 ท่าน ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ที่วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่จำนวน 3 ท่าน ปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 2 ท่าน นักเรียน ที่วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่จำนวน 5 ท่าน และกลุ่มนักท่องเที่ยวจำนวน 6 ท่าน และการสังเกต แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation) จากงาน 720 ปี เชียงใหม่ คุ้มขันโตกศูนย์ วัฒนธรรมและวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ผลการวิจัยแบ่งออกเป็ น 3 ส่วน ดังนี้ 1) การเปลี่ยนแปลงทางองค์ประกอบของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนเป็นการ เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในส่วนของกระพี้และเปลือกเท่านั้น ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ เกิดในส่วนของกระพี้มากที่สุด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนท่าที่ต้องปรับให้ทันกับเวลา และนำบางท่าไปพัฒนาเป็นฟ้อนแบบใหม่ ด้านเครื่องแต่งกายเกิดจากการออกแบบโดยผู้จัดงาน เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ด้านเครื่องประดับ โดยหลักแล้วจะใช้ดอกเอื้อง แต่มีการปรับใช้ดอกไม้ปลอมหรือดอกไม้ชนิดอื่นแทน ด้านอุปกรณ์การแสดงเล็บและเทียนยังคงใช้แบบเดิมเพื่อรักษาเอกลักษณ์เอาไว้ แต่บางสถานที่ไม่อนุญาตให้จุดเทียนได้จึงต้องใช้วัสดุที่คล้ายกับไฟ ฉายแทนด้านดนตรี ในอดีตจะใช้วงกลองตึ่งโนงเป็นการแห่สด ซึ่งปัจจุบันจะใช้แผ่นซีดีแทน เนื่องจากหาคนที่มีความชำนาญทางด้านดนตรียากขึ้น และเริ่มมีการปรับใส่เนื้อหาเพลงลงไป สำหรับการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเปลือกมีเพียงด้านเดียวคือด้านการแปรขบวน ที่สามารถ ปรับเปลี่ยนได้อยู่ตลอดขึ้นอยู่กับรูปแบบของสถานที่ การออกแบบสร้างสรรค์ไม่มีรูปแบบตายตัว 2) รูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปตามกระแสสังคม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางบทบาทสื่อ พื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน ปัจจุบันบทบาทด้านการเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างคนกับ พระพุทธศาสนาลดลง โอกาสในการแสดงการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนส่วนมากจะเป็นงานที่เกี่ยวกับ การแสดงของล้านนา การให้ความบันเทิง บทบาทด้านการเผยแพร่ทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการ ท่องเที่ยว สำหรับบทบาทที่ยังคงอยู่ตลอด คือ บทบาทด้านการสร้างความสามัคคี 3) การเปลี่ยนแปลงของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ คน สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

สื่อพื้นบ้าน--ไทย
การรำ -- ไทย

Keyword(s):

การฟ้อนเล็บ
การฟ้อนเทียน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

157 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5367
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b194236.pdf ( 5,048.70 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [178]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×