การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
183 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b194228
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ทิพย์สุดา ปานเกษม (2016). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5392.
Title
การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน
Alternative Title(s)
Participatory communications for the promotion of creative tourism in Nan Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน และเพื่อพัฒนาแนวทางการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมใน การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) การสังเกต (Observation) รวมถึงการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 3 กลุ่มคือหน่วยงานรัฐบาล ภาคธุรกิจและชุมชน รวมทั้งสิ้น 19 คน ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) รูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่านมีลักษณะเป็นการสร้างเครือข่าย ชุมชน เนื่องจากกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้าไปมีส่วนร่วมเกิดขึ้นจากกระบวนคิด ร่วมกันของคนในชุมชน โดยการบูรณาการการท่องเที่ยวให้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ประเพณี และ วัฒนธรรม ตลอดจนอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานเพื่อรณรงค์ให้การท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์ในจังหวัดน่านเป็นรูปธรรม 2) การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่านพบใน 2 ระดับ คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดนโยบาย และการมีส่วนร่วมในฐานะเป็นผู้ส่งและ ผู้ผลิต โดยส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในฐานะเป็นผู้วางแผนและกำหนดนโยบาย ซึ่งการมีส่วนร่วมใน ระดับนี้ถือว่าเป็นระดับสูงสุดของการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม เป็นการทำงานร่วมกันของหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และชุมชน โดยหน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่วางแผนและกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งการวางแผนหรือกำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวในละครั้ง จะเกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและกลุ่มชุมชน ในทางกลับกันมีเพียงส่วน น้อยที่มีส่วนร่วมในฐานะผู้ส่งและผู้ผลิต การมีส่วนร่วมในระดับนี้คนในชุมชนจะไม่ได้แสดงความ คิดเห็นในการวางแผนด้านการท่องเที่ยวโดยตรง แต่มีหน้าที่นำนโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติรวมถึง ยังทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารในการส่งต่อนโยบายให้กลุ่มธุรกิจและชุมชนต่อไป ในขณะเดียวกันยังเป็น ผู้ส่งสารกลับไปยังหน่วยงานภาครัฐอีกด้วย 3) รูปแบบการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านจำแนกตามทิศ ทางการสื่อสารเป็นแบบสองทาง(Two-Way Communication) และจำแนกตามการไหลของ ข่าวสารเป็นแบบแนวนอน (Horizontal Communication) ซึ่งรูปแบบการสื่อสารทั้ง 2 แบบใน ข้างต้นเป็นการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานทุกภาคส่วนในจังหวัดน่าน ทั้งนี้ใช้ วิธีการรวบรวมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำเสนอ ข้อมูลผ่านทางการอบรมและการประชุม ทุกหน่วยงานจะสามารถโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กันได้อย่างอิสระ เพื่อขับเคลื่อนแผนนโยบายด้านการท่องเที่ยวให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ อย่างรวดเร็ว 4) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน คือการให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส การดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับ คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมในด้านการกำจัดขยะ ทำให้ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขการกำจัดขยะให้มีประสิทธิภาพ สูงสุด มิเช่นนั้นปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคนในชุมชนโดยตรง เนื่องจากวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติมีส่วนสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยว จังหวัดน่าน 5) การสร้างโมเดลการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน เพื่อให้จังหวัดอื่นไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของจังหวัดตนเอง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559