หลักการสูญสิ้นซึ่งสิทธิในการดาวน์โหลดเพลงผ่านโปรแกรมประยุกต์
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
103 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b193182
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ปองภัค สุริยา (2015). หลักการสูญสิ้นซึ่งสิทธิในการดาวน์โหลดเพลงผ่านโปรแกรมประยุกต์. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5435.
Title
หลักการสูญสิ้นซึ่งสิทธิในการดาวน์โหลดเพลงผ่านโปรแกรมประยุกต์
Alternative Title(s)
Exhaustion of rights applied in music downloading via application
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องการนําหลักการสูญสิ้นซึ่งสิทธิไปบังคับใช้กับเพลงที่อยู่ใน รูปแบบข้อมูลดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ขอบเขตในการคุ้มครองและความสมดุลแห่งสิทธิ พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการกําหนดหลักเกณฑ์ที่ช่วยรักษาความสมดุลแห่งสิทธิระหว่าง เจ้าของลิขสิทธิ์กับผู้บริโภคของเพลงในรูปแบบดังกล่าวให้ได้รับความเปนธรรมอย่างเท่าเทียมกัน จากการศึกษาพบว่า เพลงที่อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลมีปัญหาในเรื่องของวิธีการได้มาและ การได้กรรมสิทธิ์ในงาน รวมถึงปัญหาเรื่องขั้นตอนของการจําหน่าย จ่าย โอนไปยังอุปกรณ์อื่นจึงทําให้ เกิดความไม่ชัดเจนว่าจะนํามาตรา 32/1 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 ไปบังคับใช้ได้หรือไม่ โดยกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปนั้นกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ หลักการขายครั้งแรก (First Sale Doctrine) และหลักการสูญสิ้นซึ่งสิทธิ (Exhaustion of Rights) ไว้ ว่าบังคับใช้กับงานอันมีลิขสิทธิ์ที่บันทึกในวัตถุที่มีรูปร่างและจับต้องได้เท่านั้น อีกทั้ง มีแนว คําพิพากษาของศาลในต่างประเทศที่ตัดสินว่าไม่สามารถนําหลักการสูญสิ้นซึ่งสิทธิไปบังคับใช้กับงาน อันมีลิขสิทธิ์ที่อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลได้ ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนเห็นควรให้กําหนดมาตรการหรือวิธีการควบคุมการจําหน่าย งานอันมีลิขสิทธิ์ที่อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลให้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายเท่าเทียมกับงานอันมี ลิขสิทธิ์ที่บันทึกในวัตถุที่จับต้องได้และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 32/1 แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 ให้เกิดความชัดเจนสามารถนําไปบังคับใช้กับเพลงที่อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลได้ เพื่อให้เกิดความสมดุลแห่งสิทธิระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์กับผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่า เทียมกันต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558