ปัญหาการจัดประเภทภาพยนตร์ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
156 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b193193
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
คณวัฒน์ เจริญหิรัญ (2015). ปัญหาการจัดประเภทภาพยนตร์ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5446.
Title
ปัญหาการจัดประเภทภาพยนตร์ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551
Alternative Title(s)
Problems on film rating under the film and video act B.E. 2551
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการจัดประเภท
ภาพยนตร์ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 โดยเฉพาะกรณีการจัดประเภท
ภาพยนตร์ในส่วนของการควบคุมภาพนตร์ (Ban) การจัดเรตติ้งภาพยนตร์ (Film Ratings) และ
คณะกรรมการพิจรณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพื่อต้องการที่จะศึกษาว่ากฎหมายที่เกี่ยวกับการจัด
ประเภทภาพยนตร์ของประเทศไทย ในปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวยังคงเหมาะสมกับสภาพสังคมที่
เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยที่มีการตรากฎหมายขึ้นหรือไม่ รวมถึงศึกษาและวิเคราะห์การจัดประเภท
ภาพยนตร์ของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลียและประเทศอังกฤษ
ผลการศึกษาพบว่าถึงแม้จะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.
2551 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการควบคุมภาพยนตร์จากระบบการตรวจพิจารณาหรือระบบ
เซ็นเซอร์ (Censorship) มาเป็นการจัดประเภทภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการกำหนดความเหมาะสมของ
อายุผู้ชมภาพยนตร์ประเภทนั้น ๆ โดยถือเป็นระบบที่มีประโยชน์ในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่จะ
ได้รับชมภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเหมาะสมตามอายุของตน แต่หลังจากที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้
บังคับใช้มาเป็นเวลาประมาณ 7 ปี ผู้เขียนพบว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยังคงมีอุปสรรคและปัญหา
ในการบังคับใช้กฎหมายอยู่หลายประการทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ โดยสรุปประเด็นปัญหาหลัก ๆ
คือ ข้อบกพร่องในตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับการจัดประเภทภาพยนตร์และปัญหาที่คณะกรรมการ
พิจารณาภาพยนตร์และวีดีทัศน์ อาทิ ปัญหาการกำหนดประเภทภาพยนตร์ในบทบัญญัติมาตรา 26
ปัญหาการให้อำนาจทับซ้อนกันระหว่างมาตรา 26(7) กับมาตรา 29 ปัญหาการจัดเรตติ้งตัวอย่าง
ภาพยนตร์ รวมไปถึงปัญหาสัดส่วนและการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์
เป็นต้น
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหรือแก้ไขมาตรการทาง
กฎหมายในส่วนต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดประเภทภาพยนตร์ โดยผู้เขียน
ขอเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไขมาตรา 16 และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์
พ.ศ. 2551 และกำหนดให้มีการบัญญัติข้อความเพิ่มเติมเป็นส่วนหนึ่งของข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง
กำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ. 2552 เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายการจัดประเภท
ภาพยนตร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558